สาระน่ารู้จากหมอตา ตอน แว่นกับแสงสีฟ้า จริงหรือหลอกลวง (helpful or just hype)

เรื่องน่ารู้จากหมอตา-102

      

มีผู้ป่วยหลาย ๆ คนบ่นว่าเธอใช้สายตาหน้า computer นานเกินไป เป็นเหตุให้เธอรู้สึกไม่สบายตา เจ็บตา และมีผู้ใช้ computer มาก ๆ หลายคนกล่าวว่า รู้สึกสบายตามากขึ้นเมื่อใช้แว่นสีฟ้าตามโฆษณา ล่าสุดมีบทความใน Medscape เมื่อ 25 ธ.ค. 62 กล่าวไว้ คาดจากการตลาดว่า การใช้แว่นแสงสีฟ้าซึ่งมีมูลค่าประมาณ 18 ล้านดอลล่าในปี 2019 ในสหรัฐอเมริกา และคาดว่าน่าจะเป็นประมาณ 27 ล้านในปี 2024 โดยมีการโฆษณาว่าแว่นชนิดนี้ลดอาการเมื่อยล้าดวงตา ทำให้นอนหลับสนิท และอาจป้องกันโรคตาบางอย่างได้

ในปัจจุบันยังไม่สามารถพิสูจน์ว่าแว่นกันแสงสีฟ้ามีประโยชน์และจำเป็นจริง ยังไม่มีงานวิจัยสนับสนุนที่มากพอ

สมาคมจักษุแพทย์ของ USA ไม่ได้แนะนำให้ใช้แว่นชนิดนี้สำหรับผู้ใช้ computer ประจำ โดยกล่าวว่า แสงสีฟ้าจากเครื่อง digital เหล่านี้ไม่ได้ทำให้เกิดโรคตาหรือทำให้ตาเมื่อยล้า อาการผิดปกติทางตาเกิดจากการใช้อุปกรณ์ digital นานเกินไป ไม่ใช่จากแสงสีฟ้า

แม้องค์กร “Association of optometrist” จากสหราชอาณาจักร เน้นว่ายังไม่มีหลักฐานมากพอที่จะแนะนำให้คนทั่วไปใช้เพิ่มการมองเห็นที่ดีขึ้น หรือหลับได้ดี สรุปว่าแว่นนี้ไม่ได้ลดภาวะเมื่อยล้าตาหรือเพิ่มการหลับหรือป้องกันโรค macular แต่อย่างใด

อย่างไรก็ตามยังมีนักทัศนมาตรบางท่าน หรือวงการ optical industry (อุตสาหกรรมเลนส์แว่นตา) แนะนำให้ใช้แว่นกันสีฟ้า โดยกล่าวว่าสำรวจจากผู้ที่ใช้กล่าวว่าสบายตาขึ้น แม้แต่ Samuel Pierce ซึ่งเป็นอดีตประธานทัศนมาตรของอเมริกา (American Optometric Association) ยังแนะนำให้ใช้และกล่าวไว้ใน USA Today

ในปี 2018 มีการ survey จาก Acuvue (บริษัท contact lens) พบว่าผู้ใช้ computer ใช้เวลาเฉลี่ย 6.5 ชั่วโมง/วัน และกว่า 21% ในปี 2015 ของผู้ใหญ่ในอเมริกาใช้ computer คาดว่าประมาณครึ่งหนึ่งของคนอายุ 18-29 นั่งหน้าคอมพิวเตอร์ประจำ

Susan Primo ศาสตราจารย์สาขาทัศนมาตรที่ Emory University ก็ยืนยันว่า การใช้ digital device ในเวลานานต่างหาก ไม่ใช่แสงสีฟ้าเป็นเหตุให้เกิดปัญหาทางตา แต่ก็มีผู้ใช้แว่นกันแสงสีฟ้ารายงานว่าใช้แล้วลดอาการเมื่อยล้าทางตาได้

กลุ่มที่กล่าวว่าได้ผลดีมักใช้คำว่าอาจจะ (“may” หรือ “might”) ลดอาการที่ไม่ดีทางตาต่าง ๆ

ในปี 2017 ในอังกฤษ บริษัท Boots ถูกปรับ 40,000 ปอนด์ ที่โฆษณาเกินจริงว่าแว่นกันแสงสีฟ้าป้องกันโรคตาได้

ในเรื่องคุณภาพการนอน แม้ว่ามีการศึกษาพบว่าการใช้แว่นชนิดนี้ช่วยเพิ่ม melatonin (hormone ที่ช่วยการนอนหลับ) แต่ American Academy of Ophthalmology กล่าวว่า เราไม่จำเป็นต้องเสียเงินจำนวนนี้เพื่อทำให้หลับดีขึ้น แค่ลดการใช้ digital device ตอนหัวค่ำ หรือ set เครื่องไปที่ night mode

โดยสรุป สมาคมจักษุแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกากล่าวไว้ หากท่านกังวลกับการที่ต้องใช้จอคอมพิวเตอร์ในการทำงานประจำ ลองใช้สูตร 20-20-20 โดยทำงานทุก 20 นาที มองไกล 20 ฟุต เป็นเวลา 20 วินาที และ

- ปรับตำแหน่งวางคอมพิวเตอร์ห่างจากตา 25 นิ้ว โดยให้ระดับตาสูงกว่าหน้าคอมพิวเตอร์ ทำให้ตามองลงต่ำเล็กน้อย

- อาจใช้ screen filter บนหน้าจอเพื่อลด glare

- ใช้น้ำตาเทียมบ้าง เวลาที่รู้สึกตาแห้ง

- จัดแสงในห้องให้เหมาะสม อาจต้องปรับหน้าจอให้ได้ contrast ที่เหมาะสม

- สำหรับผู้ใช้ contact lens ควรงดการใช้คอนแทคเลนส์ หันมาใช้แว่นบ้างเป็นระยะ