เรื่องของผู้สูงอายุ
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 26 กันยายน 2554
- Tweet
องค์การสหประชาชาติได้นิยามคำว่า ผู้สูงอายุ หมายถึงบุคคลทั้งเพศชายและเพศหญิงซึ่งมีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ส่วนประเทศไทย นิยามของผู้สูง อายุ คือ บุคคลทั้งเพศชาย และเพศหญิงซึ่งมีอายุเกินกว่า 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และมีสัญชาติไทย เพื่อให้ทั่วโลก ตระหนักถึงความสำคัญของผู้สูงอายุ องค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดให้ ทุกวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันผู้ สูงอายุสากล ในส่วนของประเทศไทย เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงความ สำคัญของผู้สูงอายุเช่นกัน รัฐบาลได้กำหนดให้ วันสงกรานต์ 13 เมษายนของทุกปีเป็นวันผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย โดยมีดอกลำดวนเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ นอกจากนั้นเพื่อให้ตระหนักถึงสิทธิ และสวัสดิการของผู้สูงอายุ เช่นเดียวกับในประชากรอายุอื่น รัฐบาลได้ออกปฏิญญาผู้สูงอายุไทยในปี พ.ศ. 2542 และออกพระราชบัญญัติผู้สูงอายุแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2546 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 ในด้านอายุขัย ในปีพ.ศ. 2549 คนไทยรวมทั้ง 2 เพศ ชายไทย และหญิงไทย มีอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด 71.5 ปี 68 ปี และ 75 ปี ตามลำดับ และคาดว่าในปี พ.ศ. 2563 จะเป็น 81.3 ปี 78.6 ปี และ 83.9 ปี ตามลำดับ และประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี พ.ศ.2547-2548 และคาดว่าจะเข้าสู่สังคมผู้สูง อายุโดยสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2567-2568