เรื่องของผิวคนแก่ (ตอนที่ 9)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 7 มีนาคม 2563
- Tweet
แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้ด้วยการตรวจผิวด้วยกล้องส่องตรวจผิวหนัง (Dermoscopy) หรืออาจตัดชิ้นเนื้อผิวหนังส่งตรวจ (Skin biopsy) ส่วนการรักษาแพทย์สามารถทำได้ด้วยการใช้ยา เช่น
- Fluorouracil cream
- Imiquimod cream
- Ingenol mebutate gel
- Diclofenac gel
ทั้งนี้ ครีมเหล่านี้อาจก่อให้เกิดอาการแดงหรือแสบประมาณ 1-2 สัปดาห์
นอกจากนี้อาจใช้การรักษาด้วยการ
- การตัดออก (Excision)
- จี้เย็น (Cryotherapy)
- การขูด (Curettage) และ การใช้ไฟฟ้าจี้เพื่อห้ามเลือด (Electrocautery)
- การใช้แสงกระตุ้น (Photodynamic therapy)
อย่างไรก็ดี หลังการรักษาอาจกลับมาเป็นซ้ำได้อีก ซึ่งก็ต้องเริ่มการรักษากันใหม่
สำหรับโรคนี้ ถือว่าการป้องกันเป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นภาวะที่เกิดก่อนที่จะมีการพัฒนาไปเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง โดยเฉพาะการป้องกันตนเองจากแสงแดด ซึ่งทำได้ด้วยการ
- หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้ง โดยเฉพาะช่วงเวลา 9.00 น.-15.00น. เพราะยิ่งถูกแดดมากยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคได้
- ใช้ครีมกันแดด (Sunscreen) ที่ปกป้องผิวได้อย่างครอบคลุม (Broad-Spectrum) ซึ่งจะช่วยปกป้องผิวจากรังสียูวีเอและรังสียูวีบี โดย The American Academy of Dermatology ได้แนะนำให้ใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF อย่างต่ำที่ 30 และทาลิปกันแดด 15 นาทีก่อนออกแดด โดยให้ทาซ้ำทุก 2 ชั่วโมง หรือ บ่อยกว่านั้นกรณีที่ว่ายน้ำหรือมีเหงื่อออก
- ใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดแขนขาและสวมหมวกปีกกว้าง
- หลีกเลี่ยงการนอนอาบแดด
- ตรวจดูผิวหนังตัวเองเป็นประจำ หากพบความผิดปกติของผิวหนังให้ไปพบแพทย์
แหล่งข้อมูล:
- Actinic keratosis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/actinic-keratosis/symptoms-causes/syc-20354969 [2020, March 5].
- Actinic keratosis. https://dermnetnz.org/topics/actinic-keratosis/ [2020, March 5].
- Actinic Keratosis. https://www.healthline.com/health/actinic-keratosis [2020, March 5].