เรื่องของผิวคนแก่ (ตอนที่ 5)

เรื่องของผิวคนแก่-5

      

ไม่แนะนำให้เอาติ่งเนื้อออกเองเพราะมีความเสี่ยงเรื่องการติดเชื้อและเลือดออก ส่วนติ่งเนื้อที่เปลือกตา อาจจำเป็นต้องใช้จักษุแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางตาเป็นผู้เอาออก

เรายังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนของการเกิดติ่งเนื้อ แต่มักเกิดในบริเวณที่มีการเสียดสี และสันนิษฐานว่าอาจเกิดจาก

  • การกระจุกตัวของเส้นใยโปรตีนชนิดหนึ่ง (Collagen) และหลอดเลือดภายใต้ผิวหนัง
  • เนื่องจากติ่งเนื้อมักเกิดบริเวณรอยย่นหรือข้อพับ จึงอาจมีสาเหตุเกิดจากการเสียดสีของผิวหนัง
  • พันธุกรรม
  • มีการตั้งครรภ์
  • เป็นโรคอ้วน
  • เป็นโรคเบาหวาน
  • มีภาวะที่มีอินซูลินในเลือดสูงมาก (Hyperinsulinemia)

สำหรับปัจจัยเสี่ยงของการเกิดติ่งเนื้ออาจได้แก่

  • ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากหรือเป็นโรคอ้วน
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
  • ผู้ที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน
  • ผู้ที่ติดเชื้อเอชพีวี (Human papilloma virus = HPV)
  • ผู้ที่มีระดับฮอร์โมนเพศไม่สมดุล โดยเฉพาะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เอสโตรเจน (Estrogen) และ โปรเจสเตอโรน (Progesterone)
  • ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวมีติ่งเนื้อ
  • ผู้ที่มีโรคไขมันในเลือดสูง (Dyslipidemia)
  • ผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูง

อนึ่ง หูดอาจมีลักษณะคล้ายติ่งเนื้อ แต่แตกต่างกันที่

  • ติ่งเนื้อมักนุ่มเป็นติ่งห้อยในขณะที่หูดจะแบนติดมีผิวไม่เรียบ
  • ติ่งเนื้อไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเฮชพีวีเหมือนหูด

แหล่งข้อมูล:

  1. All you need to know about skin tags. https://www.medicalnewstoday.com/articles/67317.php [2020, February 28].
  2. Skin Tag. https://www.medicinenet.com/skin_tag/article.htm [2020, February 28].
  3. How Are Skin Tags Removed? Plus Causes, Diagnosis, and More. https://www.healthline.com/health/skin-disorders/remove-skin-tags [2020, February 28].