เรื่องของผิวคนแก่ (ตอนที่ 12)

เรื่องของผิวคนแก่-12

      

กรณีที่เป็นมะเร็งผิวหนังขนาดใหญ่ขึ้น ลึกขึ้น อาจใช้การรักษาชนิดที่คุกคามมากขึ้น เช่น

  • การตัดออก (Excision) แพทย์จะตัดเซลล์ผิวส่วนที่เป็นมะเร็งและบริเวณโดยรอบออก ซึ่งในกรณีที่เป็นบริเวณใบหน้าอาจต้องปรึกษาแพทย์เพื่อการทำศัลยกรรมด้วย
  • การผ่าตัดด้วยวิธี Mohs (Mohs surgery) ซึ่งเป็นการผ่าตัดผิวเป็นชั้นๆ เพื่อนำเซลล์ผิวหนังไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ (Microscope) ว่ายังมีเซลล์มะเร็งหลงเหลืออยู่ไม่ เป็นการตัดเซลล์มะเร็งออกและป้องกันไม่ให้เซลล์โตอีก ช่วยหลีกเลี่ยงการทำลายผิวส่วนที่ปกติ
  • รังสีบำบัด (Radiation therapy) เป็นการใช้พลังงานลำแสงสูง เช่น เอ็กซเรย์ (X-rays) และ โปรตอน (Protons) เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง หรือกรณีที่มีความเสี่ยงว่าเซลล์มะเร็งจะกลับมาอาจใช้รังสีบำบัดช่วยหลังการผ่าตัดก็ได้

กรณีที่เป็นมะเร็งผิวหนังกระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกาย เช่น ต่อมน้ำเหลือง จะใช้การรักษาด้วย

  • เคมีบำบัด (Chemotherapy) ซึ่งอาจใช้ร่วมกับรังสีบำบัดและการรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์
  • การรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์ (Targeted drug treatments) เป็นการใช้ยาหรือสารบางตัวที่ไปยับยั้งการเจริญเติบโต และการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง โดยการรบกวนการทำงานของโมเลกุลที่มีความจำเพาะต่อการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งนั้น มักใช้ร่วมกับเคมีบำบัด
  • การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) เป็นการใช้ยาเพื่อช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสู้กับเซลล์มะเร็ง มักใช้ในระยะลุกลามและใช้การรักษาวิธีอื่นไม่ได้ผล

สำหรับการป้องกันทำได้ด้วยการ

  • หลีกเลี่ยงแสงแดดระหว่างวัน
  • ใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF อย่างน้อย 30 และทาครีมทุก 2 ชั่วโมง หรือบ่อยขึ้นกรณีที่ว่ายน้ำหรือมีเหงื่อออก
  • สวมหมวกและเสื้อผ้าให้มิดชิดเมื่อต้องทำงานกลางแจ้ง
  • สวมแว่นตาเพื่อป้องกันรังสียูวี
  • หลีกเลี่ยงการอาบแดด
  • ตรวจดูสภาพผิวตัวเองว่ามีความผิดปกติหรือไม่
  • หลีกเลี่ยงบุหรี่

แหล่งข้อมูล:

  1. Squamous cell carcinoma of the skin. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/squamous-cell-carcinoma/symptoms-causes/syc-20352480 [2020, March 9].
  2. Squamous Cell Cancer. https://www.healthline.com/health/squamous-cell-skin-cancer [2020, March 9].