เมาแอ๋แม้ไม่ดื่ม (ตอนที่ 3)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 23 ตุลาคม 2562
- Tweet
ซึ่งอาการและผลข้างเคียงจะคล้ายกับคนมึนเมาหรือเมาค้าง (Hangover) กล่าวคือ
- เวียนศีรษะ
- ไม่มีสมาธิ
- ปวดศีรษะ
- คลื่นไส้และอาเจียน
- มีภาวะขาดน้ำ
- ปากแห้ง
- เรอ (Burping / Belching)
- เหนื่อยอ่อนเพลีย
- มีปัญหาเรื่องความจำ
- อารมณ์เปลี่ยนแปลง
ABS สามารถทำให้ร่างกายมีปัญหาสุขภาพมากขึ้นอย่าง
- กลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง (Chronic fatigue syndrome – CFS)
- สำไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome – IBS)
- หดหู่ซึมเศร้าและวิตกกังวล (Depression and anxiety)
ยังไม่มีวิธีวินิจฉัยโรค ABS อย่างชัดเจน เพราะยังเป็นโรคที่ต้องการการวิจัยที่จำเป็นอีกมาก โดยปัจจุบันแพทย์มักใช้วิธีการตรวจอุจจาระเพื่อดูปริมาณของยีสต์ในกระเพาะอาหาร หรือวิธีการทดสอบด้วยน้ำตาลกลูโคส (Glucose challenge test)
[วิธีการทดสอบด้วยน้ำตาลกลูโคส (Glucose challenge test) ทำได้ด้วยการให้กินแคปซูลกลูโคส ซึ่งต้องมีการงดน้ำและอาหารก่อนและหลังการกินแคปซูล และทำการเจาะเลือดหลังจากนั้น 1 ชั่วโมง หากไม่เป็น ABS ค่าแอลกอฮอล์ในเลือดจะเท่ากับศูนย์ แต่ถ้าเป็นค่าจะอยู่ระหว่าง 1.0 - 7.0 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร]
แหล่งข้อมูล:
- Auto Brewery Syndrome: Can You Really Make Beer in Your Gut? https://www.healthline.com/health/auto-brewery-syndrome [2019, October 22].
- What Exactly Is Auto-Brewery Syndrome? https://www.alcohol.org/co-occurring-disorder/auto-brewery-syndrome/ [2019, October 22].