เมาแอ๋แม้ไม่ดื่ม (ตอนที่ 2)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 22 ตุลาคม 2562
- Tweet
ABS เกิดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ มีทั้งที่เป็นมาแต่กำเนิดหรือมีสิ่งไปกระตุ้นให้เกิด โดยเกิดจากการที่ร่างกายมีการบ่มหรือเปลี่ยนน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตเป็นแอลกอฮอล์ (Ethanol) ในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ เป็นกลุ่มอาการที่วินิจฉัยโรคได้ยาก ทำให้เกิดอาการเมาโดยไม่ต้องดื่มแอลกอฮอล์ หรือดื่มเพียงเล็กน้อยแต่จะทำให้เมาหนักมาก
เช่น ในผู้ใหญ่บางคนที่มียีสต์ในกระเพาะมากเนื่องจากเป็นโรคโครห์น (Crohn’s disease) หรือในบางคนอาจเกิดจากตับมีปัญหา ไม่สามารถขับแอลกอฮอล์ได้เร็วพอ จึงทำให้การดื่มแอลกอฮอล์แม้เพียงเล็กน้อยก็ทำให้เกิดอาการมึนเมาได้
หรือในเด็กที่มีกลุ่มอาการลำไส้สั้น (Short bowel syndrome) ก็มีความเสี่ยงสูงในการเป็น ABS โดยมีรายงานทางการแพทย์ระบุว่า เด็กอายุ 3 ขวบที่เป็นกลุ่มอาการลำไส้สั้นมีอาการเมาหลังการดื่มน้ำผลไม้ซึ่งมีคาร์โบไฮเดรตสูงตามธรรมชาติอยู่แล้ว
โดยชนิดของยีสต์ซึ่งมีมากเกินในกระเพาะอาหารที่อาจก่อให้เกิด ABS ได้แก่
นอกจากนี้ สาเหตุที่มียีสต์ในร่างกายมากอาจเกิดจาก
แหล่งข้อมูล:
- Auto Brewery Syndrome: Can You Really Make Beer in Your Gut? https://www.healthline.com/health/auto-brewery-syndrome [2019, October 21].
- What Exactly Is Auto-Brewery Syndrome? https://www.alcohol.org/co-occurring-disorder/auto-brewery-syndrome/ [2019, October 21].