เมสเซนเจอร์ (Messenger)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 24 พฤศจิกายน 2560
- Tweet
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติต่างๆในการใช้ยาทุกชนิด
- รูปแบบยาเตรียม (Pharmaceutical Dosage Forms)
- อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (Adverse Drug Reaction)
เมสเซนเจอร์ (Messenger) หรือเรียกว่า Cell signaling(Cell signalling) คือสารที่เป็นหน่วยย่อยในร่างกายที่ทำหน้าที่สื่อสารเพื่อให้เกิดกระบวนการทำงานร่วมกันของสาร/เซลล์ต่างๆของร่างกาย แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ First messenger และ Second messenger
- First messenger คือ สาร/หน่วยย่อยที่อยู่นอกเซลล์ที่จะจับกับตัวรับ(Receptor)ต่างๆของเซลล์เพื่อให้เกิดการทำงานภายในเซลล์ สารในกลุ่มนี้มีหลากหลาย เช่น Hormones (เช่น Growth hormone/ฮฮร์โมนเพื่อการเจริญเติบโต), Neurotransmitters (เช่น Epinephrine, Serotonin)
- Second messenger คือ สารที่สื่อสารระหว่างสารต่างๆในเซลล์เพื่อการทำงานต่างๆของเซลล์เพื่อให้เซลล์มีชีวิตอยู่ได้ เช่น เพื่อให้เซลล์มีการแบ่งตัว เพื่อการทำให้เกิดการตายตามธรรมชาติของเซลล์(Apoptosis) Second messenger มีหลายชนิดย่อย เช่น Cyclic adenosine monophosphate (cAMP หรือ cyclic AMP, หรือ 3',5'-cyclic adenosine monophosphate), Cyclic guanosine monophosphate (cGMP), แคลเซียม
บรรณานุกรม