เท้าใครใหญ่ที่สุด (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

เท้าใครใหญ่ที่สุด-3

      

      แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้ด้วยการสอบประวัติ ตรวจดูสภาพร่างกาย และตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อพยาธิ ซึ่งต้องทำตอนกลางคืน (Nocturnal periodicity) เพราะเป็นเวลาที่เชื้อเหล่านี้จะแอคทีฟ (Active) ตรวจพบได้ง่าย นอกจากนี้อาจให้ทำการตรวจเอ็กซเรย์ และตรวจอัลตราซาวด์เพื่อตัดความสงสัยในโรคอื่นที่มีอาการคล้ายกันออกไป

ในส่วนของการรักษาสามารถทำได้ด้วยการให้

  • ยาถ่ายพยาธิ (Antiparasitic drugs) เช่น ยา Diethylcarbamazine (DEC) ยา Mectizan และยา Albendazole
  • การรักษาความสะอาดบริเวณที่เป็น
  • การยกบริเวณที่เป็นให้อยู่ในระดับที่สูงกว่าปกติ
  • การรักษาแผลบริเวณที่เป็น
  • การออกกำลังกายตามวิธีที่แพทย์แนะนำ
  • ในกรณีที่รุนแรง อาจมีการผ่าตัดเพื่อตกแต่งบริเวณที่เป็นหรือผ่าตัดเพื่อเอาเนื้อเยื่อน้ำเหลืองบริเวณที่เป็นออกไป
  • กรณีที่อาการทางกายภาพมีผลต่อสายตาของผู้อื่น จนทำให้ผู้ป่วยรู้สึกวิตกกังวลหรือซึมเศร้าหดหู่ ก็อาจใช้การบำบัดทางจิตวิทยา (Emotional and psychological support) ช่วย

      ส่วนอาการแทรกซ้อนที่พบบ่อยได้แก่ การไร้สมรรถภาพ (Disability) หรือ การพิการอย่างถาวร (Permanent disability) ซึ่งเกิดจากอาการปวดและบวมอย่างมากของอวัยวะที่เป็น จนทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันหรือทำงานได้ นอกจากนี้ก็ทำให้มีโอกาสในเกิดการติดเชื้อทุติยภูมิได้

การป้องกันโรคเท้าช้างอาจทำได้ด้วยการ

  • หลีกเลี่ยงการโดนยุงกัด
  • กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
  • อยู่ในที่มีมุ้งลวด
  • ทายากันยุง (Insect repellants)
  • สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ในที่ที่มียุงชุกชุม
  • ฉีดยาป้องกัน เช่น ยา Diethylcarbamazine (DEC) ยา Albendazole และยา Ivermectin ก่อนเดินทางไปยังที่ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

สำหรับการดูแลตัวเองกรณีที่มีอาการของโรค ทำได้โดย

  • ล้างและทำความสะอาดบริเวณที่บวมให้แห้งทุกวัน
  • ใช้สารให้ความชุ่มชื้น (Moisturizers)
  • ทายาหรือครีมบริเวณที่ปวด
  • ออกกำลังกายและเดินเท่าที่จะทำได้
  • หากมีอาการบวมที่แขนหรือขา ให้ยกแขนหรือขาให้อยู่ในระดับที่สูงเมื่ออยู่ในท่านอนหรือท่านั่ง

แหล่งข้อมูล:

  1. Elephantiasis: What to Know. https://www.webmd.com/a-to-z-guides/elephantiasis-what-to-know#1 [2018, February 8].
  2. Parasites - Lymphatic Filariasis.https://www.cdc.gov/parasites/lymphaticfilariasis/ [2018, February 8].
  3. What Is Elephantiasis? https://www.healthline.com/health/elephantiasis [2018, February 8].
  4. Lymphatic filariasis. http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs102/en/ [2018, February 8].