เท้าเหม็นช่วยได้ (ตอนที่ 2)

เท้าเหม็นช่วยได้-2

      

      ส่วนเชื้อที่พบได้น้อย เช่น

  • Acinetobacter
  • Clostridium
  • Klebsiella
  • Pseudomonas

      โดยแบคทีเรียเหล่านี้สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาวะที่ชื้นหรือเปียก ดังนั้นคนที่ปล่อยให้เท้าอับชื้นอยู่บ่อยๆ จึงมีโอกาสเป็นโรคนี้

      แบคทีเรียที่ฝ่าเท้าและฝ่ามือจะสร้างเอนไซม์โปรตีเอส (Protease enzymes) มาย่อยผิวชั้นบนของหนังกำพร้า (Epidermis) ให้เป็นรูๆ นอกจากนี้แบคทีเรียยังสร้างสารประกอบกำมะถัน (Sulfur compounds) ที่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นด้วย

      อาการหลักของโรคเท้าเหม็นก็คือ มีกลิ่นไม่พึงประสงค์จากเท้า ฝ่าเท้าหรือฝ่ามือมักจะมีกลุ่มของรูที่ถูกเจาะ (Punched-out) ซึ่งสังเกตเห็นได้ชัดขณะที่ผิวเปียก และบางครั้งรูเหล่านี้สามารถเชื่อมต่อกัน (Coalesce) จนกลายเป็นแผลที่ใหญ่ขึ้น หรือบางทีก็ทำให้ผิวแดง รู้สึกปวด หรือคัน เมื่อมีแรงกดทับที่เท้าขณะเดิน

      ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคเท้าเหม็น ได้แก่

  • อากาศที่ร้อนชื้น
  • รองเท้าที่ปิด เช่น รองเท้าบูทยาง รองเท้านิรภัย
  • เหงื่อออกมากที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า(Hyperhidrosis)
  • ผิวที่ฝ่ามือและฝ่าเท้าหนาผิดปกติ (Keratoderma)
  • โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus)
  • อายุมาก
  • ภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Immunodeficiency)

      โรคเท้าเหม็นเป็นโรคที่รักษาและป้องกันได้ง่าย และอาการมักจะหายในประมาณ 4 สัปดาห์ โดยอาชีพที่มีความเสี่ยง คือ

  • ชาวนา
  • นักกีฬา
  • ลูกเรือหรือชาวประมง
  • ผู้ที่ทำงานโรงงานอุตสาหกรรม
  • ทหาร

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Pitted Keratolysis. https://www.healthline.com/health/pitted-keratolysis [2019, September 17].
  2. Pitted keratolysis. https://www.dermnetnz.org/topics/pitted-keratolysis/ [2019, September 17].
  3. Pitted keratolysis https://en.wikipedia.org/wiki/Pitted_keratolysis [2019, September 17].
  4. .