เจ็บไข้ได้ป่วย ตอนที่ 40 – เนื้อสัตว์ (4)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 3 สิงหาคม 2565
- Tweet
เจ็บไข้ได้ป่วย – เนื้อสัตว์ (4)
เมื่อเราเป็นทารก (Infant) เราเจริญเติบโตเร็วกว่าวัยอื่นๆ ในชีวิตของเรา จึงมีความจำเป็นสูงสุดที่ต้องได้โปรตีน (Protein) อย่างไรก็ตาม นมแม่มีโปรตีนเพียง 2% เท่านั้น!!! ซึ่งเป็นตัวเลขเดียวกับโปรตีนในผลไม้
ความจริง (Reality) เกี่ยวกับโปรตีนก็คือ เราไม่จำเป็นต้องกังวลเลยว่า เราได้รับในปริมาณเพียงพอหรือไม่? เนื่องจาก 70% ของโปรตีนถูกสร้างขึ้นภายในร่างกายของเราเอง กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ร่างกายของเราบริโภคซ้ำ (Re-use) หรือหมุนเวียน (Re-cycle) โปรตีนเอง ร่างกายที่มีประสิทธิภาพสูงเท่าไร ยิ่งจำเป็นต้องได้โปรตีนน้อยลง!
กรดอะมิโน (Amino) ซึ่งเป็นสารอินทรีย์กลุ่มใหญ่ ที่ร่างกายจำเป็นต้องได้โปรตีน จะพบได้ในพืชเป็นแหล่งใหญ่ ถ้าเราบริโภคผักและผลไม้ที่หลากหลาย ทั้งธัญพืชที่ผ่านกระบวนการขัดสีน้อย (Whole grain) และพืชตระกูลฝัก (Legume) อาทิ ถั่ว เราก็จะได้โปรตีนเพียงพอ ตัวอย่างเช่น ผักกระหล่ำ (Lettuce) ประกอบด้วยโปรตีน 34%, บรอคโคลี่ (Broccoli) 48% และผักโขม (Spinach) 49%!
สัตว์ที่แข็งแรงที่สุดในโลก อาทิ ม้า, ลิงกอริลลา (Gorilla), และช้าง ล้วนกินพืชเป็นอาหาร ไม่ได้กินเนื้อสัตว์เลย!
แล้วเราไม่จำเป็นต้องบริโภคเนื้อสัตว์เพื่อให้ได้พลังงานหรือ?
ไม่จำเป็น เพราะโปรตีน (Protein) เป็นสิ่งสุดท้ายที่ร่างกายเผาผลาญเพื่อให้ได้พลังงาน สิ่งแรกที่ร่างกายใช้คือน้ำตาล (Sugar), สิ่งที่ 2 คือ คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate), สิ่งที่ 3 คือไขมัน (Fat) และสิ่งสุดท้ายที่ร่างกายใช้เพื่อให้ได้พลังงานคือโปรตีน นอกจากนี้ โปรตีนส่วนเกิน (Excess) ก่อให้เกิดไนโตรเจน (Nitrogen) ในร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุของความอ่อนล้า (Fatigue) กล่าวคือ ทำให้เราเหนื่อยเพลีย (Tired)
เอ๊ะ ถ้าเราไม่บริโภคเนื้อสัตว์ มันจะไม่ทำให้กระดูกอ่อนแอหรือ?
เนื้อสัตว์ประกอบด้วยกรดยูริค (Uric acid) ซึ่งดูด (Leach) ธาตุแคลเซี่ยม (Calcium) จากระบบร่างกาย ผู้คนที่บริโภคเนื้อสัตว์จะมีกระดูกที่อ่อนปวกเปียกที่สุด โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) มีสาเหตุจากการมีโปรตีนมากเกินไป (Over-abundance) มิใช่ขาดแคลเซียม [อย่างที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ]
ต้องยอมรับว่าเนื้อสัตว์มีรสชาติ (Taste) ที่อร่อย ซึ่งรสและกลิ่น (Flavor) ได้มาจากกรดยูริค อันได้มาจากปัสสาวะ (Urine) ของสัตว์ ซึ่งไหลท่วม (Flood) ผ่านร่างกายของมัน เมื่อมันตาย มีเพียงอาหารตามกฎเกณฑ์ของยิว (Kosher) เท่านั้นที่ไม่มีน้ำปัสสาวะ แต่ก็มีรสชาติจืดชืด
แต่เรื่องมิได้จบอยู่แค่นั้น เมื่อสัตว์ตาย แรงดันจากการดูดซึมตามธรรมชาติ (Natural osmotic pressure) ก็อันตรธานหายไป และบรรดาเชื้อที่เน่าเสีย (Putrefactive germ) ซึ่งอยู่ในลำไส้ใหญ่ (Colon) ก็ไหลท่วมระบบร่างกาย
หมายเหตุ - บล็อกเรื่องอาหารเป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยังไม่ชัดเจน เพียงแต่มีกลุ่มคนที่ศึกษาในเรื่องนี้มีข้อเสนอแนะที่ต่างออกไป อยากให้ผู้อ่านตระหนักว่า ยังเป็นแนวคิดใหม่ที่กำลังศึกษาอันน่าจะเป็นประโยชน์ แต่ต้องระมัดระวังด้วย ในทางปฏิบัติจึงต้องพิจารณาให้ดีถึงสุขภาพ, นานาโรค, ยาต่างๆ, และคำแนะนำของแพทย์ที่เป็นที่ยอมรับกันแล้ว ข้อสำคัญ ต้องไม่ให้เกิดโทษ เช่น ปฏิเสธวิธีเดิมทั้งๆ ที่แพทย์แนะนำ เป็นต้น
แหล่งข้อมูล
- Traverso, Matt. (2014). Health, Vitality, and Energy in Your Body (eBook). USA.
- Protein - https://en.wikipedia.org/wiki/Protein [2022, August 2].
- Meat - https://en.wikipedia.org/wiki/Meat [2022, August 2].