เจ็บไข้ได้ป่วย ตอนที่ 39 – เนื้อสัตว์ (3)

เจ็บไข้ได้ป่วย – เนื้อสัตว์ (3)

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เราไม่สามารถบริโภคเนื้อสัตว์ (Animal flesh) โดยปราศจากการทำร้าย (Damage) ร่างกาย

ดร. ที คอลิน แคมป์เบล (Dr. T. Colin Campbell) นักวิจัยหลัก ในการศึกษาที่เรียกว่า “The China Study” กล่าวว่า “ใน 5 – 10 ปี ข้างหน้า สิ่งหนึ่งที่เราจะได้ยิน ก็คือโปรตีนจากสัตว์ เป็นสารอาหารพิษ (Toxic nutrient) สุดอันตราย เท่าที่ได้เคยมีการพิจารณา”

เนื้อสัตว์ยังประกอบด้วยยาปฏิชีวนะ (Anti-biotics) อาทิ เพ็นนิซิลิน (Penicillin) และเตตระไซคลีน (Tetracycline) ที่ใช้ในการป้องกันโรคจากสัตว์ในฟาร์ม (Farm animal), ฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโต (Growth hormone), ปุ๋ย (Fertilizer), ยากล่อมประสาท (Tranquilizer), ยาต้านปรสิต (Anti-parasite) และยาอื่นๆ ยาเหล่านี้ จะถูกส่งผ่านโดยตรงไปยังผู้บริโภคเนื้อและนม ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคที่สัมพันธ์กับเนื้อสัตว์ อาทิ โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน (Coronary) และความดันโลหิตสูง (High blood pressure)  

แล้วเราจะได้โปรตีน (Protein) จากไหนกัน?

เรื่องราวของโปรตีนถูกจงใจ (Deliberately) ทำให้สับสน (Confused) โดยการโฆษณาชวนเชื่อในเชิงพาณิชย์ อาจเป็นเรื่องน่าประหลาดใจว่า ผู้คนส่วนมากไม่ทราบว่า ร่างกายของเราจำเป็นต้องได้รับโปรตีนในปริมาณน้อยมาก

การบริโภคโปรตีนเกินไป (Over-consumption) ส่งผลให้เกิดภัยคุกคามต่อสุขภาพของเรา มากกว่าการได้โปรตีนอย่างเพียงพอ

อันที่จริง ผู้ร้าย (Culprit) ตัวจริงในบรรดาโรคเสื่อมสภาพ (Degenerative) ก็คือการได้รับโปรตีนเกินขนาด (Over-dose)

สิ่งที่เราควรกังวลมิใช่จะได้รับโปรตีนอย่างไร แต่เป็นเราได้รับโปรตีนมากเกินไป ในสังคมตะวันตก โปรตีนเป็นพิษร้ายในตัวมันเอง

ความจริงก็คือ ในทางปฏิบัติ เป็นไปไม่ได้ (Practically impossible) ที่จะไม่ได้รับโปรตีนอย่างเพียงพอ และกรณีจริงของการบกพร่อง (Deficiency) ในโปรตีน แทบจะไม่มีอยู่ในวัฒนธรรมของโลกตะวันตก

ความจำเป็นของร่างกายที่จะต้องได้รับโปรตีน อาจกำหนดได้อย่างง่ายดายและแน่นอน (Definitively) โดยการตรวจสอบส่วนประกอบ (Content) ของนมแม่ในมนุษย์ (Human mother’s milk)

เราเพียงใช้สามัญสำนึก ตั้งคำถามว่า เมื่อใดในชีวิตของที่จำเป็นต้องได้โปรตีนมากที่สุด? คำตอบก็คือ เมื่อเรากำลังเจริญเติบโตมากที่สุด ใน 6 เดือนแรกของชีวิต!

หมายเหตุ - บล็อกเรื่องอาหารเป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยังไม่ชัดเจน เพียงแต่มีกลุ่มคนที่ศึกษาในเรื่องนี้มีข้อเสนอแนะที่ต่างออกไป อยากให้ผู้อ่านตระหนักว่า ยังเป็นแนวคิดใหม่ที่กำลังศึกษาอันน่าจะเป็นประโยชน์ แต่ต้องระมัดระวังด้วย ในทางปฏิบัติจึงต้องพิจารณาให้ดีถึงสุขภาพ, นานาโรค, ยาต่างๆ, และคำแนะนำของแพทย์ที่เป็นที่ยอมรับแล้ว ข้อสำคัญ ต้องไม่ให้เกิดโทษ เช่น ปฏิเสธวิธีเดิมทั้งๆ ที่แพทย์แนะนำ เป็นต้น

แหล่งข้อมูล

  1. Traverso, Matt. (2014). Health, Vitality, and Energy in Your Body (eBook). USA.
  2. Meat - https://en.wikipedia.org/wiki/Meat [2022, June 28].
  3. Protein - https://en.wikipedia.org/wiki/Protein [2022, June 28].
  4. T. Colin Campbell - https://en.wikipedia.org/wiki/T._Colin_Campbell [2022, June 28].