เจ็บไข้ได้ป่วย ตอนที่ 38 – เนื้อสัตว์ (2)

เจ็บไข้ได้ป่วย-เนื้อสัตว์-01

เจ็บไข้ได้ป่วย – เนื้อสัตว์ (2)

นายแพทย์ คาลด์เวล เอ็สเซลสไตน์ (Dr. Caldwell Esselstyn) ได้เขียนหนังสือยอดนิยมชื่อ “Prevent and Reverse Heart Disease” ซึ่งเขาเชื่อมั่นในการบริโภคอาหารที่มีไขมันต่ำ (Low-fat), ธัญพืชที่ผ่านกระบวนการขัดสีน้อย (Whole grain), มาจากพืช (Plant-based), และหลีกเลี่ยงอาหารมาจากสัตว์ (Animal-based) และน้ำมัน (Oil) แต่บริโภคถั่วเหลือง (Soy bean) และอะโวคาโด (Avocado)

โปรแกรมทรงอิทธิ (Powerful) ของเขา ได้พิสูจน์ตามหลักวิทยาศาสตร์แล้ว่า ลำพังอาหารที่มาจากพืชอย่างเดียว ไม่เพียงแต่ป้องกัน แต่ยังกลับสภาพของโรคหัวใจได้ โดยอาศัยการค้นพบวิธีการใหม่ (Ground-breaking) จากการศึกษาเป็นเวลากว่า 21 ปี แล้วพบว่า อันที่จริงแล้ว เรา สามารถ ยับยั้งการแพร่ระบาด (Epidemic) ของโรคหัวใจโดยเพียงเปลี่ยนแปลงอาหารที่เราบริโภค

การบริโภคเนื้อสัตว์ไม่เพียงแต่เชื่อมโยง (Link) ไปยังโรคหัวใจ แต่ยังเชื่อมโยงอย่างมีนัยสำคัญกับความเสี่ยงที่จะวิวัฒนาโรคมะเร็ง แต่ผู้คนไม่ได้รับการบอกกล่าวเพียงพอในเรื่องพลัง (Power) ของอาหารที่เขามีทางเลือก

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ประเทศที่มีการบริโภคเนื้อสัตว์มากที่สุด จะมีอัตราสูงสุดของการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate cancer) ในขณะที่ประเทศที่มีการบริโภคเนื้อสัตว์น้อยที่สุด จะมีอัตราต่ำสุดของการเป็นมะเร็งดังกล่าว

วารสารของแพทยสมาคมแห่งอเมริกา (Journal of American Medical Association) พบว่า ผู้ที่บริโภคเนื้อสัตว์มีความเสี่ยงเป็น 2 เท่าของมะเร็งลำไส้ (Colon cancer) เมื่อเทียบกับผู้บริโภคเนื้อสัตว์น้อยที่สุด ส่วนสโมสรมะเร็งแห่งอเมริกา (American Cancer Society) ก็ให้คำแนะนำพื้นฐาน 2 ข้อ ในการป้องการมะเร็งผ่านการบริโภคอาหาร ดังนี้

  1. บริโภคอาหารจากพืชมากขึ้น
  2. บริโภคอาหารจากสัตว์น้อยลง

เราสามารถป้องกันมะเร็งส่วนมาก โดยเพียงบริโภคอาหารที่มาจากพืช, หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป (Processed foods), และมีพันธสัญญา (Commitment) ต่อวิถีชีวิตที่ไม่สูบบุหรี่และออกกำลังกาย (Physically active)

ถ้าอาหารจากสัตว์เป็นศูนย์กลางของการบริโภค คงเป็นไปไม่ได้ (Impossible) ที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมีสุขภาพดี ตามประจักษ์หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ล้นหลาม (Overwhelming)

ปัญหาอยู่ที่โปรตีน (Protein) ในเนื้อสัตว์ เป็นสิ่งที่ยากต่อการย่อย (Digest) และต้องอาศัยเอนไซม์ในการย่อย (Digestive enzyme) จำนวนมาก ส่วนเนื้อที่ไม่ได้รับการย่อยก็ยังคงอยู่ (Remain) ในลำไส้เล็ก (Intestine) ในสภาพเน่าเปื่อย (Putrefy) โดยสร้างสารพิษแก่ร่างกาย อันนำไปสู่การสะสมสารพิษที่เป็นสภาพแวดล้อมให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโต (Thrive)

หมายเหตุ - บล็อกเรื่องอาหารเป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยังไม่ชัดเจน เพียงแต่มีกลุ่มคนที่ศึกษาในเรื่องนี้มีข้อเสนอแนะที่ต่างออกไป อยากให้ผู้อ่านตระหนักว่า ยังเป็นแนวคิดใหม่ที่กำลังศึกษาอันน่าจะเป็นประโยชน์ แต่ต้องระมัดระวังด้วย ในทางปฏิบัติจึงต้องพิจารณาให้ดีถึงสุขภาพ, นานาโรค, ยาต่างๆ, และคำแนะนำของแพทย์ที่เป็นที่ยอมรับแล้ว ข้อสำคัญ ต้องไม่ให้เกิดโทษ เช่น ปฏิเสธวิธีเดิมทั้งๆ ที่แพทย์แนะนำ เป็นต้น

แหล่งข้อมูล

  1. Traverso, Matt. (2014). Health, Vitality, and Energy in Your Body (eBook). USA.
  2. Protein - https://en.wikipedia.org/wiki/Protein [2022, June 21].
  3. Meat - https://en.wikipedia.org/wiki/Meat [2022, June 21].
  4. Caldwell Esselstyn - https://en.wikipedia.org/wiki/Caldwell_Esselstyn [2022, June 21].