เจ็บไข้ได้ป่วย ตอนที่ 29 – สารอาหาร (6)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 18 พฤษภาคม 2565
- Tweet
เจ็บไข้ได้ป่วย – สารอาหาร (6)
เรายิ่งกินอาหารที่ให้พลังงาน (Energy) สูงเท่าใด เรายิ่งปรับปรุงสุขภาพและพลังงานเท่านั้น ดังนั้น ถ้าเราต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้น เราก็ต้องกิน Live food (อาหาร “สด” เพื่อชีวิต)
นายแพทย์ วิลเลียม โรเบิร์ตส (William Roberts, M.D.) บรรณาธิการวารสารหัวใจวิทยาแห่งอเมริกา (American Journal of Cardiology) กล่าวว่า “ถ้าสังคมของเราเปลี่ยนอาหารที่เรากินไปเป็นมังสวิรัติ การสะสมไขมันที่หลอดเลือดแดง (Anthero-sclerosis) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจส่วนมาก ก็จะอันตรธานหายไป (Vanish)”
ทำไม Live food จึงรักษาโรคได้?
Live food อุดมด้วยปริมาณจำนวนมากของแร่ธาตุ (Mineral), วิตามิน (Vitamin), และ ยาจากพืชตามธรรมชาติ (Natural plant medicines) ที่เสริมสร้าง (Boost) ระบบภูมิคุ้มกัน (Immune system), เพิ่มพลังงาน, และช่วยชำระล้าง (Cleanse) แทนการอุดตัน (Clog) ไขมันในร่างกาย จึงป้องกันหรือรักษาโรคเสื่อมสภาพส่วนมากได้
Live food ยังประกอบด้วย Live enzyme (โปรตีน “สด” ที่ควบคุมปฏิกิริยาชีวเคมีในร่างกาย) จำนวนมาก (Myriad) เพื่อให้แน่ใจว่า การย่อยอาหาร (Digestion), การทำงาน (Function), และสุขภาพ (Health) เป็นไปอย่างเหมาะสมที่สุด (Optimal)
ความบกพร่องในคุณค่าทางโภชนาการ (Nutritional deficiency) สร้างให้เกิดอุตสาหกรรมรักษาโรคขนาดมหึมาที่กอบโกย(Exploit) กำไรมหาศาลจากสุขภาพ
อาหารที่อุดมด้วยน้ำ คือเชื้อเพลิงทางเลือก (Fuel of choice)
Live food ที่ประกอบด้วยน้ำในปริมาณสูง คือสิ่งที่ร่างกายของเราใช้ดำรงอาณาบริเวณ (Terrain) ที่สะอาด
น้ำเป็นสื่อกลาง (Medium) ที่ก่อร่างของเหลว (Fluid) ที่ชำระล้าง (Bathe) เซลล์ทุกตัวในจำนวนนับพันล้าน (Trillion) ในร่างกายของเรา ทางเลือกที่มีสารพิษยิ่งน้อยในอาหารและเครื่องดื่ม ยิ่งทำให้สูญเสียพลังงานน้อยในความพยายามที่จะกำจัดสารพิษ (Poisonous substances) ดังนั้นเราจะมีพลังงานเหลือเฟือโดยปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ
แล้วอาหารที่ปรุงแล้วและแปรรูปแล้วก่อให้เกิดโรคได้อย่างไร?
เราถูกวางเงื่อนไข (Conditioned) ตั้งแต่ยังเป็นทารก (Infancy) ให้กินอาหารปรุงสุก (Cooked) แล้ว ซึ่งสร้างปัญหาในการผลิตพิษจำนวนมาก เพราะอาหารปรุงสุกแล้ว จะทำลายเนื้อเยื่อที่มีชีวิต (Living tissue) รวมทั้งสารโภชนาการ (Nutrient) ทำให้มันกลายเป็นสารพิษ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงมากทางเคมีที่เกิดขึ้นในอาหารระหว่างที่เราปรุงมัน
หมายเหตุ- บล็อกเรื่องอาหารเป็นหลั
แหล่งข้อมูล
- Traverso, Matt. (2014). Health, Vitality, and Energy in Your Body (eBook). USA.
- Nutrient - https://en.wikipedia.org/wiki/Nutrient [2022, April 19].
- William C. Roberts - https://en.wikipedia.org/wiki/William_C._Roberts [2022, April 19].