เงิน (Silver)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 11 มิถุนายน 2559
- Tweet
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- ไตวาย ไตล้มเหลว (Renal failure)
- ตับอักเสบ โรคพิษต่อตับ (Toxic hepatitis หรือ Hepatotoxicity)
- โรคสมอง โรคทางสมอง (Brain disease)
- ผื่นแพ้สัมผัส (Allergic contact Dermatitis)
- ผื่นระคายสัมผัส (Irritant contact dermatitis)
เงิน (Silver) ชื่อลาตินคือ Argentum มีสัญลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์ว่า Ag เป็นโลหะหนักที่พบในธรรมชาติเช่น ดิน แหล่งน้ำธรรมชาติ เหมืองแร่ ซึ่งเงินเป็นแร่ธาตุที่เป็นโลหะที่ไม่มีความจำเป็นในการเจริญเติบโตของเซลล์
เงินเป็นโลหะสีขาววาว มีความสวยงาม นำความร้อนและนำกระแสไฟฟ้าได้ดี คนนำเงินมาใช้ทำเครื่องประดับและใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆเช่น เครื่องเรีอน อุตสาหกรรมเครื่องไฟฟ้า อุตสาหรรมสิ่งพิมพ์และฟิล์มต่างๆ และกระจก
คนจะได้รับพิษจากโลหะเงินเมื่อร่างกายได้รับเงินเกินขนาดจากการปนเปื้อนในอาหารและ น้ำดื่มหรือจากการงานอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการใช้เงินเช่น
- เมื่อผิวหนังสัมผัสโลหะเงินเรื้อรังอาจทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคืองจนอาจเกิดผื่นแพ้สัมผัส หรือผื่นระคายสัมผัสได้
- ถ้าโลหะเงินสัมผัสตาเรื้อรังจะก่อให้เกิดลูกตาอักเสบรุนแรงได้
- ถ้าบริโภคโลหะเงินโดยการกิน/ดื่มปริมาณสูง (การปนเปื้อนในอาหาร น้ำดื่ม น้ำใช้) อาจก่ออาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน ปวดศีรษะ
- ถ้าสูดดมฝุ่นโลหะเงินจะก่อการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อปอด เกิดปอดอักเสบได้
- นอกจากนั้นถ้าร่างกายสะสมโลหะเงินในปริมาณมากจะส่งผลให้เกิดไตอักเสบจนถึงไตวาย ตับอักเสบ ภาวะโลหิตจาง และก่อผลทางสมองเกิดอาการซึม สับสน หมดสติ โคม่า และอาจเสียชีวิตได้
ทั้งนี้อาการจากพิษของโลหะเงินจะคล้ายคลึงกับพิษโลหะหนักทุกชนิด ซึ่งแพทย์วินิจฉัยภาวะพิษโลหะเงินได้จากประวัติบริโภค/สัมผัสโลหะเงินร่วมกับอาการที่เกิดขึ้น และการตรวจปริมาณเงินในเลือดและในปัสสาวะ
อนึ่ง ค่าปกติของโลหะเงินในเลือดคือน้อยกว่า 2.3 ไมโครกรัม/ลิตร และในปัสสาวะคือน้อยกว่า 2 ไมโครกรัมในปริมาณน้ำปัสสาวะที่เก็บได้ทั้งหมดใน 24 ชั่วโมง
บรรณานุกรม