ฮอร์โมนตับอ่อน (Pancreatic hormone)

บทความที่เกี่ยวข้อง
ฮอร์โมนตับอ่อน

ฮอร์โมนตับอ่อน/ ฮอร์โมนจากตับอ่อน(Pancreatic hormone) มี4ชนิดหลัก ได้แก่ อินซูลิน, กลูคากอน, โซมาโตสแตติน, และ แพนครีอะติคโพลีเพพไทด์ (Pancreatic polypeptide ย่อว่า PP/พีพี)

ก. อินซูลิน(Insulin): สร้างจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อน มีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ต่ำด้วยการส่งน้ำตาลในเลือดไปยังอวัยวะต่างๆเพื่อนำไปใช้งาน และ/หรือเก็บสะสมไว้ใช้เมื่อร่างกายมีน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น กล้ามเนื้อ ตับ ไต สมองเม็ดเลือดแดง

ข. กลูคากอน(Glucagon): สร้างจากแอลฟาเซลล์ของตับอ่อน มีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเช่นกัน แต่ทำงานตรงข้ามกับอินซูลิน คือ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง

ดังนั้น ทั้งอินซุลินและกลูคากอน จึงช่วยกันรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในสมดุล คือ ในระดับปกติ

ค. โซมาโตสแตติน(Somatostatin): สร้างจากเดลตาเซลล์ของตับอ่อน ซึ่งนอกจากตับอ่อนแล้ว ฮอร์โมนนี้ยังสร้างได้จาก สมองส่วนไฮโปธาลามัส (เรียกอีกชื่อว่า ‘Growth hormone-inhibiting hormone ย่อว่า GHIH), กระเพาะอาหาร, และลำไส้เล็ก, มีหน้าที่ควบคุมการทำงาน/การหลั่งของทั้ง อินซูลินและกลูคากอน ให้อยู่ในสมดุล

ง. พีพีฮอร์โมน(Pancreatic polypeptide):สร้างจากพีพีเซลล์ของตับอ่อน มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ตับอ่อนทั้งชนิดสร้างฮอร์โมน(ต่อมไร้ท่อ/Endocrine gland)และชนิดสร้างน้ำย่อย(ต่อมมีท่อ/Exocrine gland), ควบคุมการหลั่งน้ำย่อยของกระเพาะอาหารและถุงน้ำดี และยังเชื่อว่าเป็นฮอร์โมนควบคุมความหิว

บรรณานุกรม

  1. https://opentextbc.ca/anatomyandphysiologyopenstax/chapter/the-endocrine-pancreas/ [2021,Aug7]
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Pancreas [2021,Aug7]
  3. https://www.hormones-australia.org.au/the-endocrine-system/pancreas/ [2021,Aug7]