อีนีมา (Enema)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 9 กันยายน 2563
- Tweet
- บทนำ
- ยาอีนีมามีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
- ยาอีนีมาออกฤทธิ์อย่างไร?
- ยาอีนีมามีรูปแบบจัดจำหน่ายอย่างไร?
- ยาอีนีมามีขนาดการใช้อย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- ยาอีนีมามีผลไม่พึงประสงค์ไหม?
- ยาอีนีมามีปฏิกิริยากับยาตัวอื่นไหม?
- มีข้อควรระวังไหมเมื่อกินยาอีนีมา?
- ควรเก็บรักษายาอีนีมาอย่างไร?
- ยาอีนีมามีชื่ออื่นๆไหม? ผลิตโดยบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยา
- ยาแก้ท้องผูก (Anticonstipation)
- ยาแก้ท้องเสีย (Antidiarrhea drugs)
- ท้องผูก (Constipation)
- ท้องเสีย (Diarrhea)
บทนำ
ยาอีนีมา (Enema) เป็นยาในกลุ่มยาแก้ท้องผูกหรือยาระบาย โดยเป็นยาสวนทวารชนิดสารละลายน้ำเกลือ จัดเป็นยาระบายที่มนุษย์รู้จักมานาน
ยาอีนีมามีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
ยาอีนีมามีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้:
- เป็นยาระบายแก้ท้องผูก/ ยาแก้ท้องผูก ออกฤทธิ์เร็ว
ยาอีนีมาออกฤทธิ์อย่างไร?
ยาอีนีมาออกฤทธิ์โดยการเพิ่มปริมาณของน้ำในลำไส้ใหญ่ส่วนปลายหรือทวารหนัก ทำให้ลำไส้ใหญ่ส่วนปลายขยายตัวออก เกิดแรงดันภายในลำไส้ส่วนนั้น เกิดอาการมวนท้องจากลำไส้บีบตัว และขับอุจจาระออกมาในที่สุด
ยาอีนีมามีรูปแบบจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยาอีนีมามีรูปแบบจัดจำหน่าย:
- รูปแบบของลูกสวนทวารชนิดความเข้มข้นของน้ำเกลือ 15% ขนาดบรรจุ 10, 20, และ 100 มิลลิลิตร (มล.)
ยาอีนีมามีขนาดการใช้อย่างไร?
ควรให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาสั่งจ่ายยาอีนีมา หรืออย่างน้อยควรปรึกษาเภสัชกรก่อนซื้อยาใช้เอง เพราะการใช้ยานี้มีข้อควรระวังหลายอย่างดังจะกล่าวใน ‘หัวข้อ ข้อควรระวังในการใช้ยาอีนีมา’
- สำหรับผู้ใหญ่ ขนาดที่ใช้สวนทวารแก้ท้องผูกไม่ควรเกิน 40 มิลลิลิตร/ครั้ง
- ส่วนในเด็ก (นิยามคำว่าเด็ก)ควรต้องเป็นคำแนะนำจากแพทย์เสมอ
- *****หมายเหตุ: ขนาดยา และระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้ เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ผู้รักษาได้ การใช้ยาที่เหมาะสม ควรต้องปรึกษา แพทย์ หรือเภสัชกร ก่อนเสมอ
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมทั้งยาอีนีมา ผู้ป่วยควรแจ้ง แพทย์ พยาบาล และเภสัชกร เช่น
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิด และอาการจากการแพ้ยา เช่น ใช้ยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก/ หอบเหนื่อย
- มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยาอะไรอยู่ เพราะยาอีนีมาอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อนแล้ว
- หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์/มีครรภ์ หรือไม่ หรือกำลังให้นมบุตรหรือไม่ เพราะยาหลายตัวสามารถผ่านรก หรือผ่านเข้าสู่น้ำนม และเข้าสู่ทารกจนก่อผลข้างเคียงต่อทารกได้
ยาอีนีมามีผลไม่พึงประสงค์ไหม?
ยาอีนีมามีผล/ อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ผลข้างเคียง ) คือ ก่ออาการมวนท้องหลังสวนยา
ยาอีนีมามีปฏิกิริยากับยาตัวอื่นไหม?
ยังไม่พบปฏิกิริยาระหว่างยา อีนีมา กับยาอื่นๆ
มีข้อควรระวังไหมเมื่อใช้ยาอีนีมา?
ข้อควรระวังเมื่อใช้ยาอีนีมา เช่น
- ไม่ใช้กับผู้แพ้ยานี้
- ระวังการใช้ยากับผู้ที่อยู่ในภาวะสูญเสียเกลือแร่อยู่แล้ว เพราะจะเพิ่มการเสียเกลือแร่ออกมากับอุจจาระ
- ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีเลือดออกบริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย หรือผู้ที่เป็น ริดสีดวงทวาร เพราะเพิ่มโอกาสเลือดออกมากขึ้น
- ห้ามใช้สวนทวารกับผู้ที่พึ่งได้รับการผ่าตัดลำไส้ เพราะอาจก่ออาการท้องเสียเป็น สาเหตุให้แผลผ่าตัดไม่ติด
- ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
- ห้ามเก็บยาหมดอายุ
***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด(รวมถึงยาอีนีมาด้วย) ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกชนิดควรต้องปฏิบัติตาม ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด ) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
ควรเก็บรักษายาอีนีมาอย่างไร?
สามารถเก็บยาอีนีมา เช่น
- สามารถเก็บยาที่อุณหภูมิห้องได้
- ไม่ควรเก็บยานี้ในที่อากาศร้อน หรือมีแสงแดดส่องถึง
- เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
ยาอีนีมามีชื่ออื่นๆไหม? ผลิตโดยบริษัทอะไรบ้าง?
ยาอีนีมา มีชื่ออื่น และบริษัทผู้ผลิต เช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
PATAR ENEMA SOLN (พาตาร์อีนีมา) | Patar Lab |
ROYAL – C ENEMA SOLN (โรยัลอีนีมา) | A N H Products |
U – ENERMA SOLN (ยูอีนีมา) | Unison |
UNISON ENEMA SOLN (ยูนิซันอีนีมา) | Unison |
บรรณานุกรม
1. นพ. สมชาย ลีลากุศลวงศ์. (2551). แนวทางในการดูแลผู้ป่วยโรคท้องผูก ท้องเสีย และ IBS (ดีวีดี). กรุงเทพฯ: โรงแรมสยามซิตี้
2. http://www.mims.com/Captcha/DefaultCaptcha?returnUrl=http%3a%2f%2fwww.mims.com%2fThailand%2fdrug%2f[2020,Sept5]
3. http://en.wikipedia.org/wiki/Laxative [2020,Sept5]
4. https://www.drugs.com/[2020,Sept5]