เมนูอร่อย สไตล์สุขภาพ อาหารสุขภาพ (7 เมนู)
- โดย กาญจนา ฉิมเรือง
- 25 มกราคม 2563
- Tweet
สุขภาพดี เป็นที่ใฝ่ฝันของทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในสังคมยุคปัจจุบันคนส่วนใหญ่หันมาดูแลสุขภาพ ป้องกันโรคมากยิ่งขึ้น แทนการรักษาโรคด้วยยา การรับประทานอาหารตามความชอบเพียงอย่างเดียวนอกจากจะไม่ทำให้สุขภาพดีแล้ว ยังเสี่ยงที่จะเกิดโรคร้ายแรงต่าง ๆ ตามมาอีกด้วย และการละเลยการออกกำลังกายพักผ่อนไม่เพียงพอ บริโภคอาหารที่มีคุณภาพต่ำ ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคภัยต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคกระดูกพรุน โรคหัวใจ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง ฯลฯ ดังนั้นการมีสุขภาพที่แข็งแรง จะนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดี จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องเกี่ยวกับอาหารการกิน จะกินอย่างไรให้ได้สารอาหารที่มีประโยชน์มีคุณค่าต่อร่างกาย หลายๆคนมักคิดว่าอาหารเพื่อสุขภาพมีรสชาติที่ไม่น่ารับประทาน ทำให้ไม่มีความสุขในการรับประทาน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วหากเรารู้จักใช้ธงโภชนาการหรือพีระมิดแนะแนวอาหารเป็นแนวทางในการรับประทาน สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้มีความสุขกับการบริโภค และทำให้มีสุขภาพที่ดีอีกด้วย เพราะธงโภชนาการจะเน้นให้บริโภคอาหารที่หลากหลายครบทุกหมวดหมู่ ธงโภชนาการจะมีสัญลักษณ์รูปสามเหลี่ยมกลับหัวแบบธงแขวนแสดงสัดส่วนอาหารในแต่ละกลุ่มได้ชัดเจน ฐานใหญ่ด้านบนเน้นให้กินมากและปลายธงข้างล่างเน้นให้กินน้อย ธงโภชนาการจะบอกชนิดและปริมาณของอาหารที่ควรกินในแต่ละวันเพื่อให้ได้สารอาหารต่าง ๆตามข้อกำหนดปริมาณสารอาหารที่ควรได้รับใน 1 วัน สำหรับเด็กตั้งแต่อายุ 6 ปีขึ้นไปถึงผู้ใหญ่และผู้สูงอายุกำหนดปริมาณอาหารแต่ละกลุ่มเป็นค่าตัวเลขที่บอกเป็นช่วง ทั้งนี้เพราะแต่ละคนมีความต้องการที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ เพศ อายุ และการใช้กำลังงานของแต่ละคน
ตารางปริมาณอาหารที่เหมาะสมในระดับพลังงานต่าง ๆ
( ) แนะนำสำหรับผู้ใหญ่
1,600 กิโลแคลอรี่ สำหรับเด็กอายุ 6-13 ปี หญิงวัยทำงานอายุ 25-60 ปี ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป |
2,000 กิโลแคลอรี่ สำหรับวัยรุ่นหญิง- ชายอายุ 14-25 ปี ชายวัยทำงาน 25-60 ปี |
2,400 กิโลแคลอรี่ สำหรับหญิง-ชาย ที่ใช้พลังงานมาก ๆ เช่น เกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน นักกีฬา |
เทคนิคในการปฏิบัติตัวเพื่อให้มีสุขภาพดีขณะเดียวกันก็มีความสุขกับการกินได้
1. รู้จักผ่อนสั้น ผ่อนยาว ไม่จำเป็นต้องกินอาหารในปริมาณเท่า ๆ กันทุกมื้อ ทุกวันเพราะในความเป็นจริงแล้ว เราอาจกินบางมื้อมาก บางมื้อน้อยก็ได้เพียงแต่มื้อไหนกินมากก็พยายามใช้แรงงานของตัวเองให้มากขึ้น เช่น เดินเพิ่มขึ้นวันละ 30 นาทีหรือถ้ารู้ตัวว่ากินอาหารไขมันสูงในมื้อเย็น ในมื้อเช้าและมื้อเที่ยงก็ให้เลือกอาหารที่มีไขมันต่ำและกินให้น้อยลง
2. กินอย่างฉลาด คืออยากกินอะไรก็กินคือต้องรู้จักปริมาณการกิน คือถ้ากินอาหารที่มีปริมาณไขมัน เกลือ น้ำตาลสูง ก็ควรจะกินในปริมาณที่ลดลง และเลือกกินอาหารที่มีใยอาหีสูงร่วมด้วย
3. เปลี่ยนบริโภคนิสัยอย่างค่อยเป็นค่อยไป คือเปลี่ยนนิสัยการบริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพให้เป็นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์กับร่างกายให้มากขึ้น ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนบริโภคนิสัยไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำไม่ได้ พยายามวันละนิด ค่อยเป็นค่อยไป ข้อสำคัญคือต้องทำอย่างสม่ำเสมอก็จะประสบผลสำเร็จได้
4. กินอย่างมีสติ เราสามารถชิมอาหารแปลก ใหม่ๆ ได้เสมอ แต่อย่าลืมพิจารณาชนิดของอาหารนั้น ๆ และปริมาณที่ควรกินตามธงโภชนาการหรือพีระมิดอาหาร
5. พยายามทำตัวให้ว่องไวกระฉับกระเฉงอยู่เสมอ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มการใช้พลังงานในชีวิตประจำวัน มีเมนูอาหารรักสุขภาพแบบง่ายๆ สไตล์คนรักสุขภาพ ให้ทดลองทำ ชิมกัน ในตอนต่อ ๆ ไปกันนะค่ะ จำนวน 7 เมนู ด้วยกัน