อาหารสำหรับคนท้องผูก (Foods for constipation)
- โดย พีระพรรณ โพธิ์ทอง
- 31 ตุลาคม 2562
- Tweet
- ท้องผูก (Constipation)
- ยาแก้ท้องผูก (Anticonstipation)
- การออกกำลังกาย: แนวทางการออกกำลังกายเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี (Exercise concepts for healthy lifestyle)
- อาหารหลักห้าหมู่ (Five food groups): หมู่ 3 ผัก (Vegetables)
- อาหารหลักห้าหมู่: หมู่ที่ 4 ผลไม้ (Five food groups: Fruits)
- น้ำดื่ม (Drinking water)
- ภาวะขาดน้ำ (Dehydration)
- น้ำ (Human body water)
กากอาหารที่ตกค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่หลายวัน จะทำให้กากอาหารแข็ง เกิดความลำบาก ในการขับถ่าย ซึ่งเรียกว่า “ท้องผูก”
สาเหตุของอาการท้องผูก
1. กินอาหารที่มีกาก/ใยอาหารน้อย
2. การถ่ายอุจจาระไม่เป็นเวลาหรือกลั้นอุจจาระติดต่อกันหลายวัน
3. ดื่มน้ำชา กาแฟ มากเกินไป
4. เกิดความเครียด หรือความกังวลมาก
5. การมีสิ่งกีดขวางในทางเดินอาหาร เช่น เนื้องอกในลำไส้ และลำไส้ตีบตัน
6. ผู้ป่วยที่นอนอยู่กับเตียง ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหว หรือผู้ที่ทำกิจกรรมที่ต้องนั่งนานๆ ก็อาจทำให้ท้องผูกได้
7. ยาบางชนิดทำให้ลำไส้ทำงานน้อยลง เช่น ยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็ก ยาแก้ปวดกลุ่มมอร์ฟีน หรือ ยารักษาอาการทางจิตบางอย่าง ยาลดกรดที่มีเกลืออลูมิเนียม เป็นต้น
วิธีดูแลตนเองเมื่อมีอาการท้องผูก
1. กินอาหารที่มีกาก/ใยอาหารมากๆ เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช ซึ่งปริมาณใยอาหารที่ควรได้รับ
- ผู้ใหญ่ทั่วไปควรได้รับใยอาหาร วันละ 25-30 กรัม (ตารางที่ 1 และ 2)
- ถ้าเป็นเด็กควรได้รับใยอาหาร = อายุ + 5 กรัม/วัน
2. ดื่มน้ำมากๆอย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน (แก้วละ 250 ซี.ซี/cc./cubic centimeter) (ตารางที่ 3) ไม่ควรดื่มกาเฟอีน (เช่น ชา กาแฟ) และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้อุจจาระแห้ง หรือ ถ้าดื่มก็ต้องเพิ่มปริมาณน้ำที่ควรดื่มในแต่ละวันด้วย
3. การออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวร่างกาย จะช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น โดยการ ออกกำลังกายช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหาร ควรลุกขึ้นยืดเส้นยืดสายสัก 2-3 นาทีทุกครึ่งชั่วโมง แม้กระทั่งเวลาที่นั่งอยู่ที่โต๊ะทำงานหรือดูทีวี หรือถ้าทำได้ควรให้มีการออกกำลังกายเบาๆ เช่น การเดินบนพื้นราบ การเดินขึ้นลงบันได (ถ้าไม่มีอาการปวดเข่า) ทุกวัน วันละประมาณ 30 นาที
4. ฝึกขับถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาทุกวัน
ข้อสังเกต
- ผู้ที่ไม่ชอบกินผักและผลไม้ การเริ่มต้นกินในปริมาณที่มากกว่าปกติในระยะแรกๆ อาจมีปัญหาท้องอืด แน่นท้อง หรือปวดท้องได้ ปัญหานี้เกิดในระยะสั้นๆ การแก้ไขทำได้ด้วยการเพิ่มปริมาณผักและผลไม้ครั้งละน้อยๆ และดื่มน้ำมากขึ้น ให้เวลาแก่ร่างกายในการปรับตัว อาการต่างๆก็จะหายไป
- การที่ได้รับใยอาหารมากเกินไปอาจทำให้ท้องผูกได้ ถ้าดื่มน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการ ของร่างกาย
- ทางเลือก ควรกินอาหารที่มีใยอาหารสูงในชีวิตประจำวัน ผักและผลไม้บางชนิดไม่จำเป็น ต้องปอกเปลือกทั้งหมด เช่น บวบ มะรุม แตงกวา แอปเปิล ฝรั่ง จะทำให้ได้ปริมาณใยอาหารเพิ่มขึ้น
ตัวอย่าง: การกินอาหารให้ได้ใยอาหาร 25–35 กรัมต่อวัน (แต่วิธีที่ดี คือ เฉลี่ยให้แต่ละ 3 มื้อหลัก ได้ใยอาหารใกล้เคียงกัน)
บรรณานุกรม
- โภชนบัญญัติ 9 ประการ : ธงโภชนาการ, รุจิรา สัมมะสุต,วารสารชมรมนักกำหนดอาหารปีที่ 20-25 ฉบับรวมเล่ม มกราคม – ธันวาคม 2543-2549.
- ปริมาณใยอาหาร น้ำตาล และแร่ธาตุในผลไม้. นันทยา จงใจเทศและคณะ, รายงานการศึกษาวิจัย กองโภชนาการ ปี 2552.
- ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ 2546: กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
- What foods to eat for constipation. สุนาฏ เตชางาม, Ph.D,CDT. สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล, สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย, 2555.
- https://www.niddk.nih.gov/health-information/digestive-diseases/constipation/eating-diet-nutrition [2019,Oct12]