อาหารที่ทำให้มีแก๊สมาก (Foods that cause excessive gas)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 15 สิงหาคม 2555
- Tweet
- อาหารไม่ย่อย ธาตุพิการ (Indigestion)
- มีแก๊สในท้อง แน่นอึดอัด ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอ ผายลม (Gas,Bloating,Belching,and Flatulence)
- กรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux disease)
- กระเพาะอาหารอักเสบ (Gastritis)
- ยาขับลม ยาลดแก๊ส (Carminative)
- ยาลดกรดชนิดน้ำแขวนตะกอน (Antacid Suspension) ยาอลัมมิล (Alum milk)
- โรคทางเดินอาหาร โรคระบบทางเดินอาหาร (Digestive disease)
การมีแก๊ส (Gas) ในกระเพาะอาหารและลำไส้เป็นเรื่องปกติที่ทุกคนต้องมีตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้สูงอายุ แต่การมีแก๊สมากเกินปกติมักก่อให้เกิดอาการท้องอืด แน่นท้อง ท้องเฟ้อ เรอ ผายลม ซึ่งสาเหตุสำคัญของการเกิดมีแก๊สมากผิดปกติเกิดจาก
- การบริโภคอาหารแต่ละมื้อในปริมาณมากเกินไปจนน้ำย่อยไม่สามารถย่อยได้หมด
- และจากประเภทของอาหาร ซึ่งประเภทของอาหารนี้อาจแตกต่างกันได้ในแต่ละคน ต้องใช้การสังเกตความสัมพันธ์ระหว่างประเภทอาหารกับอาการด้วยตนเอง
อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปอาหารที่มักทำให้มีแก๊สในกระเพาะอาหารและลำไส้มากผิดปกติ คือ อาหารประเภทที่ร่างกายไม่สามารถย่อยดูดซึมได้หมดในลำไส้เล็ก อาหารจึงผ่านเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ซึ่งมีแบคทีเรียหลายชนิดที่จะย่อยอาหารที่เหลือเหล่านี้ด้วยกลไกของการหมักจึงส่งผลให้เกิดเป็นแก๊สขึ้น
ไขมันและโปรตีนสร้างแก๊สได้น้อย แต่จะค้างอยู่ในกระเพาะอาหารได้นาน จึงก่ออาการแน่น อึดอัดท้อง หรืออาหารไม่ย่อย (ธาตุพิการ) ได้
ประเภทอาหารที่ก่อให้เกิดมีแก๊สในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้มากคือ อาหารคาร์โบ ไฮเดรต (แป้งและน้ำตาล) และใยอาหาร
- น้ำตาล ชนิดที่ก่อแก๊สได้มากเช่น
- น้ำตาล ราฟฟิโนส (Raffinose) ซึ่งพบมากในถั่วชนิดต่างๆรวมทั้งถั่วกินฝัก ผักกะหล่ำ บรอคโคลิ หน่อไม้ฝรั่ง และธัญพืชเต็มเมล็ด
- น้ำตาลแลคโตส (Lactose) ซึ่งเป็นน้ำตาลในนม ดังนั้นในบางคนเมื่อดื่มนมจึงเกิดอาการท้องอืดแน่น เนื่องจากขาดหรือมีน้ำย่อยน้ำตาลชนิดนี้น้อย (ภาวะขาดหรือพร่องเอน ไซม์แลคเตส) ซึ่งมักพบในคนชาติเอเชีย
- น้ำตาลฟลุคโตส (Fluctose) ซึ่งมีมากในผลไม้ หัวหอม ลูกแพร์ และข้าวสาลี นอกจากนั้นเรายังใช้เป็นส่วนผสมในน้ำผลไม้กระป๋อง/กล่องหรือในเครื่องดื่มต่างๆ
- น้ำตาลซอร์บิโทล (Sorbitol) ซึ่งใช้เป็นสารให้ความหวานในอาหารและขนมต่างๆเช่น หมากฝรั่ง ลูกอม และผลไม้ ที่พบปริมาณมากคือ แอปเปิล ลูกพีช ลูกแพร์ และลูกพรุน
- แป้ง ชนิดก่อแก๊สได้มากเช่น แป้งจากมันฝรั่ง ข้าวโพด ข้าวสาลี ยกเว้นข้าวซึ่งให้แป้งที่ก่อแก๊สได้น้อยมาก
- ใยอาหาร อาหารที่มีใยอาหารคือ ผัก ผลไม้ และธัญพืชเต็มเมล็ด ซึ่งชนิดที่มีใยอาหาร สูงเช่น ถั่วต่างๆ ถั่วกินฝัก มันเทศ ธัญพืชเต็มเมล็ด ข้าวโอต หัวหอม กล้วย พรุน ผลเบอรรี (Berries) ผลนัท (Nut) ต่างๆโดยเฉพาะอัลมอนด์ แอบเปิล แพร์ อะโวคาโด และเปลือกผลไม้
บรรณานุกรม
- Gas in the digestive tract http://digestive.niddk.nih.gov/ddiseases/pubs/gas/ [2015,July18]
Updated 2015, July 25