อาการห้อยยานของอวัยวะในอุ้งเชิงกรานในผู้ชาย หรือ ภาวะไส้ตรงปลิ้น (Rectal prolapse)

  •  เกริ่นนำ
    • การแยกประเภท
    • การวินิจฉัย
  • ไส้ตรงปลิ้นภายนอกโดยสมบูรณ์
    • สัญญาณและอาการ
    • สาเหตุ
    • การรักษา
  • ภาวะกลืนกันของลำไส้ตรงภายใน
    • กลุ่มอาการ
    • สาเหตุ
    • ภาวะโรคร่วมและโรคแทรกซ้อน
    • การวินิจฉัย
    • การรักษา
  • ภาวะเยื่อเมือกหย่อนหรือปลิ้น
    • อาการ
    • สาเหตุ
    • การวินิจฉัย
    • การรักษา
  • กลุ่มอาการแผลเดี่ยวในลำไส้ตรง
    • อาการ
    • ความชุกของโรค
    • สาเหตุ
    • โรคแทรกซ้อน
    • การวินิจฉัยและการสืบสวน
    • การรักษา
  • ระบาดวิทยา
  • ศัพท์เฉพาะทาง

เกริ่นนำ     

            ภาวะไส้ตรงปลิ้นเกิดขึ้นเมื่อผนังของลำไส้ตรงหรือเรียกอีกชื่อว่าลำไส้ใหญ่สุดท้าย หย่อนออกมาจนยื่นออกมานอกทวารหนักจนสามารถมองเห็นได้  อย่างไรก็ตาม นักวิจัยส่วนใหญ่เห็นด้วยว่ามี สามถึงห้าชนิดของภาวะไส้ตรงปลิ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับส่วนที่หย่อนสามารถมองเห็นได้จากภายนอกหรือไม่ และขึ้นอยู่กับความหนาของผนังทวารหนักทั้งหมดหรือบางส่วนเท่านั้นที่เกี่ยวข้อง

            ภาวะไส้ตรงปลิ้นสามารถเกิดขึ้นโดยไม่มีอาการอะไรเลย แต่ขึ้นอยู่กับลักษณะของอาการหย่อนของอวัยวะ อาจมีเมือกออกทางทวารหนัก เลือดออกทางทวารหนัก ระดับอาการอุจจาระเล็ดราดโดยไม่ได้ตั้งใจ (Degree of fecal incontinence) และอาการถ่ายอุจจาระลำบาก (Obstructed defecation symptoms)

            ภาวะไส้ตรงปลิ้นมักเกิดขึ้นกับผู้สูงวัยเพศหญิง แม้ว่าจะเกิดได้ทุกเพศทุกวัย ภาวะนี้ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่อาการอาจทำให้ร่างกายอ่อนแอลงได้ หากปล่อย ทิ้งไว้ โดยไม่ได้รับการรักษา อาการหย่อนจนออกมานอกร่างกาย ส่วนใหญ่สามารถรักษาได้ดีโดยการผ่าตัด ส่วนอาการหย่อนที่ไม่ออกมาข้างนอกมักรักษาได้ยาก และการ ผ่าตัดอาจไม่เหมาะกับทุกคน

การแยกประเภท

             ภาวะไส้ตรงปลิ้นประเภทต่างๆอาจเข้าใจยาก เนื่องจากมีการใช้คำจำกัดความที่ต่างกัน และบางชนิดก็จำแนกประเภทย่อยๆเป็นบางประเภทได้ โดยพื้นฐานแล้วภาวะไส้ตรงปลิ้นสามารถแบ่งเป็น

●       แบบหนาเต็ม (แบบสมบูรณ์) บริเวณ-ชั้นผนังทวารหนักทั้งหมดหย่อน หรือชั้นเยื่อเมือกหย่อนอย่างเดียว- (บางส่วน)

●       แบบภายนอก หากยื่นออกมาจากทวารหนักและมองเห็นได้จากภายนอก

●       แบบภายใน หากไม่ยื่นออกจากทวารหนัก

●       แบบรอบวง บริเวณเส้นรอบวงทั้งหมดของผนังทวารหนักที่หย่อน

●       แบบปล้องๆ ตอนๆ หากเป็นแค่บางส่วนของเส้นรอบวงของผนังทวารหนักที่หย่อน

●       มีอาการในตอนพัก หรือเกิดขึ้นระหว่างเกร็งหรือเบ่ง

ไส้ตรงปลิ้นออกมาภายนอก แบบสมบูรณ์ (External [complete] rectal prolapse) (ไส้ตรงยื่นออกมาข้างนอก, ไส้ตรงปลิ้นออกมาข้างนอกแบบหนาเต็ม) เป็นแบบยื่นออกมาทั้งหมด, แบบรอบวง, ลำไส้ส่วนต้นมุดเข้าสู่โพรงของลำไส้ส่วนที่อยู่ถัดไปทางด้านปลายหรือเรียกว่า ภาวะลำไส้กลืนกัน(true intussusception) ของผนังทวารหนักซึ่งยื่นออกมาจากทวารหนักและมองเห็นได้จากภายนอก

ภาวะกลืนกันของลำไส้ตรงภายใน (Internal rectal intussusception) (ไส้ตรงยื่นยื่นแฝง และหย่อนภายใน) เป็นการพับรูปกรวยของผนังทวารหนักส่วนบน (หรือ sigmoid ส่วนล่าง) ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการถ่ายอุจจาระ  การพับแบบนี้ลักษณะคล้ายการพับถุงเท้ากลับด้านในออก ซึ่งทำให้เกิด “ท่อภายในท่อ”  อีกนิยามคือ “บริเวณที่ไส้ตรงยุบแต่ไม่ออกจากรูทวารหนัก” จากแหล่งที่มาหลายแหล่งแยกระหว่างภาวะไส้กลืนกันของลำไส้ตรงภายใน กับเยื่อเมือกหย่อน ซึ่งหมายความว่า ภาวะลำไส้กลืนกันภายในทวารหนักเป็นภาวะหย่อนแบบหนาเต็มของผนังทวารหนัก

            อย่างไรก็ตาม the American Society of Colon and Rectal Surgeons ประกาศว่า ภาวะลำไส้กลืนกันภายในทวารหนักเกี่ยวข้องกับชั้นเยื่อเมือกและชั้นใต้เยื่อเมือกที่แยกออกจากชั้นกล้ามเนื้อเยื่อเมือกที่อยู่ด้านล่าง ส่งผลให้ส่วนที่แยก ออกจากกันของเยื้อบุทวารหนักเลื่อนลงมา สิ่งนี้บ่งชี้ให้ว่า ผู้เขียนใช้คำว่า ไส้ตรงด้านในปลิ้น (Internal rectal prolapse)  และ เยื่อเมือกภายในหย่อน (Internal mucosal prolapse) อธิบายอาการเดียวกัน

เยื่อเมือกหย่อน (Mucosal prolapse) (อาการหย่อนของเยื่อเมือกบางส่วนทางทวารหนัก) เป็นการหย่อนของการคลายตัวของสิ่งที่แนบมากับเยื่อบุใต้เยื่อเมือกไปยังชั้นกล้ามเนื้อ (Muscularis propria) ของชั้นผิวลำไส้ตรงส่วนปลายของผนังลำไส้ตรง แหล่งที่มาส่วนใหญ่ให้คำจำกัดความของเยื่อเมือกหย่อนว่าเป็นอาการหย่อนภายในแบบปล้อง ซึ่งสับสนได้   ง่ายกับโรคริดสีดวงทวารที่มีก้อนยื่นออกมา ระดับที่ 3 หรือ 4 อย่างไรก็ตามบางคนจัดการหย่อนของชั้นเยื่อเมือกด้านใน และการหย่อนแบบปล้องเป็นใส้ตรงปลิ้น แต่บางท่านไม่จัดว่าเป็นภาวะใส้ตรงปลิ้นจริง

เยื่อเมือกภายในหย่อน (Internal mucosal prolapse) (เยื่อเมือกภายในทวารหนักหย่อน คือ การหย่อนของชั้นเยื่อเมือกของผนังทวารหนักซึ่งไม่ยื่นออกมาภายนอก มีข้อโต้แย้งบางประการเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับโรคริดสีดวงทวาร ว่าควรแยกจากกันหรือไม่ นอกจากนี้ยังมีการใช้คำว่า “เมือกริดสีดวงทวารหย่อน” (Mucosal hemorrhoidal prolapse)

แผลเดี่ยวในลำไส้ตรง (Solitary rectal ulcer syndrome (SRUS or SRU) เกิดขึ้นร่วมกับภาวะไส้กลืนกันของลำไส้ตรงภายในและเป็นส่วนหนึ่งของขอบเขตของอาการที่กว้างของภาวะไส้ตรงปลิ้น เป็นการอธิบายการเป็นแผลของเยื่อบุทวารหนักที่เกิดจากความเสียหายจากการเสียดสีซ้ำแล้วซ้ำอีกดังที่ภาวะลำไส้กลืนภายในถูกเค้นให้เข้าไปในรูทวารหนัก (Anal canal) ระหว่างเบ่ง SRUS ถือได้ว่าเป็นผลมากจากภาวะลำไส้กลืนภายในซึ่งเห็นได้จากกว่า 94% ของเคสที่เกิด SRUS

อาการเยื่อเมือกหย่อน (Mucosal prolapse symdrome: MPS) เป็นอาการที่พบได้ยาก รวมถึง SRUS ส่วนไส้ตรงปลิ้น Proctitis cystica profunda) คือ การเคลื่อนตัวของเยื่อเมือกทวารหนักลึกเข้าไปผ่านเยื่อเมือกของกล้ามเนื้อและเข้าสู่ใต้เยื่อเมือกหรือส่วนลึกของผนังลำไส้ และติ่งเนื้อที่เกิดจากการอักเสบ (Inflammatory polyps) จัดได้ว่าเป็นโรคอักเสบเรื้อรังที่ไม่ร้ายแรง

            ไส้ตรงปลิ้นและภาวะไส้กลืนกันของลำไส้ตรงภายในได้รับการจำแนกตามขนาดของส่วนที่หย่อนออกมาของไส้ตรง หน้าที่ของการเคลื่อนไหวของลำไส้ตรงจากกระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บและรอยย่นของลำไส้ตรง การจำแนกนี้ยังคำนึงถึงการคลายตัวของกล้ามเนื้อหูรูด

●       เกรด 1:ภาวะการบีบตัวของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักไม่ประสานกับการเบ่ง (Anismus)

●       เกรด 2: ภาวะลำไส้กลืนไม่รุนเเรง

●       เกรด 3: ภาวะลำไส้กลืนระดับปานกลาง

●       เกรด 4: ภาวะลำไส้กลืนกันอย่างรุนแรง

●       เกรด 5: ภาวะไส้ตรงปลิ้น

            เยื่อเมือกหย่อนในทวารหนักจำแนกตามระดับการลงมาของบางส่วนของลำไส้ส่วนต้น (intussusceptum) ทีหย่อนลงมา ซึ่งยังสามารถทำนายความรุนแรงของอาการได้

●       การหย่อนระดับที่หนึ่ง อาการหย่อนสามารถถูกพบได้ใต้วงแหวนบริเวณทวารหนักเมื่อเบ่ง

●       ระดับที่สอง เมื่อการหย่อนถึงแนวเส้นประสาท(Dentate line)

●       ระดับที่สาม เมื่อาการหย่อนถึงปากทวารหนัก (Anal verge)

            การจำแนกที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุดของอวัยวะทางทวารหนักด้านในหย่อนเป็นไปตามความสูงของผนังทวารหนัก/ผนังลำไส้ส่วน Sigmoid ที่เป็นจุดเริ่มต้น และดูว่าบางส่วนของลำไส้ส่วนต้น (intussusceptum) ยังคงอยู่ในลำไส้ตรงหรือขยายเข้าไปในรูทวารหนักหรือไม่ ความสูงของภาวะลำไส้กลืนกันจากรูทวารหนักมักจะประมาณจากการถ่ายภาพรังสีการขับถ่ายอุจจาระ

ภาวะลำไส้กลืนกันทางลำไส้ตรง: Recto-rectal (high) intussusception (ลำไส้กลืนกันของลำไส้ตรงภายใน: intra-rectal intussusception) อยู่บริเวณลำไส้กลืนกันเริ่มในลำไส้ตรง (กล่าวคือ ลำไส้ส่วนต้น หรือ intussusceptum เกิดในลำไส้ตรงและไม่ขยายเข้าไปในรูทวารหนัก ลำไส้ส่วนปลาย (intussuscipiens) ร่วมถึงส่วนปลายช่องว่างภายในของลำไส้ตรงถึงลำไส้ส่วนต้นเท่านั้น) เหล่านี้คือภาวะลำไส้กลืนกันทั่วไปซึ่งเกิดในลำไส้ตรงส่วนบนหรือลำไส้ส่วน Sigmoid ล่าง

ภาวะลำไส้กลืนกันทางทวารหนัก: Recto-anal (low) intussusception (ภาวะลำไส้กลืนกันของทวารหนักภายใน:intra-anal intussusception ) คือบริเวณที่ภาวะลำไส้กลืนกันเริ่มในลำไส้ตรงและยื่นเข้าไปในรูทวารหนัก (กล่าวคือ ลำไส้ส่วนต้นเกิดขึ้นในลำไส้ตรง และลำไส้ส่วนปลายยังรวมถึงส่วนของรูทวารหนัก)

           การจำแนกการทำงานตามกายวิภาคของภาวะไส้กลืนกันของลำไส้ตรงภายใน ถูกอธิบายด้วยปัจจัยอื่นๆนอกเหนือจากความสูงของภาวะลำไส้กลืนกันเหนือรูทวารหนักปรากฎว่าเป็นสิ่งสำคัญในการทำนายอาการ ลักษณะของการจำแนกนี้ ได้แก่ การเลื่อนลงทางกายวิภาค เส้นผ่าศูนย์กลางของลำไส้เล็กที่กลืนกัน การรับความรู้สึกช้าต่อสิ่งเร้าของลำไส้ตรงที่เกี่ยวข้อง และการเคลื่อนผ่านช้าของอุจจาระภายในลำไส้ใหญ่

●      ประเภท 1:  ลำไส้กลืนทางลำไส้ตรงภายใน (Internal recto-rectal intussusception)

o   ประเภท 1W ช่องว่างกว้าง

o   ประเภท 1N ช่องว่างแคบ

●      ประเภท 2: ลำไส้กลืนทางทวารหนักภายใน(Internal recto-anal intussusception)

o   ประเภท 2W ช่องว่างกว้าง

o   ประเภท 2N ช่องว่างแคบ

o   ประเภท 2M ช่องว่างด้านในเเคบที่เกี่ยวข้องกับการรับความรู้สึกช้าต่อสิ่งเร้าของลำไส้ตรง หรือลำไส้ตรงขยายใหญ่โป่งพอง (Megarectum) ขั้นเริ่ม

●      ประเภท 3: ลำไส้กลืนทางทวารหนักภายในและภายนอก (Internal-external recto-anal intussusception)

การวินิจฉัย

  • ประวัติผู้ป่วย

             ผู้ป่วยอาจมีภาวะอาการทางนรีเวชร่วมด้วยซึ่งอาจจำเป็นต้องดูแลด้วยแพทย์สหสาขา ประวัติของอาการท้องผูกนั้นสำคัญ เพราะว่าการผ่าตัดอาจทำให้อาการแย่กว่าเดิม  ส่วนอาการอุจจาระเล็ดราดโดยไม่ได้ตั้งใจมีส่วนในการเลือกวิธีการรักษาว

  • การตรวจร่างกาย

            ภาวะไส้ตรงปลิ้น (Rectal prolapse) อาจทำให้สับสนได้ง่ายกับริดสีดวงทวารแบบมีก้อนยื่นออกมา (Prolapsed hemorrhoids) นอกจากนี้ยังมี อาการเยื่อเมือกหย่อนหรือปลิ้น (Mucosal prolapse) ที่แตกต่างจากริดสีดวงทวารแบบมีก้อนยื่นออกมา (ระดับที่ 3 และ 4) บริเวณที่หย่อนแบบปล้องของเนื้อเยื่อริดสีดวงตำแหน่งที่ 3,7,11 นาฬิกา อาการเยื่อเมือกหย่อนสามารถแยก-จากอาการไส้ตรงปลิ้นออกมาภายนอกแบบเต็มหนา (ไส้ตรงปลิ้นแบบสมบูรณ์) ได้จากการวางแนวของรอยพับ (ร่องหรือรอยย่น) ในส่วนที่ยื่นออกมาแบบหนาเต็ม รอบพับจะมีเส้นรอบวง ในเยื่อเมือกหย่อนรอยพับจะมีลักษณะเป็นแนวรัศมี รอยพับของเยื่อเมือกหย่อนมักจะเกี่ยวข้องกับริดสีดวงทวารหนักภายใน (Internal hemorrhoids) ยิ่งไปกว่านั้น ในอาการไส้ตรงปลิ้นมีร่องระหว่างส่วนของลำไส้ที่หย่อนกับปากทวารหนัก ในขณะที่โรคริดสีดวงทวารไม่มีร่อง อาการริดสีดวงทวารที่หย่อนยื่นออกมาติดคาและขาดเลือด (Incarcerated hemorrhoids) จะทำให้เจ็บปวดอย่างมาก ในขณะที่ตราบใดที่อาการไส้ตรงปลิ้นไม่ถูกบีบรัด อาการเจ็บปวดมีเพียงเล็กน้อย และง่ายในดันก้อนเข้าเข้าไปคืน     

            อาการหย่อนอาจเห็นได้ชัด หรือต้องเบ่งและนั่งยอง ทวารหนักมักถ่างกว้างและลดแรงดันขณะพักและบีบตัว บางครั้งจำเป็นต้องเฝ้าสังเกตผู้ป่วยขณะเบ่งในห้องน้ำ เพื่อดูอาการหย่อนที่เกิดขึ้น (สามารถเห็นฝีเย็บได้จากกระจกหรือผ่านกล้องเล็กๆที่วางในโถชักโครก) อาจจำเป็นต้องใช้ยาสวนทวาารฟอสเฟตเพื่อกระตุ้นให้เกิดการบีบรัด ผิวหนังรอบทวารหนักอาจเกิดการเปื่อย (ผิวหนังนุ่มขึ้น ขาวขึ้น และเปียกอยู่ตลอดเวลา) และมีการขับถ่ายออก

  • การตรวจทวารหนักและลำไส้ตรงด้วยอุปกรณ์ Proctoscope/ การส่องกล้องเพื่อดูลักษณะของลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ( Sigmoidoscopy )/ การส่องกล้องเพื่อดูลักษณะของลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy ) 

            การตรวจทวารหนักและลำไส้สามารถเผยให้เห็นความหนาเเน่นและอาการบวมน้ำ (บวม) ของเยื่อเมือกลำไส้ตรงส่วนปลาย และใน 10-15% สามารถมีแผลเดี่ยวบนผนังลำไส้ตรงด้านหน้า (anterior rectal wall) การอักเสบหรือแผลเปื่อยเฉพาะที่สามารถตรวจชิ้นเนื้อได้และอาจนำไปสู่การวินิจฉัยโรค SRUS หรือโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังได้ กลุ่มหรือเนื้องอกที่เจริญขึ้นมาใหม่อาจก่อตัวที่ขอบนำของลำไส้ส่วนต้น นอกจากนี้ผู้ป่วยมักเป็นผู้สูงอายุ และนี้จึงมีการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่เพิ่มขึ้น การส่องกล้องของลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy ) เต็มส่วนในผู้ใหญ่ก่อนผ่าตัดใดๆ การตรวจสอบเหล่านี้สามารถใช้กับสารทึบรังสี (เทคนิคการสวนแป้ง) ซึ่งอาจแสดงให้เห็นของความผิดปกติของเยื่อเมือกที่เกี่ยวข้อง

  • การถ่ายภาพเคลื่อนไหวรังสีการขับถ่ายอุจจาระ (Video defecography)

             การตรวจแบบนี้ใช้เพื่อวินิจฉัยภาวะลำไส้กลืนกันภายใน หรือแสดงให้เห็นการหย่อนของอวัยวะภายนอกที่น่าสงสัยซึ่งไม่สามารถเห็นได้ชัดขณะการตรวจปกติ ถ้าเกิดภาวะไส้ตรงปลิ้นออกมาภายนอกและเห็นได้ ไม่จำเป็นต้องตรวจโดยใช้วิธีนี้ การถ่ายภาพรังสีการขับถ่ายอุจจาระ (Defecography) สามารถแสดงให้เห็นสภาวะอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น กระเพาะปัสสาวะหย่อน ช่องคลอดบนสุดหย่อน หรือไส้เลื่อน

  • ·การศึกษาการเคลื่อนผ่านของอุจจาระภายในลำไส้ใหญ่ (Colonic transit studies)

             การศึกษาการเคลื่อนผ่านของอุจจาระภายในลำไส้ใหญ่สามารถใช้เพื่อแยกการเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่น้อยกว่าปกติหรือมีการเคลื่อนไหวไม่ประสานกัน ทำให้อุจจาระเคลื่อนไหวภายในลำไส้ใหญ่ช้ากว่าปกติ หรือลำไส้ขี้เกียจ (Colonic inertia)หากมีประวัติท้องผูกรุนแรง ผู้ป่วยอาการหย่อนที่มีภาวะท้องผูกจากลำไส้เคลื่อนตัวช้าหรือลำไส้ขี้เกียจ (Slow Transit Constipation) และผู้ที่เหมาะกับการผ่าตัดอาจจะได้รับประโยชน์จากการผ่าตัดลำไส้ใหญ่ออกเกือบหมดด้วยการเย็บตรึงไส้ตรง

  • ·การตรวจวัดการทำงานของทวารหนักและหูรูดทวารหนัก (Anorectal manometry) 

            การตรวจชนิดนี้บันทึกสถานะการทำงานของกล้ามเนื้อหูรูดอย่างเป็นกลาง อย่างไรก็ตามความสำคัญด้านการรักษาของการค้นพบนี้ยังมีข้อโต้เเย้งอยู่บ้าง มันสามารถถูกใช้เพื่อประเมินภาวะกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อน (การบีบตัวของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักไม่ประสานกับการเบ่ง เป็นข้อห้ามสำหรับการผ่าตัดบางอย่าง เช่น การผ่าตัดแบบ Stapled transanal resection of the rectum : STARR และผู้ป่วยเหล่านี้อาจได้รับประโยชน์จากการฝึกควบคุมร่างกายแบบ Biofeedback หลังจากเข้ารับการผ่าตัด การหดตัวมักคงอยู่ในผู้ป่วยที่มีอาการเยื่อเมือกหย่อน ในผู้ป่วยที่การผ่อนของสภาวะตึงตัวลดลง การผ่าตัดแบบ Levatorplasty (ผ่าตัดโดยเย็บกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเข้าด้วยกัน) อาจจะนำมาใช้ร่วมกับการซ่อมแซมอาการหย่อนเพื่อเยียวยาอาการปัสสาวะเล็ดต่อไปได้

  • การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อทวารหนัก (Anal electromyography)/ การทดสอบเส้นประสาท Pudendal หรือ Pudendal Nerve testing (ทดสอบเส้นประสาทรับความรู้สึกบริเวณก้น ขาหนีบ อวัยะเพศ)

            การตรวจนี้อาจสามารถใช้ประเมินภาวะกลั้นรูทวารไม่ได้ แต่อาจมีผลขัดเเย้งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของผลลัพธ์ที่ะแสดงออกมา เและไม่ค่อยมีผลเปลี่ยนแปลงแผนการผ่าตัด อาจจะมีผลแสดงของเส้นประสาทที่กล้ามเนื้อลายบนภาพคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ ระยะเวลาการนำกระเเสประสาทเพิ่มขึ้น (เส้นประสาทเสียหาย) มันอาจจะสำคัญต่อการคาดการณ์ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้หลังผ่าตัด 

ไส้ตรงปลิ้นโดยสมบูรณ์

           ไส้ตรงปลิ้นชนิดนี้เป็นการตกลงมาของลำไส้ตรงจนสามารถมองเห็นจากภายนอก ลักษณะคล้าย’งวงช้าง สีแดง หย่อนผ่านกล้ามเนื้อหูรูดทางทวารหนัก อาการเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอายและ สังคมไม่น่าอยู่หากไม่รักษา แต่อาการเหล่านี้ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต

            ยังไม่ทราบถึงอุบัติการณ์ที่แท้จริงที่ก่อให้เกิดภาวะลำไส้ตรงปลิ้น เคยมีการคิดว่าภาวะนี้พบไม่บ่อย ภาวะนี้พบบ่อยในผู้สูงอายุ  และมีการรายงานต่ำกว่าความจริงภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัย แต่สูงสุดในช่วงอายุ 40-70 ปี ผู้หญิงอายุมากกว่า 50 ปี มีโอกาสเป็นภาวะนี้มากกว่าชายถึง 6 เท่า พบภาวะนี้น้อยมากในผู้ชายอายุมากกว่า 45 ปี และในผู้หญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี ส่วนใหญ่ผู้ชายที่พบภาวะนี้ มีเเนวโน้มที่มีอายุน้อย และประวัติอาการของลำไส้นั้นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถ่ายอุจจาระลำบาก หรือความผิดปกติอื่นๆที่จะมีส่วนเกี่ยวข้อง (เช่น ภาวะทวารหนักตีบตันแต่กำเนิด) หากเกิดในเด็กมักจะเกิดในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 ปี

            35% ของผู้หญิงที่มีภาวะไส้ตรงปลิ้นไม่เคยมีบุตรมาก่อน นี้  ทำให้  ดังนั้นการตั้งครรภ์และการคลอดบุตรไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ ความแตกต่างทางกายวิภาค เช่น ช่องอุ้งเชิงกรานที่กว้างขึ้นในผู้หญิง อาจอธิบาย การกระจายตัวของภาวะนี้ในเพศหญิงมากกว่า

            สภาวะอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในผู้ป่วยอายุน้อย เช่น ออทิสติก กลุ่มอาการพัฒนาการล่าช้า และภาวะทางจิตเวชที่เกี่ยวที่ต้องใช้ยาหลายชนิด

  • สัญญาณและอาการ ได้แก่

o   ประวัติของก้อนเนื้อที่ยื่นออกมา

o   ระดับอาการที่มีอุจจาระเล็ดราดโดยไม่ได้ตั้งใจ (50%-80% ของผู้ป่วย) ซึ่งอาจปรากฎเป็นมูกเหลว

o   อาการท้องผูก (20%-25%ของผู้ป่วย) รวมถึงการเบ่ง (ความรู้สึกของการถ่ายอุจจาระไม่สำเร็จ) และอาการที่ไม่สามารถขับอุจจาระออกทางทวารหนักได้หมด

o   ความรู้สึกปวดหน่วง

o   เลือดออกทางไส้ตรง

o   ท้องร่วง และมีนิสัยการขับถ่ายผิดปกติ

            ในระยะเเรก ก้อนเนื้ออาจยื่นออกมาทางทวารหนักระหว่างถ่ายอุจจาระและเบ่ง และจะกลับเข้าาไปเองได้ภายหลังถ่าย ระยะต่อมาอาจต้องดันก้อนเนื้อกลับหลังถ่ายอุจจาระ อาการนี้อาจลุกลามสู่การหย่อนที่เรื้อรังและรุนเเรงขึ้น ซึ่งหมายถึงการหย่อนที่เกิดขึ้นจะยากต่อการคงไว้ภายใน และเกิดขึ้นเมื่อเดิน ยืนเป็นเวลานาน เมื่อไอหรือจาม การเบ่งหรือเป็นการหายใจออกแรงๆพร้อมกับปิดปากปิดจมูก (Valsalva maneuvers) เนื้อเยื่อลำไส้ตรงที่ยื่นออกมาเรื้อรังอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพโรค เช่น ความหนาขึ้น เป็นแผล หรือมีเลือดออก

            หากอาการหย่อนติดค้างอยู่ด้านนอกกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก เลือดอาจคั่งจากการบีบรัดและเสี่ยงต่อการทะลุ ซึ่งอาจจำเป็นต้องผ่าตัดอย่างเร่งด่วนหากไม่สามารถดันก้อนกลับเข้าไปด้วยมือตัวเอง การทาน้ำตาลทรายลงบนเนื้อเยื่อลำไส้ตรงที่ปลิ้นออกมาสามารถลดอาการบวมน้ำ (อาการบวม) ได้

  • สาเหตุ 

            ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดและมีการถกเถียงกันมาก ในปี ค.ศ.1912 Moschcowitz เสนอว่าอาการไส้ตรงปลิ้นคือไส้เลื่อนเลื่อนผ่านข้อบกพร่องของอุ้งเชิงกราน

            ทฤษฎีนี้ได้มาจากการสังเกดว่าผู้ป่วยไส้ตรงปลิ้นมีกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่เคลื่อนที่ได้และไม่มั่นคง นอกจากนี้ยังสามารถมองเห็นถุงไส้เลื่อนของเยื่อบุช่องท้องจากพื้นที่เล็กๆระหว่างมดลูกและลำไส้ตรง (the Pouch of Douglas) และผนังลำไส้ตรงได้ โครงสร้างอื่นที่อยู่ติดกันบางครั้งก็ยังสามารถมองเห็นได้เช่นกัน แม้ว่าไส้เลื่อนที่พื้นที่เล็กๆระหว่างมดลูกและลำไส้ตรง  (the Pouch of Douglas) อาจยื่นออกมาจากทวารหนักได้ (ผ่านทางผนังลำไส้ตรงด้านหน้า) แต่ก็แตกต่างจากภาวะไส้ตรงปลิ้น

            หลังจากมีการประดิษฐ์การถ่ายภาพรังสีการขับถ่ายอุจจาระ (Defecography)ได้ไม่นาน ในปี ค.ศ.1968 Broden and Snellman ใช้การถ่ายภาพเคลื่อนไหวการขับถ่ายอุจจาระ (Cinedefecography) เพื่อให้เห็นว่าไส้ตรงปลิ้นเริ่มจากภาวะลำไส้กลืนกันแบบเส้นรอบวงของลำไส้ตรง ซึ่งค่อยๆเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ขอบหน้าสุดของของลำไส้ส่วนต้นไปอาจห่างจากปากทวารหนัก 6-8 เซนติเมตร หรือ 15-18 เซนติเมตร สิ่งเหล่านี้พิสูจน์ทฤษฎีก่อนหน้านี้ในศตวรรษที่ 18 โดย John Hunter และ Albrecht von Haller กล่าวว่าภาวะนี้โดยพื้นฐานแล้วคือภาวะลำไส้กลืนกันทางลำไส้ตรงแบบเต็มหนา เริ่มต้นเหนือแนวเส้นประสาท (Dentate line) 3 นิ้ว และยื่นออกมาด้านนอก

            เนื่องจากผู้ป่วยภาวะไส้ตรงปลิ้นส่วนใหญ่มักมีประวัติท้องผูกมายาวนาน ทำให้เกิดแนวคิดว่าการเค้นหรือเบ่งมากเกินไปและเกิดขึ้นบ่อยครั้งเป็นเวลานานเมื่อขับถ่ายอาจเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะไส้ตรงปลิ้น  นอกจากนี้ เนื่องจากภาวะไส้ตรงทำให้เกิดการขัดขวางการทำงานของลำไส้  เกิดอาการคล้ายการอุดตันและการเบ่งที่เพิ่มมากขึ้นอาจทำให้การหย่อนเล็กน้อยเพิ่มความเสียหายทางกายวิภาคมากขึ้น การเบ่งที่มากเกินไปอาจเกิดจากความผิดปกติของอุ้งเชิงกราน (เช่น ภาวะถ่ายอุจจาระลำบาก) และปัจจัยทางกายวิภาค

o   การเคลื่อนลงมาต่ำผิดปกติของเยื่อบุช่องท้อง ซึ่งปกคลุมผนังลำไส้ตรงด้านหน้า

o   การยึดติดของลำไส้ตรงด้านหลังไม่ดี ส่งผลให้สูญเสียการยึดติดด้านหลังของลำไส้ตรงถึงเส้นโค้งส่วนกระเบนเหน็บ

o   ระนาบแนวนอนของลำไส้ตรงที่ผิดปกติ ของลำไส้ตรงที่ยาวเกินไป (ไส้ตรงและไส้คดยาวผิดปกติ) และการทำให้ตำแหน่งของลำไส้ตรงและลำไส้ Sigmoid เคลื่อนต่ำลง

o   เยื่อแขวนลำไส้ตรงยาว

o   อุ้งเชิงกรานส่วนหลังมดลูก (cul-de-sac) ลึก

o   การแยกตัวของกล้ามเนื้อยก (levator diastasis)

o   หูรูดอ่อนแอและถ่างกว้าง

บางคนตั้งคำถามว่าความผิดปกติเหล่านี้เป็นสาเหตุ หรือเป็นผลจากอาการหย่อน ปัจจัยโน้มนำ/เงื่อนไขที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ได้แก่

o   การตั้งครรภ์ (แม้ว่า 35% ของผู้หญิงจะที่มีภาวะไส้ตรงปลิ้นจะไม่มีบุตร) (ไม่เคยคลอดบุตร)

o   การเคยผ่าตัดมาก่อน (30-50% ของผู้หญิงที่เคยได้รับการผ่าตัดทางนารีเวชมาก่อน)

o   โรคระบบประสาทเกี่ยวกับกระดูกเชิงกราน และโรคทางระบบประสาท

o   มีพยาธิในทางเดินอาหารสูง

o   โรคปอดอุดกั้นเรื้อรั้ง

o   โรคซิสติกไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis)

  • ความสัมพันธ์ของมดลูกหย่อน (Uterine prolapse) 10-25% และกระเพาะปัสสาวะหย่อน (Cystocele) 35% อาจบ่งชี้ได้ว่ามีความผิดปกติบางอย่างของอุ้งเชิงกราน ซึ่งส่งผลต่ออวัยวะอุ้งชิงกรานหลายส่วน โรคของระบบเส้นประสาทรับความรู้สึกบริเวณก้น ขาหนีบ อวัยะเพศและส่วนอื่นที่ใกล้เคียงสามารถพบได้ในผู้ป่วยภาวะไส้ตรงปลิ้นที่มีอาการอุจจาระเล็ดราดโดยไม่ได้ตั้งใจ (Fecal incontinence) สิ่งเหล่านี้ไม่พบในคนสุขภาพดีและดีงอาจเป็นสาเหตุของการฝ่อที่เกี่ยวข้องกับการเสื่อมของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักภายนอก บางข้อเสนอยังกล่าวอีกว่าความเสียหายของเส้นประสาทอุ้งเชิงกรานเป็นสาเหตุทำให้อุ้งเชิงกรานและหูรูดทวารหนักอ่อนแรงลง และอาจเป็นสาเหตุสำคัญของความผิดปกติของอุ้งเชิงกรานในหลายรูปแบบ
  • ·กลไกอาการถ่ายอุจจาระลำบาก สันนิษฐานได้ว่าเกิดจากการขัดขวางความสามารถในการหดของลำไส้ตรงและรูทวารหนัก รวมถึงการขัดขวางการขับสิ่งที่อยู่ในลำไส้ตรงออกจนหมด ลำไส้ส่วนต้นด้วยตัวมันเองอาจขัดขวางการทำงานของช่องว่างทางทวารหนัก, ก่อให้เกิดการอุดตันที่ทำให้เครียดเกร็ง ,การบีบตัวของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักไม่ประสานกับการเบ่ง (Anismus) และทำให้กล้ามเนื้อลำไส้ใหญ่เคลื่อนไหวผิดปกติรุนแรงขึ้น

            บางคนเชื่าว่าภาวะไส้กลืนกันของลำไส้ตรงภายในถูกเชื่อว่าเป็นรูปแบบเริ่มต้นของความผิดปกติรูปแบบอื่นๆต่อไป ซึ่งร้ายเเรงที่สุดคือภาวะไส้ตรงปลิ้นออกภายนอก ในระยะกลางจะค่อยๆเพิ่มขนาดของภาวะลำไส้กลืนกัน อย่างไรก็ตามภาวะลำไส้กลืนกันภายในน้อยมากที่จะลุกลามกลายเป็นภาวะไส้ตรงปลิ้นออกภายนอก ปัจจัยที่ส่งผลให้ภาวะไส้ตรงปลิ้นออกภายในพัฒนาเป็นแบบหนาเต็มนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด การศึกษาจากการถ่ายภาพรังสีการขับถ่ายอุจจาระเผยว่าระดับของภาวะไส้ตรงปลิ้นออกภายในมีอยู่ใน 40% ของผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการ ทำให้มีความเป็นไปได้ว่าที่จะเกิดภาวะลำไส้กลืนกันเป็นปกติในบางราย และอาจมีแนวโน้มพัฒนากลายเป็นอาการที่การแสดงออกมา หรือทำให้ปัญหาอื่นรุนเเรงขึ้นอีก

  • การรักษา 
    • การรักษาแบบอนุรักษ์ (Conservative Treatment)

            แม้ว่าการผ่าตัดถือว่าเป็นทางเลือกเดียวที่มีโอกาสรักษาภาวะไส้ตรงปลิ้นโดยสมบูรณ์ได้ แต่สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวอื่นที่ไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ และผู้ที่มีอาการเพียงเล็กน้อย การรักษาแบบอนุรักษ์นิยมก็มีโอกาสรักษาได้ การปรับเปลี่ยนอาหารการกิน รวมถึงการกินเส้นใยเยอะขึ้นจะเป็นประโยชน์ในการลดอาการท้องผูก และด้วยเหตุนี้จะช่วยลดอาการตึงเครียดได้ การใช้ยากลุ่มที่ช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ (bulk forming agents) เช่น psyllium หรือยาระบายชนิดทำให้อุจจาระนุ่ม (stool softeners) ยังช่วยลดอาการท้องผูกได้อีกด้วย

    • การผ่าตัดรักษา

             การผ่าตัดมักใช้เพื่อป้องกันความเสียหายเพิ่มขึ้นต่อกล้ามเนื้อหูรูดทางทวารหนัก วัตถประสงค์ของการผ่าตัดคือซ่อมเเซมกายภาพให้ปกติและบรรเทาอาการ ไม่มีความเห็นพ้องต้องกันทั่วโลกว่าขั้นตอนใดมีประสิทธิภาพมากกว่ากัน โดยมีการอธิบายการดำเนินการที่แตกต่างกันมากกว่า 50 รายการ

            การผ่าตัดในภาวะไส้ตรงปลิ้นสามารถทำได้ผ่านทั้งทางฝีเย็บ(อยู่ระหว่างทวารหนักและอัณฑะหรือช่องคลอด) และทางบริเวณช่องท้อง การผ่าตัดทางฝีเย็บคือการผ่าตัดเข้าถึงลำไส้ตรงและลำไส้ Sigmoid โดยการผ่าตัดบริเวณทวารหนักและฝีเย็บ ส่วนการผ่าตัดทางบริเวณช่องท้อง ศัลยแพทย์จะตัดเข้าไปในช่องท้องและเข้ารับการผ่าตัดเพื่อเข้าถึงช่องอุ้งเชิงกราน ขั้นตอนการผ่าตัดสำหรับภาวะไส้ตรงปลิ้นอาจจะต้องเกี่ยวข้องกับการเย็บตรึงลำไส้ (Rectopexy) หรือการตัดออก หรือทั้งสองอย่าง การดำเนินการผ่าผ่านรูทวารหนัก (Transanal or Endoanal Procedures) ยังสามารถใช้อธิบายบริเวณที่เข้าถึงลำไส้ตรงภายในซึ่งผ่านทางทวารหนัก

  • การผ่าตัดผ่านช่องท้อง (Abdominal procedures) สัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ลดลงของอาการหย่อนที่เกิดซ้ำเมื่อเทียบกับการการผ่าผ่านฝีเย็บ (Perineal procedures), 6.1% เทียบกับ 16.3% ในผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 65 ปีในขณะที่ทำการผ่าตัด
  • ขั้นตอนการส่องกล้องผ่าตัดช่องท้อง (Laparoscopic procedures)

            ระยะเวลาการฟื้นตัวหลังได้รับการส่องกล้องผ่าตัดช่องท้องจะสั้นกว่าและเจ็บปวดน้อยกว่าการผ่าตัดช่องท้องแบบดั้งเดิม การผ่าตัดผ่านกล้อง (ด้วยท่อบางที่มีแสง) สามารถใช้แทนการเปิดช่องอุ้งเชิงกรานด้วยแผลที่กว้าง (การผ่าตัดเปิดช่องท้อง: Laparotomy) โดยการผ่าตัดผ่านกล้อง ทำได้โดยสอดอุปกรณ์ผ่าตัดเข้าไปที่ช่องอุ้งเชิงกรานซึ่งให้แผลขนาดเล็กกว่า นอกจากนี้ การส่องกล้องผ่าตัดช่องท้องยังให้ผลลัพธ์ที่ดีต่อการเย็บตรึงลำไส้ (Rectopexy) และการตัดล้าไส้ใหญ่ส่วนตรง ผ่านทางช่องท้อง (Anterior resection)

  • ขั้นตอนผ่านฝีเย็บ (Perineal procedures)

            โดยปกติแล้วการผ่าผ่านฝีเย็บ (Perineal procedures) จะให้ผลลัพธ์ที่มีความเจ็บปวดและภาวะแทรกซ้อนที่น้อยลง ทำให้ลดระยะเวลาของการพักฟื้นในโรงพยาบาล วิธีผ่าตัดรูปแบบนี้มักมีอัตราการเกิดซ้ำสูงและผลการทำงานของอวัยวะแย่ลง การผ่าตัดรูปแบบนี้ รวมถึงการผ่าตัดแบบ perineal rectosigmoidectomy (ดำเนินการผ่านทางทวารหนัก นำส่วนที่หย่อนออกมาของลำไส้ออกและต่อลำไส้ตรงดังเดิมถึงลำไส้ sigmoid) และการผ่าตัดซ่อมทวารหนักปลิ้น (Delorme repair) ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงมักได้รับการรักษาโดยการผ่าผ่านฝีเย็บ (Perineal procedures) เนื่องจากสามารถทำได้โดยการให้ยาระงับความรู้สึกหรือชาเฉพาะส่วน (Regional Anesthesia)  หรือแม้กระทั่งการระงับความรู้สึกหรือชาเฉพาะที่ (Local Anesthesia)ร่วมกับการบริหารยานอนหลับเข้าทางหลอดเลือดดํา (Intravenous sedation) เพื่อลดความเสี่ยงของการให้ยาสลบแบทั่วร่างกาย (General anesthesia) อีกทางเลือกหนึ่ง การผ่าผ่านฝีเย็บ (Perineal procedures) ถูกเลือกใช้ เพราะสามารถลดความเสี่ยงต่อความเสียหายของเส้นประสาท เช่น ในผู้ป่วยชายอายุน้อยที่มีความบกพร่องทางเพศซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขากังวลอย่างมาก

  • ขั้นตอนแบบ Anal encirclement หรือ Thirsch procedure (เป็นการผ่าตัดที่ใช้ silicone rubber และแผ่นตาข่าย mesh เข้าไปวางในชั้นไขมันรัดรอบๆ ทวารหนัก ให้ห่างจากขอบทวารหนักเล็กน้อย) 

            ขั้นตอนนี้สามารถใช้การระงับความรู้สึกหรือชาเฉพาะที่ได้ หลังจากดันอาการหย่อนเข้าไปแล้ว จะมีการเย็บใต้ผิวหนังหรือวัสดุอื่นๆที่อยู่รอบๆทวารหนักเพื่อทำให้ตึง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการหย่อนที่จะเกิดขึ้นอีก การติดลวดเงินรอบๆทวารหนักถูกอธิบายครั้งเเรกในปี ค.ศ.1891 โดย Thiersch วัสดุที่ใช้ เช่น ไนล่อน, ไหม, silastic rods, ซีลิโคน, Marlex mesh, Mersilene mesh, พังผืด (fascia), เส้นเอ็น (tendon), และใยสังเคราะห์ Dacron วิธีการนี้ไม่ได้แก้ไขอาการหย่อนของอวัยวะเอง แต่เป็นการเสริมแรงกล้ามเนื้อหูรูดของทวารหนัก ทำให้ช่องทวารหนักแคบลง จุดประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้หย่อนออกนอกร่างกาย ให้คงอยู่ในลำไส้ตรง ซึ่งบรรลุจุด ประสงค์กว่า 54%-100% ของผู้ป่วย ภาวะแทรกซ้อน เช่น การแตกหักของวัสดุที่ล้อมรอบ, อุจจาระอัดเเน่น, ภาวะติดเชื้อ, และการพังทลายเข้าไปในผิวหนังหรือ ช่องทวารหนัก อัตราการเกิดซ้ำจะสูงกว่าขั้นตอนฝีเย็บอื่นๆ หัตถการมักใช้กับผู้ที่มีอาการรุนแรงหรือมีความเสี่ยงสูงต่อผลข้างเคียงจากการให้ยาสลบ และผู้ที่ไม่สามารถทนต่อการผ่าตัดวิธีอื่นๆ ได้

ภาวะกลืนกันของลำไส้ตรงภายใน (Internal rectal intussusception)

            ภาวะกลืนกันของลำไส้ตรงภายใน (ภาวะไส้กลืนกัน, ภาวะไส้กลืนกันภายใน, อาการหย่อนของไส้ตรงภายใน, อาการหย่อนของไส้ตรงซ่อนเร้น, อาการยื่นออกมาของไส้ตรงภายใน และอาการบุ๋มลงไปของไส้ตรง) คือ ภาวะเกิดรอยย่นรูปกรวยของผนังลำไส้ตรงซึ่งสามารถเกิดขึ้นระหว่างการถ่ายอุจจาระ

            ภาวะนี้ได้รับการอธิบายครั้งแรกในช่วงปลาทศวรรษ 1960 เมื่อมีการพัฒนาการถ่ายภาพรังสีการขับถ่ายอุจจาระ (Defecography)ครั้งเเรก และแพร่หลายมากขึ้น สำหรับระดับของภาวะไส้กลืนกันภายใน (Internal intussusception), พบว่า 40% ของผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ เป็นไปได้ว่าภาวะไส้กลืนกันอาจเป็นภาวะปกติในบางคน และอาจกระทั่งมีอาการปรากฎ หรือทำให้ปัญหาอื่นๆรุนแรงขึ้น

  • ·อาการ

             ภาวะไส้กลืนกันภายใน (Internal intussusception) อาจไม่แสดงอาการ แต่หากมีอาการ จะมีอาการได้แก่

o     อุจจาระรั่ว

o     ความรู้สึกของภาวะที่ไม่สามารถขับอุจจาระออกจากทวารหนักได้ (มีการเบ่ง)

o    ปวดกระดูกเชิงกราน

o    มีเลือดออกทางทวารหนัก

ภาวะลำไส้กลืนกันทางลำไส้ตรง (Recto-rectal intussusceptions) อาจไม่แสดงอาการ นอกเหนือจากอาการที่ไม่สามารถขับอุจจาระออกจากทวารหนักได้เล็กน้อย  อาการถ่ายอุจจาระหยุดชะงัก ในตอนเช้า ถือว่าเป็นลักษณะเฉพาะ

ภาวะลำไส้กลืนทางทวารหนัก (Recto-anal intussusception) มักจะมีอาการของการตึง, ถ่ายอุจจาระไม่หมด, มีการล้วงอุจจาระออก, อุจจาระแบบฉับพลัน, และความถี่หรือความไม่ต่อเนื่องขออาการอุจจาระเล็ด

พบว่า ภาวะลำไส้กลืนกันที่มีความหนา ≥3 มม. และมีแนวโน้มให้เกิดการอุดตันถึงขั้นต้องล้วงออกอาจเป็นอาการของภาวะลำไส้กลืนทางทวารหนัก (Recto-anal intussusception)

  • สาเหตุ

             มีแนวคิดสองแบบเกี่ยวกับธรรมชาติของภาวะลำไส้กลืนภายใน กล่าวคือ: ไม่ว่ามันจะเป็นปรากฎการณ์หลัก หรือรอง(ผลที่ตามมาของ) ภาวะอื่น

            บางแนวคิดกล่าวว่ามันเป็นรูปแบบเริ่มต้นของรูปแบบอื่นที่พัฒนาไปได้อีกของความผิดปกติ ซึ่งถึงขั้นเกิดภาวะไส้ตรงปลิ้นออกมาภายนอก ในระยะกลางขนาดของ ภาวะลำไส้กลืนกันจะค่อยๆเพิ่มขึ้น ส่วนที่พับย่นของลำไส้ตรงสามารถก่อให้เกิดบาดแผลอีกครั้งถึงเยื่อเมือก และสามารถทำให้เกิด solitary rectal ulcer syndrome (แผลเดี่ยวในลำไส้ตรง) อย่างไรก็ตามภาวะไส้กลืนกันภายในไม่ค่อยพัฒนาเป็นภาวะลำไส้หย่อนออกภายนอก

            แต่บางแนวคิดแย้งว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มีภาวะลำไส้กลืนกันเป็นผลจากภาวะถ่ายอุจจาระลำบาก (Obstructed defecation) เป็นไปได้ว่าเกี่ยวข้องกับการบีบรัดมากเกินไป ผู้ป่วยกับสาเหตุอื่นของอาการถ่ายอุจจาระลำบาก (ภาวะอุดตันทางออก:Outlet obstruction) เช่น การบีบตัวของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักไม่ประสานกับการเบ่ง (Anismus) มีเเนวโน้มการเกิดภาวะลำไส้กลืนกันภายในสูงขึ้น ไส้เลื่อน        (Enteroceles) เกิดขึ้นพร้อมกันใน 11% ของผู้ป่วยภาวะลำไส้กลืนกันภายใน อาการของภาวะ ลำไส้กลืนกันแบบซ่อนทับกับอาการลำไส้หย่อน (Rectocele) ทั้งสองภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นร่วมกันได้ 

            ผู้ป่วยที่มีภาวะ (Solitary rectal ulcer syndrome: SRUS) [แผลเดี่ยวในลำไส้ตรง] ร่วมกับภาวะลำไส้กลืนกันภายใน (Internal intussusception), 94% ของผู้ป่วย SRUS แสดงให้เห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงของผนังลำไส้ตรงเมื่อเทียบกับผู้ป่วยภาวะลำไส้กลืนกันภายในเพียงอย่างเดียว กลไกสันนิษฐานของภาวะถ่ายอุจจาระลำบาก (Obstructed defecation) คือการเหลื่อมของลำไส้เข้า ซึ่งบังช่องลำไส้ตรงระหว่างพยายามถ่ายอุจจาระ

            การศึกษาชิ้นหนึ่งวิเคราะห์ตัวอย่างผนังลำไส้ตรงของผู้ป่วยภาวะายอุจจาระลำบาก (Obstructed defecation) ซึ่งสัมพันธ์กับลำไส้ส่วนต้นที่อยู่ระหว่างการเย็บของการผ่าตัดทางทวารหนักแบบเย็บ (Trans-anal rectal resection) ความผิดปกติของระบบประสาทลำไส้ (Enteric Nervous System: ENS) และ ตัวรับอีสโตรเจน (Estrogen Receptor: ER) ถูกรายงานว่าเกิดขึ้น อีกหนึ่งการศึกษาพบว่าภาวะลำไส้กลืนกันของผนังลำไส้ตรงด้านหน้า (Anterior rectal wall) เกิดจากสาเหตุเดียวกันของไส้เลื่อน (Rectocele), กล่าวคือ ความบกพร่องต่อการยึดของเอ็นไส้ตรงและช่องคลอด (Recto-vaginal)

  • โรคที่เกิดขึ้นร่วมกัน และภาวะแทรกซ้อน

            สภาวะที่พบบ่อยในผู้ป่วยภาวะลำไส้กลืนกันภายในมากกว่าคนทั่วไป

o    ไส้เลื่อน (Rectocele)

o    Solitary rectal ulcer syndrome: SRUS (แผลเดี่ยวในลำไส้ตรง)

  • การวินิจฉัย

             ต่างจากภาวะลำไส้หย่อนออกภายนอก (External rectal prolapse) ภาวะไส้ตรงปลิ้นภายใน (Internal rectal intussusception) จะมองไม่เห็นจากภายนอก แต่สามารถวินิจฉัยได้โดยการตรวจด้วยนิ้วทางทวารหนัก (Digital Rectal Examination) ในขณะที่คนไข้เบ่งเหมือนจะถ่ายอุจจาระ การตรวจที่สามารถเห็นภาพได้ชัดจะแสดงให้เห็นการพับที่ผิดปกติของผนังลำไส้ตรง เช่น การตรวจแบบ Defecating proctogram (การตรวจโดยการ x-rays ลำไส้ล่างและลำไส้ตรง เพื่อแสดงการทำงานของลำไส้ตรงในขณะที่ลำไส้ว่าง) หรือการตรวจการเบ่งถ่ายด้วยเครื่อง MRI (MRI Defecography) เป็นการตรวจด้วยเครื่อง X Ray MRI เพื่อดูสภาพโรคของลำไส้ส่วนปลายและกล้ามเนื้อ หรือความผิดปกติอุ้มเชิงกรานและหูรูดทวารหนัก และสามารถดูความสัมพันธ์ของการเบ่งถ่ายอุจจาระกับการทำงานของกล้ามเนื้ออุ้มเชิงกรานและหูรูดทวารหนักได้ นอกจากนี้ยังมีการทดสอบทางสรีรวิทยาบริเวณทวารหนัก เช่น การตรวจวัดการทำงานของทวารหนักและหูรูดทวารหนัก (Anorectal manometry)

  • การรักษา

             มาตราการการรักษาแบบไม่ผ่าตัดของภาวะลำไส้กลืนกันภายใน (Internal intussusception) ได้แก่ การบริหารกล้ามเนื้ออ้งเชิงกราน, การใช้สารเพิ่มปริมาณ หรือ bulking agent ในจำพวกใยอาหาร เช่น Psyllium, เหน็บหรือสวนทวารเพื่อบรรเทาอาการท้องผูกและการตึง หากมีภาวะกลั้นไม่อยู่ (อุจจาระเล็ดหรือรุนเเรงขึ้น), หรือการบีบตัวของกล้ามเนื้อหรูดทวารหนักไม่ประสานกับการเบ่ง (Paradoxical contraction) และควรมีการฝึกควบคุมร่างกายแบบ Biofeedback ร่วมด้วย บางนักวิจัยแนะนำว่า ภาวะลำไส้กลืนกันภายใน (Internal intussusception) ต้องรักษาแบบอนุรักษ์ เมื่อเทียบกับการรักษาโดยการผ่าตัดในไส้ตรงปลิ้นออกมาภายนอก (External rectal prolapse)      

            ในทำนองเดียวกัน  การผ่าตัดรักษาไส้ตรงปลิ้นออกมาภายนอก (External rectal prolapse) มีหลายวิธี โดยทั่วไป ส่วนของผนังลำไส้ตรงสามารถผ่าตัดออกได้ หรือลำไส้ตรงสามารถซ่อมแซมให้อยู่ตำแหน่งเดิมกับกระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ (Sacral vertebrae)ได้ หรือใช้ทั้งวิธีตัดออกและซ่อมแซม การผ่าตัดไส้ตรงปลิ้นภายใน (Internal rectal prolapse) สามารถทำได้ทั้งวิธีที่ผ่านช่องท้อง (Abdominal approach) และวิธีผ่านรูทวารหนัก (Transanal approach)

            การรักษาที่หลากหลายแสดงให้เห็นว่ามีรูปแบบมากมายในการรักษาความรุนเเรงของอาการ ซึ่งหมายความว่าการรักษาโดยการผ่าตัดอาจเหมาะหรือไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยทุกคน ในหลายๆวิธีการก็มีรายงานความสำเร็จที่ขัดเเย้งกัน ซึ่งนี้แสดงให้เห็นว่าไม่มีวิธีที่ดีที่สุดในการรักษา อาการกำเริบของภาวะลำไส้กลืนกันหลังการรักษาก็เป็นปัญหาที่สามารถพบได้ วิธีการที่ใช้กันมากที่สุดในการรักษา มีอยู่ 2 วิธี คือ

  • แบบกล้องส่อง (Laparoscopic ventral rectopexy)

             วิธีนี้มีจุดประสงค์ “เพื่อแก้ไขการหย่อนลงมาของอุ้งเชิงกรานด้านหลังและตรงกลางร่วมกับการเสริมผนังกั้นไส้ตรงและช่องคลอด การเย็บตรึงลำไส้ (Rectopexy) สามารถรักษาผู้ป่วยที่มีอาการอุจจาระเล็ดราดหรือผายลมออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ (Anal incontinence) ร่วมกับ ภาวะไส้ตรงปลิ้น (Rectal intussuception) การดำเนินการมีอัตราการเกิดซึ้ำต่ำ (ประมาณ 5%) นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาอาการถ่ายอุจจาระลำบาก (Obstructed defecation symptoms) ภาวะเเทรกซ้อน ได้แก่ อาการท้องผูก ซึ่งจะลดลงหากเทคนิคนี้ไม่ขยับลำไส้ตรงด้านหลัง (ทำให้ไส้ตรงหลุดออกจากพื้นผิวด้านหลังที่ติดอยู่) ข้อดีของวิธีการส่องกล้องคือใช้เวลาในการรักษาแผลน้อยลงและมีภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่า

  • ·การผ่าตัดแบบ (Stapled transanal resection of the rectum : STARR) 

            จุดประสงค์การผ่าตัดวิธีนี้ เพื่อ”นำเส้นรอบวงของเยื่อเมือกบริเวณทวารหนักออก และเสริมกำลังผนังบริเวณรูทวารหนักสร้างทำมุมกับไส้ตรงส่วนล่างส่วนหน้า (the anterior anorectal junction wall) ร่วมกับอุปกรณ์ circular stapler ” การผ่าตัดแบบ STARR ไม่ได้แก้ไขอาการหย่อนของลำไส้ตรง แต่เป็นนำเนื้อเนื่อที่ซ้ำซ้อนออก เทคนิคนี้ถูกพัฒนามาจากขั้นตอนตัดเย็บริดสีดวงที่หย่อนลงมา ตั้งแต่นั้นมา ได้มีการพัฒนาอุปกรณ์การติดเย็บ หรืออุปกรณ์ circular staplers เพื่อใช้รักษาภาวะไส้ตรงปลิ้นออกมาภายนอก(External rectal prolapse) และภาวะลำไส้กลืนกันภายใน (Internal rectal intussusception)

            ในสมัยก่อน มีการรายงายภาวะแทรกซ้อนร้ายเเรงในการผ่าตัดแบบ STARR แต่ในปัจจุบันพัฒนาจนมีประสิทธิภาพและปลอดภัย อย่างไรก็ตามการผ่าตัดแบบ STARR ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีหูรูดอ่อนแอ (อาการอุจจาระเล็ดราดโดยไม่ได้ตั้งใจ และกลั้นไม่อยู่ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้) และผู้ป่วยที่มีอาการบีบตัวของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักไม่ประสานกับการเบ่ง (Anismus) การผ่าตัดนี้สามารถเพิ่มความไวความรู้สึกทางไส้ตรงและลดปริมาตรของลำไส้ตรง ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการกลั้นไม่อยู่ 90% ของผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดไม่มีการรายงานถึงอาการกลั้นไม่อยู่หลังการผ่าตัด 12 เดือน หูรูดทวารหนักอาจยืดออกระหว่างการดำเนินการ เมื่อเทียบกับการรักษาโดยการฝึกควบคุมร่างกายแบบ Biofeedback และพบว่าการรักษาแบบ STARR มีประสิทธิภาพในการลดอาการและทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น

ภาวะเยื่อเมือกหย่อน หรือปลิ้น (Mucosal prolapse)

            ภาวะเยื่อเมือกไส้ตรงปลิ้น (เยื่อเมือกหย่อนหรือปลิ้น, เยื่อเมือกทวารหนักปลิ้น) เป็นชนิดย่อยของภาวะไส้ตรงปลิ้น และหมายถึงอาการหย่อนที่ผิดปกติ ของเยื่อเมือก ไส้ตรงผ่านทางทวารหนัก ภาวะนี้ต่างจากภาวะลำไส้กลืนกันภายในหรือภาวะลำไส้หย่อนซ่อนเร้น (Internal intussusception) หรือไส้ตรงปลิ้นโดยสมบูรณ์ (Complete rectal prolapse, External prolapse, Procidentia) เนื่องจากสภาวะเหล่านี้เกี่ยวข้องกับความหนาเต็มของผนังลำไส้ตรง ไม่เฉพาะเยื่อเมือก (เยื่อบุ)

            ภาวะเยื่อเมือกหย่อนมีสภาพต่างจากโรคริดสีดวง ระดับที่ 3 และ 4 ที่ยื่นออกมา, แม้จะมีลักษณะคล้ายกัน ภาวะเยื่อเมือกไส้ตรงปลิ้นสามารถก่อให้เกิดภาวะถ่ายอุจจาระลำบาก (Obstructed defecation) หรือภาวะอุดตันทางออก (Outlet obstruction) และกลิ่นเหม็นของลำไส้ตรง

  • อาการ

            ความรุนแรงของอาการเพิ่มขึ้นตามขนาดของการปลิ้น และอาการจะลดลงเองหลังถ่ายอุจจาระ ผู้ป่วยอาจต้องดันก้อนเข้าด้วยมือตนเอง หรืออาจจะไม่ดันก้อนได้ด้ อาการจะเหมือนกับโรคริดสีดวงทวาร ระยะลุกลาม รวมถึง

o   อุจจาระรั่ว

o   เลือดออกทางลำไส้ตรง

o   มีมูกไหลทางลำไส้ตรง

o   ปวดลำไส้ตรง

o   อาการคัน

  • สาเหตุ

             สภาพภาวะนี้เป็นร่วมกับภาวะไส้ตรงปลิ้นแบบสมบูรณ์และภาวะลำไส้กลืนกันภายใน จึงคิดว่าน่าจะมีความสัมพันธ์กับการเบ่งเรื้อรังระหว่างถ่ายอุจจาระและท้องผูก ภาวะเยื่อเมือกปลิ้นเกิดขึ้นจากการคลายตัวกัของการยึดติดของเยื่อบุใต้เยื่อเมือก (ระหว่างชั้นเยื่อเมือกและชั้้นกล้ามเนื้อ) ถึงลำไส้ตรงส่วนปลาย ส่วนของเยื่อเมือกลำไส้ตรงที่หย่อนหรือปลิ้นสามารถกลายเป็นแผล และเลือดออกได้

  • การวินิจฉั 

            ภาวะเยื่อเมือกปลิ้น หรือหย่อน สามารถแยกแยะออกจากภาวะไส้ตรงปลิ้นแบบสมบูรณ์ (Complete rectal prolapse) โดยกดูการวางแนวรอยพับ (ร่อง) ในส่วนที่ปลิ้นออกมา ในภาวะไส้ตรงปลิ้นแบบสมบูรณ์ รอยพับเหล่านี้จะเป็นเส้นรอบวง ส่วนในภาวะเยื่อเมือกปลิ้น รอยพับเหล่านี้จะเป็นแนวรัศมี รอบพับของภาวะเยื่อเมือกปลิ้นมักเกี่ยวข้องกับโรคริดสีดวงทวารภายใน (Internal hemorrhoids)

  • การรักษา

             การตรวจภายใต้การให้ยาระงับความรู้สึก (Examination Under Anesthesia: E.U.A.) ของการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อบริเวณไส้ตรงและทวารหนัก (Anorectum) และวิธีการรัด (Banding) ของเยื่อเมือกด้วยหนังยาง (rubber bands) 

กลุ่มอาการแผลเดี่ยวในลำไส้ตรง (Solitary rectal ulcer syndrome) แผลเดี่ยวในลำไส้ตรง และโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังได้ (colitis cystica profunda)

             กลุ่มอาการแผลเดี่ยวในลำไส้ตรง (Solitary rectal ulcer syndrome: SRUS, SRU) เป็นความผิดปกติของลำไส้ตรงและรูทวารหนักเกิดจากการัดตึงและแรงดันที่สูงระหว่างถ่ายอุจจาระ แรงดันที่สูงทำให้ส่วนหน้าของเยื่อบุลำไส้ตรงถูกบังคับให้เข้าไปในรูทวารหนัก (ภาวะลำไส้กลืนกันภายใน) เยื่อบุของลำไส้ตรงถูกทำให้เสียหายเรื่อยๆจากการเสียดสีนี้ และส่งผลให้กิดแผล ดังนั้น SRUS จึงถูกพิจารณาว่าเป็นผลของภาวะลำไส้กลืนกันภายใน (ประเภทย่อยของภาวะไส้ตรงปลิ้น) ซึ่งแสดงให้เห็นกว่า 94% ของผู้ป่วย อาจจะไม่แสดงอาการ แต่สามารถเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดลำไส้ตรง ลำไส้ตรงมีเลือดออก ลำไส้ตรงมีกลิ่นเหม็น ถ่ายอุจจาระไม่หมด และอาการถ่ายอุจจาระลำบาก (การอุดตันของทางออกลำไส้ตรง: Rectal outlet obstruction)

  • ·อาการ ได้แก่ 

o   เบ่งขณะถ่ายอุจจาระ

o   มีมูกไหลออกทางทวารหนัก

o   ลำไส้ตรงมีเลือดออก

o   ความรู้สึกของการถ่ายอุจจาระไม่หมด (Tenesmus)

o   ท้องผูก

o   ท้องเสีย จะพบน้อยมาก

o   อุจจาระเล็ดราด (Fecal incontinence) พบน้อยมาก

  • ความชุกของโรค

             สภาวะนี้ถือว่าเป็นอาการผิดปกติ มักพบในคนหนุ่มสาว แต่สามารถเกิดขึ้นในเด็กได้เช่นกัน

  • ·สาเหตุ

             สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิด SRUS เกี่ยวข้องกับการเบ่งอุจจาระมากเกินไป การทำงานมากเกินไปของหูรูดทวารหนักระหว่างการถ่ายอุจจาระทำให้ผู้ป่วยต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการถ่ายอุจจาระ แรงดันในการเบ่งอุจจาระเกิดจากปรับเปลี่ยน Valsalva manovoure (การพยายามบังคับการหายใจออกต่อเส้นเสียงปิดสนิทซึ่งเรียกว่า closed glottis ส่งผลให้มีความดันในช่องท้องและทวารหนักเพิ่มขึ้น) ผู้ป่วย SRUS มีความดันในช่องทวารหนักที่สูงขึ้นเมื่อเบ่งเกร็งมากกว่าการควบคุมที่เป็นมิตรต่อสุขภาพ SRUS ยังเกี่ยวข้องกับการถ่ายอุจจาระเป็นเวลานานและการถ่ายอุจจาระออกไม่หมด

            มักต้องออกแรงเบ่งอย่างมากเนื่องจากมีภาวะการบีบตัวของกล้ามเนื้อหรูดทวารหนักไม่ประสานกับการเบ่ง (Anismus) ร่วม หรืออาการเกร็งที่ไม่ผ่อนคลาย/ความขัดเเย้งของกล้ามเนื้อ Puborectails (ซึ่งปกติจะผ่อนคลายระว่างถ่ายอุจจาระ) ความดันที่เพิ่มขึ้นทำให้เยื่อบุลำไส้ตรงด้านหน้าต้านกล้ามเนื้อ Puborectails ที่เกร็ง และบ่อยครั้งที่เยื่อบุจะยื่นออกไปในรูทวารหนักระหว่างเบ่งอุจจาระ และกลับสู่ตำแหน่งปกติหลังจากนั้น การเกิดแบบนี้ซ้ำๆเป็นสาเหตุให้เนื้อเยื่อบวมและอุดตัน

            การเกิดแผลเกิดจากปริมาณเลือดที่ไม่ดี (การขาดเลือดเฉพาะที่) ร่วมกับแผลจากการเสียดสีบ่อยๆ จากเยื่อบุที่หย่อน และขยายตัวจนเกิดแรงดันที่สูงขึ้น นอกจากนี้แผลจากอุจจาระแข็งก็เป็นอีกสาเหตุ

            ตำแหน่งของแผลเปื่อยโดยทั่วไปอยู่บนผนังด้านหน้าของกระเปาะลำไส้ตรง (Rectal ampulla) ประมาณ 7-10 ซม.จากทวารหนัก อย่างไรก็ตาม บริเวณของแผลเปื่อยอาจอยู่ใกล้ทวารหนัก ลึกเข้าไปข้างใน หรือบนด้านข้างหรือด้านหลังผนังลำไส้ตรง ชื่อ “solitary” หรือ “โดดเดี่ยว” อาจทำให้เข้าใจผิดเพราะแผลเปื่อยอาจมีมากกว่าหนึ่ง ยิ่งไปกว่านั้น ในระยะ preulcerative จะไม่มีแผลเปื่อยเล ตัวอย่างทางพยาธิวิทยาของส่วนผนังลำไส้ตรงที่นำมาจากผู้ป่วย SRUS แสดงให้เห็นความหนาและการแทนที่ของกล้ามเนื้อกับเนื้อเยื่อเส้นใยและคอลลาเจนส่วนเกิน ไม่ค่อยพบ SRUS เป็นติ่งเนื้อในลำไส้ตรง

            ดังนั้น SRUS จะเกี่ยวข้องและเกิดร่วมกับไส้ตรงปลิ้นภายใน และพบได้ยากของภาวะไส้ตรงปลิ้นภายนอก SRUS ยังถูกเชื่อว่าเป็นตัวเเทนของโรครูปแบบต่างๆจากต่างสาเหตุ ภาวะอื่นที่เกี่ยวข้องกับภาวะไส้ตรงกลืนกันภายในคือ ภาวะ Colitis Cystica Profunda: CCP (หรือเรียกว่า Proctitis Cystica Profunda) ภาวะนี้มีลักษณะเฉพาะ คือ มีการก่อตัวของซีสต์เมือกในชั้นกล้ามเนื้อของเยื่อบุลำไส้ และอาจเกิดได้ทุกที่ในทางเดินอาหาร เมื่อเกิดภาวะนี้ขึ้นที่ลำไส้ตรง อาจใช้การวินิฉัยแบบ SRUS ได้ เนื่องจากลักษณะทางเนื้อเยื่อวิทยาของสภาวะทั้งสองคาบเกี่ยวกัน แท้จริงแล้วสามารถจัดการภาวะ CCP ได้เหมือนกับภาวะ SRUS การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ หรือ EMG (Electromyography) สามารถแสดงเวลาชักนำของเส้นประสาทสั่งการ pudendal

  • ·ภาวะแทรกซ้อน

             ภาวะแทรกซ้อนพบไม่บ่อย แต่สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น อาการเลือดออกทางทวารหนักมาก แผลในต่อมลูกหมากหรือการก่อตัวของการตีบตัน น้อยมากที่มะเร็งสามารถเกิดขึ้นได้ในส่วนของเยื่อบุทวารหนักที่ยื่นออกมา

  • การวินิจฉัยและการสืบสวน

             SRUS มักได้รับการวินิจฉัยผิดพลาด และวินิจฉัยได้ช้า 5-7 ปี  แพทย์อาจไม่คุ้นเคยกับภาวะนี้ และรักษาแบบโรคลำไส้อักเสบหรือท้องผูกธรรมดาได้ เยื่อบุที่หนาหรือแผลที่อาจทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นมะเร็งประเภทต่างๆ ได้

            การวินิจฉัยแยกโรคของ SRUS (และ CCP) ประกอบด้วย

o     ติ่งเนื้อ

o     เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)

o     การอักเสบเรื้อรัง (Inflammatory granulomas)

o     โรคติดเชื้อ

o     ลำไส้ใหญ่อักเสบจากยา

o     มะเร็งต่อมที่ผลิตเมือก (Mucus-producing adenocarcinoma)

            การถ่ายภาพรังสีการขับถ่ายอุจจาระ (Defecography), การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (Sigmoidoscopy), การตรวจโดยวิธีอัลตร้าซาวนด์ผ่านเข้าทางทวารหนัก (Transrectal ultrasound), การตัดชิ้นเนื้อเยื่อเมือก (Mucosal biopsy), การตรวจวัดการทำงานของทวารหนักและหูรูดทวารหนัก (Anorectal manometry), และ การตรวจเส้นประสาทและกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า ( Electromyography) วิธีการเหล่านี้ถูกนำมาใช้เพื่อวินิจฉัยโรคและศึกษา SRUS มีบางคำแนะนำทำการตัดชิ้นเนื้อ (Biopsy) ในการวินิจฉัยเพราะแผลอาจไม่เกิดขึ้นเสมอไป และการถ่ายภาพรังสีการขับถ่ายอุจจาระ (Defecography) ก็เป็นวิธีสืบสวนโรค SRUS

  • การรักษา

            แม้ว่า SRUS ไม่ใช่โรคที่ร้ายเเรง แต่สามารถเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลง การรักษา SRUS นั้นยาก และการรักษาจะเป็นการทำให้อาการทุเลาล' การหยุดการเบ่งระหว่างการขับถ่ายโดยการเปลี่ยนท่าทางในการถ่ายอุจจาระให้ถูกต้อง, การบริโภคใยอาหาร (อาจรวมถึงกลุ่มยาที่ช่วยเพิ่มปริมาณกากอาหารในลำไส้ หรือ bulk forming laxatives เช่น psyllium) สารทำให้อุจจาระนิ่ม (เช่น Polyethylene glycol และการฝึกควบคุมตัวเองแบบ Biofeedback เพื่อประสานอุ้งเชิงกรานระหว่างถ่ายอุจจาระ การผ่าตัดอาจได้รับการพิจารณา แต่เฉพาะในกรณีที่การรักษาแบบไม่ผ่าตัดไม่เป็นผล และอาการรุนแรงพอ อาการดีขึ้นหลังการผ่าตัดประมาณ 55-60% แผลอาจยังคงอยู่ แม้ว่าอาการจะหายไปแล้วก็ตาม

ระบาดวิทยา

             ลำไส้ตรงปลิ้นเกิดขึ้นน้อยกว่า 0.5% ของประชากรทั่วไป จะเกิดขึ้นในผู้หญิงมมากกว่าผู้ชายในสัดส่วน 9:1

คำศัพท์เฉพาะทาง

             อาการหย่อน (Prolapse) หมายถึง "การหล่นลงมาหรือลื่นไถลของส่วนต่างๆ ของร่างกายออกจากตำแหน่งหรือความสัมพันธ์ตามปกติ" มาจากภาษาละติน pro- - "forward" + labi - "to slide" "อาการห้อยยานของอวัยวะ". พจนานุกรม Merriam-Webster.com อาการห้อยยานของอวัยวะสามารถอ้างอิงถึงสภาวะทางการแพทย์ต่างๆ มากมาย นอกเหนือจากอาการหย่อนของลำไส้ตรง

            Procidentia มีความหมายคล้ายกันกับอาการหย่อนของอวัยวะ หมายถึง "การจมหรืออาการห้อยยานของอวัยวะหรือบางส่วน" มาจากภาษาละติน procidere - "ล้มไปข้างหน้า" Procidentia มักหมายถึงอาการหย่อนของอวัยวะมดลูก แต่ procidentia ของลำไส้ตรงอาจเป็นคำพ้องความหมายสำหรับอาการหย่อนของลำไส้ตรง

            ภาวะลำไส้กลืน (Intussusception) หมายถึงการบุ๋มตัวลงไป หรือเข้ามาชิดกัน (รอยย่น) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมายถึง "การเลื่อนของลำไส้เข้าไปในส่วนที่ติดกัน" มันมาจากภาษาลาติน intus - "ภายใน" และ susceptio - "การกระทำของการดำเนินการ" จาก suscipere - "to Take up" "ภาวะลำไส้กลืนกัน". พจนานุกรม Merriam-Webster.com ไม่ควรสับสนระหว่างภาวะลำไส้กลืนกันทางลำไส้ตรงกับภาวะลำไส้กลืนกันอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับลำไส้ใหญ่หรือลำไส้เล็ก ซึ่งบางครั้งอาจเป็นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ได้ ภาวะลำไส้กลืนกันทางลำไส้ตรงไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต

            โรคที่บางส่วนของลำไส้ส่วนต้น (Intussusceptum) หมายถึงส่วนที่ใกล้เคียงของผนังลำไส้ตรง ซึ่งกล้องโทรทรรศน์จะส่องเข้าไปในรูของส่วนปลายของไส้ (เรียกว่า intussuscipiens) ผลลัพธ์ที่ได้คือมีการซ้อนผนังไส้ตรงถึง 3 ชั้น จากโพรงออกไปด้านนอก ชั้นแรกคือผนังใกล้เคียงของ Intussusceptum (โรคที่บางส่วนของลำไส้ส่วนต้น)  ตรงกลางคือผนังของ Intussusceptum ที่พับกลับเข้าหาตัวมันเอง และด้านนอกคือผนังลำไส้ส่วนปลาย หรือ Intussuscipiens

 อ่านตรวจทานโดย รศ. พญ. ประนอม บุพศิริ สูติ-นรีแพทย์

 

แปลและเรียบเรียงจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Rectal_prolapse [2024, May 1] โดย ปวีณ์พร โสภณ