อะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycoside)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 17 กันยายน 2564
- Tweet
- บทนำ: คือยาอะไร?
- ยาอะมิโนไกลโคไซด์มีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) รักษาโรคอะไร?
- ยาอะมิโนไกลโคไซด์มีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- ยาอะมิโนไกลโคไซด์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- ยาอะมิโนไกลโคไซด์มีขนาดการบริหารยาอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
- ยาอะมิโนไกลโคไซด์มีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้ยาอะมิโนไกลโคไซด์อย่างไร?
- ยาอะมิโนไกลโคไซด์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษายาอะมิโนไกลโคไซด์อย่างไร?
- ยาอะมิโนไกลโคไซด์มีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics)
- แบคทีเรีย: โรคจากแบคทีเรีย (Bacterial infection)
- โรคติดเชื้อ ภาวะติดเชื้อ (Infectious disease)
- ยาหยอดตา (Eye drops)
- ยาหยอดหู (Ear drops)
- ยาใช้ภายนอก (External Use drug)
บทนำ: คือยาอะไร?
อะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycoside) คือ กลุ่มยาปฏิชีวนะ ที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อจาก แบคทีเรียกลุ่มแกรมลบ (Gram negative bacteria) และบางชนิดของแบคทีเรียที่ไม่จำเป็นต้องใช้ออกซิเจนเพื่อการเจริญเติบโต (Anaerobic bacilli) และมักไม่ค่อยพบการใช้ยานี้มากนักกับเชื้อแบคทีเรียกลุ่มแกรมบวก (Gram positive bacteria)
สามารถแบ่งกลุ่มยาอะมิโนไกลโคไซด์ออกเป็น 3 กลุ่มย่อย ดังนี้
- กลุ่มที่ 1: แบ่งตามชื่อสกุลของแบคทีเรียจำพวก Streptomyces ซึ่งชื่อของยาในกลุ่มนี้จะลงท้ายด้วย “mycin” เช่นยา Streptomycin, Neomycin, Kanamycin, Hygromycin, Hygromycin-B, และ Spectineomycin
- กลุ่มที่ 2: แบ่งตามชื่อสกุลของแบคทีเรียจำพวก Micromonospora ซึ่งชื่อของยาในกลุ่มนี้จะลงท้ายด้วย “micin” เช่นยา Gentamicin และ Verdamicin
- กลุ่มที่ 3: เป็นอนุพันธุ์ถัดมาจากกลุ่มที่ 1 และ 2 เช่น Arbekacin, Framycetin, Amikacin, Paromomycin, Ribostamycin, Dibekacin, Tobramycin, Netilmicin, Sisomicin, Isepamicin และ Habekacin
อนึ่ง ไม่แนะนำการใช้ยาในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์กับ สตรีตั้งครรภ์ ด้วยมีข้อมูลสนับสนุนว่าส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์โดยอาจก่อให้เกิดความพิการแต่กำเนิดได้
ทั้งนี้การบริหารยากลุ่มนี้เข้าสู่ร่างกาย มักจะเป็นไปในรูปแบบของยาฉีด ด้วยยากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ส่วนใหญ่มีการดูดซึมจากระบบทางเดินอาหารได้ไม่ดีนัก มีบางสูตรตำรับที่ใช้เป็นยาทาใช้เฉพาะที่สำหรับรักษาบาดแผลภายนอก บางตำรับก็เป็น ยาหยอดตา ยาหยอดหู หรือทำเป็นลักษณะฉีดพ่น เช่นยา Tobramycin เป็นต้น
การเลือกใช้ยากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ต้องถูกคัดกรองโดยแพทย์ผู้รักษาว่า เหมาะสมกับการตอบสนองของผู้ป่วยหรือไม่ อีกทั้งการบริหารยาส่วนใหญ่เป็นรูปแบบยาฉีด ซึ่งต้องอาศัยหัตถการทางการแพทย์ตามสถานพยาบาลที่เปิดทำการรักษาเท่านั้น
ยาอะมิโนไกลโคไซด์มีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) รักษาโรคอะไร?
ยาอะมิโนไกลโคไซด์มีสรรพคุณรักษาโรค/ข้อบ่งใช้: เช่น
- รักษา โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ), โรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ, และภาวะติดเชื้อในช่องท้อง, อันมีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียแกรมลบและแกรมบวก เช่น เชื้อ Proteus vulgaris, เชื้อ E.Coli และ เชื้อโรคบิด Dysenteny bacillus รวมถึงใช้รักษาการติดเชื้อวัณโรค
- ป้องกันการติดเชื้อหลังผ่าตัด
- รักษาการติดเชื้อที่ผิวหนังในรูปแบบยาทาภายนอก/ยาใช้ภายนอก
- รักษาการติดเชื้อที่ตา หู ในรูปแบบ ยาหยอดตา, ยาหยอดหู
ยาอะมิโนไกลโคไซด์มีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
กลไกการออกฤทธิ์ของยากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์คือ ตัวยาจะออกฤทธิ์รบกวนการทำงานของสารพันธุกรรมในแบคทีเรียที่เรียกว่า อาร์เอ็นเอ (RNA) ทำให้แบคทีเรียไม่สามารถจำลองหรือสร้างสารพันธุกรรมขึ้นมาใหม่ได้ จึงเป็นเหตุให้ตัวแบคทีเรียตายลงและหยุดการแพร่พันธุ์ในที่สุด
ยาอะมิโนไกลโคไซด์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยาอะมิโนไกลโคไซด์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายหลายรูปแบบ:
- ยาฉีด ขนาด 1 กรัม/4 มิลลิลิตร
- ยาฉีด ขนาด 250 และ 500 มิลลิกรัม/2 มิลลิลิตร
- ยาฉีด ขนาด 40 และ 250 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร
- ยาแคปซูลชนิดรับประทาน ขนาด 250 มิลลิกรัม/แคปซูล
- ยาอมที่ผสมร่วมกับยาต้านแบคทีเรียชนิดอื่น (Neomycin + Bacitracin)
- ยาครีมโดยผสมร่วมกับสเตียรอยด์ (Neomycin sulfate + Betamethasone valerate)
- ยาหยอดตา – ยาหยอดหู ที่ผสมยาสเตียรอยด์ (Neomycin sulfate + Dexamethasone)
- ยาน้ำและยาเม็ดรับประทาน โดยผสมร่วมกับยาตัวอื่นเพื่อแก้อาการท้องเสีย
- ยาป้ายตาชนิดขี้ผึ้ง
- ฯลฯ
ยาอะมิโนไกลโคไซด์มีขนาดการบริหารยาอย่างไร
การบริหารยา/การใช้ยา/ขนาดยาอะมิโนไกลโคไซด์ ส่วนใหญ่ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของการรักษา (เช่น อาการผู้ป่วย เป็นการติดเชื้ออะไร ติดเชื้อในระบบใดของร่างกาย) แพทย์เท่านั้นที่จะเป็นผู้กำหนดการใช้ยาให้กับผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย ตัวอย่างเช่น
- ขนาดการใช้ยา Gentamicin และ Tobramycin กับผู้ป่วย: เช่น 3 - 5 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัวผู้ป่วย 1 กิโล กรัม/วัน (เป็นขนาดที่ใช้กับผู้ป่วยที่ไตทำงานปกติ) หรือ
- ขนาดการใช้ยา Amikacin ที่ให้ผู้ป่วย เช่น 15 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัวผู้ป่วย 1 กิโลกรัม/วัน
*****หมายเหตุ: ขนาดยา และระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้ เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ผู้รักษาได้ การใช้ยาที่เหมาะสม ควรต้องปรึกษา แพทย์ หรือเภสัชกร ก่อนเสมอ
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
การบริหารยา/การใช้ยา/ขนาดยาอะมิโนไกลโคไซด์ ส่วนใหญ่ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของการรักษา (เช่น อาการผู้ป่วย เป็นการติดเชื้ออะไร ติดเชื้อในระบบใดของร่างกาย) แพทย์เท่านั้นที่จะเป็นผู้กำหนดการใช้ยาให้กับผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย ตัวอย่างเช่น
- ขนาดการใช้ยา Gentamicin และ Tobramycin กับผู้ป่วย: เช่น 3 - 5 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัวผู้ป่วย 1 กิโล กรัม/วัน (เป็นขนาดที่ใช้กับผู้ป่วยที่ไตทำงานปกติ) หรือ
- ขนาดการใช้ยา Amikacin ที่ให้ผู้ป่วย เช่น 15 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัวผู้ป่วย 1 กิโลกรัม/วัน
*****หมายเหตุ: ขนาดยา และระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้ เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ผู้รักษาได้ การใช้ยาที่เหมาะสม ควรต้องปรึกษา แพทย์ หรือเภสัชกร ก่อนเสมอ
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทาน/ทา/หยอดยาอะมิโนไกลโคไซด์ สามารถรับประทาน/ทา/หยอดยาอะมิโนไกลโคไซด์เมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทาน/ทา/หยอดยานี้ในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า
ยาอะมิโนไกลโคไซด์มีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
หากลืมรับประทาน/ทา/หยอดยาอะมิโนไกลโคไซด์ สามารถรับประทาน/ทา/หยอดยาอะมิโนไกลโคไซด์เมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทาน/ทา/หยอดยานี้ในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า
มีข้อควรระวังการใช้ยาอะมิโนไกลโคไซด์อย่างไร?
มีข้อควรระวังการใช้ยาอะมิโนไกลโคไซด์ เช่น
- ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์
- ห้ามใช้ยานี้กับหญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ห้ามใช้กับผู้ที่มีแก้วหูทะลุ
- ห้ามใช้กับผู้มีสภาวะตับทำงานผิดปกติ
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วย โรคไต หญิงที่อยู่ในภาวะในนมบุตร ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ทารก และผู้สูงอายุ
- ระหว่างการใช้ยานี้ ควรต้องควบคุมดูแลการทำงานของไตว่าปกติดีหรือไม่ตามแพทย์แนะนำ
- หากพบอาการไม่ได้ยินเสียง หรือมีอาการคล้ายแพ้ยา ให้หยุดการใช้ยาทันที แล้วรีบด่วนไปพบแพทย์/ไปโรงพยาบาล
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่ร่างกายอยู่ในภาวะสูญเสียน้ำและเกลือแร่ (ภาวะขาดน้ำ)
- หลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ติดต่อกันเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน เพราะโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากยาจะสูงขึ้นมาก ดังนั้นการใช้ยานี้ จึงต้องเป็นแพทย์เป็นผู้สั่งการใช้เท่านั้น
- ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นรับประทาน
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
- ห้ามเก็บยาหมดอายุ
***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยาอะมิโนไกลโคไซด์ด้วย) ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
ยาอะมิโนไกลโคไซด์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ยาอะมิโนไกลโคไซด์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น เช่น
- การใช้ยา Amikacin ร่วมกับยา Amphoteracin B อาจทำให้เกิดภาวะเป็นพิษกับไต หากจำ เป็นต้องใช้ร่วมกัน แพทย์จะเป็นผู้ปรับขนาดการใช้ยากับผู้ป่วยอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคลไป
- การใช้ยา Streptomycin ร่วมกับยาในกลุ่ม H1-receptor blockers/ ยาเอช1แอนตาโกนิสต์ (ยาต้านฮิสตามีน/Histamine) อาจทำให้เกิดภาวะเป็นพิษต่อหู แพทย์จะเป็นผู้ปรับการให้ยานี้กับผู้ป่วย
- การใช้ยา Tobramycin ร่วมกับ ยาขับปัสสาวะ เช่นยา Furosemide สามารถเพิ่มความเป็นพิษต่อไตของผู้ป่วย หากไม่จำเป็นควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
- การใช้ยา Gentamicin ร่วมกับ ยาปฏิชีวนะอื่น เช่นยา Ampicillin, Benzylpenicillin, หรือยาในกลุ่ม Beta-lactam antibiotics จะเสริมฤทธิ์ในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย
- การใช้ยา Gentamicin ร่วมกับยาสลบหรือกลุ่มยาชา อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงโดย กดการหายใจในผู้ป่วย จึงควรเลี่ยงการใช้ยาทั้ง 2 กลุ่มร่วมกัน
- การใช้ยา Neomycin ร่วมกับ ยาโรคหัวใจ เช่นยา Digoxin จะเกิดการรบกวนการดูดซึมของยา Digoxin จึงควรเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
ควรเก็บรักษายาอะมิโนไกลโคไซด์อย่างไร?
สามารถเก็บยาอะมิโนไกลโคไซด์ เช่น
- เก็บยาที่อุณหภูมิระหว่าง 15 - 30 องศาเซลเซียส (Celsius)
- เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสง/ แสงแดด ความร้อน และความชื้น
- เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง และ
- ไม่ควรเก็บยาในห้องน้ำ
ยาอะมิโนไกลโคไซด์มีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ยาอะมิโนไกลโคไซด์ มียาชื่อการค้า และบริษัทผู้ผลิต เช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Basina (บาซินา) | T. Mam Pharma |
Besone-N (เบโซน-เอ็น) | Atlantic Lab |
Betacort-N (เบตาคอร์ท-เอ็น) | Utopian |
Betamethasone-N GPO (เบตาเมธาโซน-เอ็น จีพีโอ) | GPO |
Bethasone-N (เบธาโซน-เอ็น) | Greater Pharma |
Betnovate-N (เบทโนเวท-เอ็น) | GlaxoSmithKline |
Betosone-EN (เบโทโซน-อีเอ็น) | T. O. Chemicals |
Coccila (ค็อกซิลา) | V&V Bangkok |
Strepto (สเตร็บโต) | General Drugs House |
Streptomycin Sulfate M&H (สเตร็บโตมายซิน ซัลเฟต เอ็มแอน์เฮช) | M&H Manufacturing |
Akicin (อะคิซิน) | General Drugs House |
Amikacin Abbott (อะมิคาซิน แอ๊บบอต) | Abbott |
Amikacin GPO (อะมิคาซิน จีพีโอ) | GPO |
Amikacin Injection Meiji (อะมิคาซิน อินเจ็คชัน เมจิ) | Meiji |
Siamik (สยามมิค) | Siam Bheasach |
Tybikin (ไทบิกิน) | M&H Manufacturing |
Gentamicin Vesco (เจนตามัยซิน เวสโก) | Vesco Pharma |
Versigen (เวอร์ซิเจน) | Chew Brothers |
Kanamycin Capsules Meiji (คานามายซิน แคปซูล เมจิ) | Meiji |
Kanamycin Sulfate General Drugs House (คานามายซิน ซัลเฟต เจเนอรัล ดรักซ์ เฮาส์) | General Drugs House |
Kangen (คานเจน) | General Drugs House |
DW Tobramycin (ดีดับเบิลยู โทบรามายซิน) | Daewoong Pharma |
Tobradex (โทบราเด็กซ์) | Alcon |
Zylet (ไซเลท) | Bausch & Lomb |
บรรณานุกรม
- https://en.wikipedia.org/wiki/Aminoglycoside [2021,Sept11]
- http://pharmacologycorner.com/protein-synthesis-inhibitors-aminoglycosides-mechanism-of-action-animation-classification-of-agents/ [2021,Sept11]
- http://jeepakistan.blogspot.com/2008/10/classification-of-aminoglycosides.html [2021,Sept11]
- https://www.mims.com/thailand/drug/info/tobramycin?mtype=generic [2021,Sept11]
- https://www.mims.com/thailand/drug/info/amikacin?mtype=generic [2021,Sept11]
- https://www.mims.com/Thailand/drug/search/?q=amikacin [2021,Sept11]
- https://www.mims.com/Thailand/drug/search/?q=kanamycin [2021,Sept11]
- https://www.mims.com/thailand/drug/info/gentamicin?mtype=generic [2021,Sept11]
- https://www.mims.com/Thailand/drug/search/?q=streptomycin [2021,Sept11]
- https://www.mims.com/Thailand/drug/search/?q=tobramycin [2021,Sept11]
- https://www.drugs.com/ppa/streptomycin.html [2021,Sept11]