อดเมื่อไร...ตายเมื่อนั้น (ตอนที่ 4 และตอนจบ)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 3 มกราคม 2562
- Tweet
ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะขาดสารอาหาร ได้แก่
- เป็นผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล
- ผู้ที่อยูคนเดียว
- ผู้ที่มีรายได้น้อย
- ผู้ที่มีปัญหาเรื่องการดูดซึมสารอาหาร
- ผู้ที่มีปัญหาเรื้อรัง เรื่องการกิน เช่น โรคบูลิเมีย หรือ โรคคลั่งผอม
- ผู้ที่เพิ่งฟื้นตัวจากการป่วยที่รุนแรง เช่น ได้รับอุบัติเหตุรุนแรง
- อยู่ในภาวะสงคราม
- เด็กที่ไม่มีผู้ดูแลที่มีความเข้าใจเรื่องความจำเป็นของสารอาหาร
การวินิจฉัยและการรักษาที่เร็วสามารถป้องกันภาวะขาดสารอาหารและอาการแทรกซ้อนได้ ด้วยการเอ็กซเรย์ การตรวจเลือดและปัสสาวะเพื่อดูระดับของวิตามิน เกลือแร่ และของเสีย
การรักษาเบื้องต้นที่ทำ คือ
- กินอาหารเสริมสารอาหาร (Fortified food) ที่มีแคลอรี่และโปรตีนสูง
- กินอาหารว่างระหว่างมื้อ
- ดื่มน้ำมีแคลอรี่สูง
โดยการรักษาภาวะขาดสารอาหารในเด็ก ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษในโรงพยาบาล เพราะจะมีผลต่อสุขภาพเด็กในระยะยาว
ส่วนการรักษาในผู้ที่ไม่สามารถกินได้เอง อาจต้องให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ (Parenteral nutrition) หรือ การให้สารอาหารผ่านระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นการให้อาหารในรูปของเหลวให้แก่ผู้ป่วยผ่านทางสายยางที่ต่อเข้ากับกระเพาะอาหาร (Enteral nutrition).
สำหรับวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันภาวะขาดสารอาหาร ก็คือ การกินอาหารครบหมู่ให้หลากหลาย ให้สมดุล มีประโยชน์
- โปรตีน –ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
- คาร์โบไฮเดรต –ให้พลังงานแก่ร่างกาย
- พืชผัก – ช่วยเสริมการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ ต้านทานเชื้อโรค
- ผลไม้ - ช่วยเสริมการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ ต้านทานเชื้อโรค
- ไขมัน – ให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย
- น้ำ – ช่วยหล่อเลี้ยงไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย
แหล่งข้อมูล:
- Malnutrition: What you need to know. https://www.medicalnewstoday.com/articles/179316.php [2018, January 2].
- Malnutrition. https://www.nhs.uk/conditions/malnutrition/ [2018, January 2].
- Malnutrition. https://www.hopkinsmedicine.org/healthlibrary/conditions/adult/pediatrics/malnutrition_22,Malnutrition [2018, January 2].