ห้อเลือด ฟกช้ำ (Bruise)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 11 กันยายน 2558
- Tweet
- โรคเลือด (Blood Diseases)
- ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (Thrombocytopenia)
- โรคตับ (Liver disease)
- ยาฆ่าเชื้อ (Antimicrobial drug) ยาแก้อักเสบ (Anti inflammatory drug)
- ยาเคมีบำบัด (Cancer chemotherapy)
- มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia)
ห้อเลือด หรือฟกช้ำ หรือจ้ำเลือด (Bruise) เป็นอาการไม่ใช่โรค โดยเกิดจากการมีเลือดออกในเนื้อเยื่อชั้นใต้ต่อผิวหนัง มักเกิดภายหลังการได้รับบาดเจ็บเช่น การกระแทก
แต่เมื่อห้อเลือดง่ายหรือห้อเลือดโดยไม่ได้เกิดจากการบาดเจ็บหรือจากอุบัติเหตุ มักมีสาเหตุจากร่างกายมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (เกล็ดเลือดมีหน้าที่ช่วยการแข็งตัวของเลือด เมื่อเลือดไม่แข็งตัวเลือดจึงออกง่าย)
ภาวะเกล็ดเลือดต่ำเกิดได้จากหลายสาเหตุที่พบบ่อยคือ
- กินยาต้านการแข็งตัวของเลือดเช่น ยาแอสไพริน
- ผลข้างเคียงจากยาบางชนิดเช่น ยาในกลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) ยาสเตียรอยด์ (Steroid) และยาเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็ง
- โรคเลือดเช่น โรคฮีโมฟิเลีย (Hemophilia) และ
- โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
เมื่อมีห้อเลือด/ฟกช้ำ/จ้ำเลือด เกิดขึ้นเองบ่อยโดยไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุหรือจากการกระแทก หรือร่วมกับมีไข้สูง และ/หรือร่วมกับในบริเวณที่เกิดห้อเลือดอักเสบ (บวม แดง และ/หรือเจ็บ/ปวด) หรือห้อเลือดขยายใหญ่ขึ้น อาจร่วมกับใจสั่นจะเป็นลม ควรรีบพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลเสมอ
Updated 2015, Aug 22