หูรูด (Sphincter)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 2 พฤษภาคม 2557
- Tweet
- การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในสตรี (Urinary incontinence in women)
- กรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux disease)
- กายวิภาคและสรีรวิทยาระบบทางเดินอาหาร (Anatomy and physiology of alimen tary system)
- กายวิภาคและสรีรวิทยาของระบบทางเดินปัสสาวะ (Anatomy and physiology of Urinary tract)
หูรูด ความหมายจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 มีได้หลายความ หมาย แต่ความหมายที่เกี่ยวข้องกับร่างกาย คือ ปากช่องทวารหนัก ที่กล้ามเนื้อรัดตัวเข้ามาคล้ายปากถุงที่รูด
ทางการแพทย์ หูรูด คือส่วนหนึ่งของอวัยวะที่มักอยู่ตอนต้นหรือตอนปลายของอวัยวะ มีมีลักษณะเป็น ท่อ หลอด หรือช่อง โดยเป็นส่วนที่มีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง วนเป็นวงล้อมรอบส่วนนั้น เพื่อทำหน้าที่ปิดและเปิดอวัยวะนั้นๆ เพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับ ไหลเข้า หรือไหลออก ของสิ่งที่บรรจุอยู่ในอวัยวะนั้นๆ
โรคของหูรูด นอกจากเกิดจากการเสื่อมตามวัยของเนื้อเยื่อหูรูดเช่นเดียวกับอวัยวะต่างๆทั่วร่างกายแล้ว ยังมักเกิดจากมีการเพิ่มแรงดันในอวัยวะนั้นๆ จึงส่งผลถึงหูรูดเกิดการอ่อนแรง ขาดประสิทธิภาพในการกักเก็บสิ่งต่างๆที่อยู่ในอวัยวะนั้นๆ เช่น โรคของหูรูดของอวัยวะในระบบทางเดินอาหาร มักมีปัจจัยเสี่ยงจาก โรคอ้วน การเบ่งอุจจาระ การตั้งครรภ์ เป็นต้น
ทั้งนี้ ในร่างกายมีหูรูดหลายตำแหน่ง แต่หูรูดที่สำคัญและมักก่อให้เกิดอาการที่พบได้บ่อย คือ
- หูรูดปลายหลอดอาหารส่วนที่ต่อกับกระเพาะอาหาร ซึ่งถ้าหย่อนสมรรถภาพ จะเป็นสา เหตุให้เกิดโรคกรดไหลย้อน
- หูรูดระหว่างกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ และหูรูดที่ปากท่อปัสสาวะ ที่เมื่อเสื่อมสมรรถภาพจะก่อให้เกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ โดยเฉพาะในผู้หญิง (การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในสตรี) และ
- หูรูดปากทวารหนัก ที่เมื่อเสื่อมสมรรถภาพ จะก่อให้เกิดภาวะกลั้นอุจจาระไม่อยู่
บรรณานุกรม
1. Sphincter http://en.wikipedia.org/wiki/Sphincter [2014,April26].