หลับไม่ลงในวัยดึก (ตอนที่ 2)

หลับไม่ลงในวัยดึก-2

      

      โดยทั่วไป แพทย์จะแนะนำว่า ผู้ใหญ่ควรนอนให้ได้ 7-8 ชั่วโมงต่อคืน แต่ในผู้สูงอายุแล้ว การสร้างเมลาโทนินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยในการนอนหลับจะลดลง ทำให้การหลับลึกน้อยลงและมีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าคนในวัยหนุ่มสาว

      ดังนั้น ความผิดปกติด้านการนอน (Sleep disorders) จึงเป็นสิ่งปกติที่พบได้ทั่วไปในผู้สูงอายุ ซึ่งเมื่อมีอายุมากขึ้นพฤติกรรมการนอนจะเปลี่ยนไป อาจทำให้ผู้สูงอายุมีอาการ

  • นอนหลับยากขึ้น
  • นอนได้ชั่วโมงที่น้อยลง
  • มักตื่นกลางดึกหรือตื่นแต่เช้าตรู่
  • คุณภาพการนอนแย่ลง

      ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงในการหกล้มและอ่อนเพลียระหว่างวัน สำหรับสาเหตุของความผิดปกติด้านการนอนในผู้ใหญ่ อาจได้แก่

  • ขาดการออกกำลังกาย
  • ความเครียด เช่น การเกษียณอายุ คู่ครองเสียชีวิต ปัญหาการเงิน
  • ขาดกิจกรรมทางสังคม
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep apnea)
  • กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (Restless leg syndrome = RLS)
  • ภาวะขากระตุกขณะหลับ (Periodic limb movement disorder)
  • โรคของการนอนผิดเวลา (Circadian rhythm sleep disorders)
  • REM behavior disorder

      หรือมีสภาวะการเจ็บป่วยทางร่างกาย (Medical conditions) เช่น

  • โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)
  • โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease)
  • การเจ็บปวดเรื้อรัง เช่น ปวดข้ออักเสบ (Arthritis pain)
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular disease)
  • มีสภาวะทางระบบประสาท (Neurological conditions)
  • มีสภาวะทางระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal conditions)
  • มีสภาวะทางระบบการหายใจหรือปอด
  • การไม่สามารถควบคุมกระเพาะปัสสาวะ (Poor bladder control)

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Sleep Tips for Older Adults. https://www.helpguide.org/articles/sleep/how-to-sleep-well-as-you-age.htm/ [2018, January 15].
  2. Sleep Disorders in Older Adults. https://www.healthline.com/health/sleep/sleep-disorders-in-the-elderly [2018, January 15].
  3. Sleep disorders in older adults. https://medlineplus.gov/ency/article/000064.htm [2018, January 15].