หยดนี้ให้ชีวิต (ตอนที่ 2)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 26 กันยายน 2563
- Tweet
คุณสมบัติของผู้ที่จะบริจาคเลือด (ต่อ)
1. หากเคยได้รับการผ่าตัดใหญ่ต้องเกิน 6 เดือน ผ่าตัดเล็กต้องเกิน 1 เดือน
2. ท่านหรือคู่ครองของท่านต้องไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศหรือเบี่ยงเบนทางเพศ
3. ต้องไม่มีประวัติยาเสพติดหรือเพิ่งพ้นโทษต้องเกิน 3 ปีและสุขภาพดี
4. หากเจาะหู สัก ลบรอยสัก หรือฝังเข็มต้องเกิน 1 ปี
5. หากมีประวัติเจ็บป่วยและได้รับโลหิตของผู้อื่นต้องเกิน 1 ปี
6. หากมีประวัติเป็นมาลาเรียถ้าเคยเป็นต้องหายมาแล้วเกิน 3 ปี หากเคยเข้าไปในพื้นที่ที่มีเชื้อมาลาเรียชุกชุมต้องทิ้งระยะอย่างน้อยเกิน 1 ปีจึงบริจาคโลหิตได้
7. ต้องไม่ได้รับวัคซีนในระยะ 14 วันหรือเซรุ่มในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา
8. ก่อนบริจาคโลหิตต้องรับประทานอาหารให้เรียบร้อยหลีกเสี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง
ทั้งนี้ก่อนเข้าบริจาคจะมีการตรวจสอบเลือดก่อนทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย
เลือด (Blood) ของเหลวที่นำพาออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงเซลล์ทั่วร่างกาย พร้อมกับนำคาร์บอนไดออกไซด์และของเสียต่างๆ ออกจากเซลล์ โดยอาศัยการสูบฉีดของหัวใจ ที่จริงแล้วถือว่าเลือดเป็นทั้งเนื้อเยื่อ (Tissue) และของเหลว โดยถือเป็นเนื้อเยื่อเพราะมีเซลล์และโปรตีนที่ลอยอยู่ในเลือด จึงทำให้เลือดข้นกว่าน้ำ
ในร่างกายแต่ละคนจะมีปริมาณเลือดอยู่ประมาณ 5 ลิตร ครึ่งหนึ่งของเลือดจะเป็นของเหลวที่เรียกว่า พลาสมา (Plasma) ส่วนอีกครึ่งหนึ่งจะประกอบด้วยเซลล์เม็ดเลือด (Blood cells) ซึ่ง ได้แก่
- เซลล์เม็ดเลือดแดง (Red blood cells)
- เซลล์เม็ดเลือดขาว (White blood cells)
- เกล็ดเลือด (Platelets)
พลาสมา (Plasma) มีส่วนประกอบของน้ำประมาณร้อยละ 92 ส่วนอีกร้อยละ 8 ประกอบด้วย
- คาร์บอนไดออกไซด์
- กลูโคส
- ฮอร์โมน
- โปรตีน
- เกลือแร่
- ไขมัน
- วิตามิน
แหล่งข้อมูล:
- แจ้งกำหนดข้อห้ามบริจาคเลือด. http://www.thaihealth.or.th/Content/42689-แจ้งกำหนดข้อห้ามบริจาคเลือด.html[2020, September 25].
- Blood. https://www.britannica.com/science/blood-biochemistry [2020, September 25].
- Picture of Blood. https://www.webmd.com/heart/anatomy-picture-of-blood#1 [2020, September 25].
- How does blood work, and what problems occur? https://www.medicalnewstoday.com/articles/196001#structure [2020, September 25].