หมดไฟ (ตอนที่ 5 และตอนจบ)

หมดไฟ-5

      

      การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและการพูดกับผู้รับฟังที่ดีเป็นสิ่งที่จะช่วยระบายได้เป็นอย่างดี โดยการจัดการกับภาวะหมดไฟ อาจทำได้ด้วยการ

  • ประเมินสาเหตุของการเกิดภาวะหมดไฟ
  • ตั้งเป้าหมายใหม่ ปรับสมดุลในชีวิตระหว่างเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว อะไรที่ต้องทำและอะไรที่สามารถรอได้
  • เข้าสังคม พูดคุยกับคนอื่น เช่น คนที่ทำงาน เพื่อน หรือ คนรัก (แทนที่จะอยู่คนเดียวหรือนั่งเล่นแต่สมาร์ทโฟน)
  • พยายามหลีกเลี่ยงคนที่มีทัศนคติด้านลบ เช่น คนที่ไม่ทำอะไรเอาแต่บ่น
  • รู้จักปฏิเสธิอย่างสุภาพกับงาน
  • ทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย เช่น ลาพักร้อนไปเที่ยว เล่นโยคะ เล่นไทเก็ก
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • นอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง
  • กินอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงของหวาน
  • เจริญสติ (Mindfulness) สนใจที่อารมณ์ ความคิด และความรู้สึกที่เกิดขึ้นทุกขณะจิต โดยไม่มีการตัดสินหรือให้ค่าแต่อย่างใด
  • ปรึกษาจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาคำแนะนำที่ดี

      อนึ่ง ภาวะหมดไฟอาจเป็นผลมาจากความเครียดที่เกิดขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งไม่เหมือนกับการเครียดมาก ความเครียดเป็นเรื่องของแรงกดดันที่มีมากเกินไปต่อร่างกายและจิตใจ ซึ่งหากบุคคลนั้นสามารถทำหรือควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างได้ เขาก็จะรู้สึกดีขึ้น ในขณะที่ภาวะหมดไฟมีลักษณะของความไม่พอ รู้สึกหมดแรง ขาดแรงจูงใจ มองไม่เห็นทางแก้ หรือไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านบวก

      หากทำการเปรียบเทียบระหว่างภาวะเครียดและภาวะหมดไฟแล้ว ภาวะเครียดที่มากเกินไปจะทำให้รู้สึกเหมือนคนที่จมอยู่ในภาระ ในขณะที่ภาวะหมดไฟจะรู้สึกเหมือนเหือดแห้ง นอกจากนี้เรามักจะรู้สึกได้ถึงแรงกดดันของความเครียด แต่ไม่ค่อยจะสังเกตได้ถึงภาวะหมดไฟที่เกิดขึ้น

      

 ภาวะเครียด
 ภาวะหมดไฟ
 แสดงถึงข้อผูกพันที่มากเกิน (Over-engagement)  แสดงถึงการปลดปล่อย (Disengagement)
 อารมณ์มากเกิน (Overreactive)  อารมณ์ทื่อๆ (Blunt)
 มีความเร่งรีบและทำงานมากเกิน (Hyperactivity)  รู้สึกหมดหนทางช่วยเหลือและสิ้นหวัง
 ขาดพลังงาน  ขาดแรงจูงใจ สิ้นหวัง
 ทำให้เกิดโรควิตกกังวล (Anxiety disorders)  แยกตัวออก ซึมเศร้าหดหู่
 สิ่งที่เสียหายอย่างแรก คือ ด้านร่างกาย  สิ่งที่เสียหายอย่างแรก คือ ด้านอารมณ์
 อาจฆ่าตัวตายก่อนกำหนด  อาจทำให้ชีวิตไร้ค่าที่จะอยู่ต่อไป

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Job burnout: How to spot it and take action. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/in-depth/burnout/art-20046642 [2019, July 25].
  2. Burnout Prevention and Treatment. https://www.helpguide.org/articles/stress/burnout-prevention-and-recovery.htm/ [2019, July 25].
  3. Recovering From Burnout. https://www.mindtools.com/pages/article/recovering-from-burnout.htm [2019, July 25].