วัณโรคนอกปอด (ตอนที่ 3)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 3 สิงหาคม 2562
- Tweet
ด้าน ศ.นพ.ประกิต ทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ในฐานะอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปอด อดีตอาจารย์คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงวัณโรคโพรงจมูกว่า ปกติผู้ป่วยวัณโรคประมาณ 80% ตรวจพบที่ปอด และอีก 20% เกิดขึ้นนอกปอด ที่พบบ่อย คือ ต่อมน้ำเหลือง รองลงมาตามกระดูก ลำไส้ และผิวหนัง
การรับเชื้อวัณโรคเข้าร่างกายเกือบทั้งหมดจะรับทางปอด จากการหายใจเอาเชื้อวัณโรคที่ล่องลอยในอากาศ เชื้อวัณโรคก่อตัวในปอด และกระจายโดยกระแสเลือดไปยังอวัยวะต่างๆ ได้ทั่วร่างกาย จากนั้นไปเกาะตามจุดต่างๆ ในอวัยวะ มีทั้งพักและแฝงตัว และหากภูมิต้านทานร่างกายลดลงก็จะเกิดโรคขึ้น
เหตุผลที่ “วัณโรคปอด” พบได้มาก เพราะเป็นจุดที่รับเชื้อมาก และเป็นอวัยวะที่มีออกซิเจนมาก วัณโรคระยะที่ยังไม่เป็นมากมักไม่แสดงอาการป่วย ยกเว้นอาการรุนแรง เกิดแผลในปอด จะมีอาการไอเรื้อรัง อาจมีหรือไม่มีไอเป็นเลือด ส่วนจุดอื่นที่ไม่แสดงอาการ เช่น ต่อมน้ำเหลือง ก็สามาถคลำก้อนเจอได้ ส่วนอาการทั่วไปก็คือ น้ำหนักลด อ่อนเพลีย และมีไข้ต่ำๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ
ในปีหนี่งคนไทยเป็นวัณโรคนับแสนราย ถือเป็นสถิติไม่ค่อยดีนัก ที่มีผลต่อสุขภาพของประชากร และเป็นประเทศที่มีอัตราการเป็นวัณโรคสูงเป็นอันดับ 14 ของโลก
สำหรับการป้องกันวัณโรค ศ.นพ.ประกิต แนะนำให้รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ที่อยู่อาศัยต้องให้อากาศถ่ายเทได้ดี ไม่กินเหล้า สูบบุหรี่ หากมีอาการไอเรื้อรังเกิน 2 สัปดาห์ น้ำหนักลด ไอมีเลือดปน มีประวัติคนใกล้ชิดเป็นวัณโรคปอด ควรจะไปปรึกษาแพทย์ ส่วนวัณโรคที่เป็นนอกปอดส่วนใหญ่จะไม่ติดต่อ เนื่องจาเชื้อวัณโรคจะไม่ล่องลอยในอากาศ
วัณโรคนอกปอด (Extrapulmonary tuberculousis: Extrapulmonary TB) มักเกิดจากการติดเชื้อทางกระแสเลือด (Hematogenous dissemination) โดยบางครั้งเชื้อกระจายมาจากอวัยวะที่อยู่ใกล้กัน และจะมีอาการแตกต่างกันไปตามตำแหน่งที่เกิด แต่โดยทั่วไปจะมีอาการเป็นไข้ไม่สบาย อ่อนเพลีย และน้ำหนักลด วัณโรคนอกปอดมักเกิดได้หลายตำแหน่งในร่างกาย เช่น
วัณโรคข้าวฟ่าง (Miliary TB) เกิดเมื่อเชื้อวัณโรคเข้าสู่กระแสเลือดและแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย ซึ่งปอดและไขกระดูก (Bone marrow) จะเป็นตำแหน่งที่ได้รับเชื้อบ่อยที่สุด วัณโรคข้าวฟ่าง มักเกิดกับ
- เด็กที่อายุน้อยกว่า 4 ปี
- ผู้สูงอายุ
- ผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ (Immunocompromised people)
แหล่งข้อมูล:
- วัณโรคระยะแฝงคืออะไร? พบชาวไทยติดเชื้อ20ล้านคน! https://www.dailynews.co.th/regional/717026[2019, August 2].
- Extrapulmonary Tuberculousis (TB). https://www.msdmanuals.com/professional/infectious-diseases/mycobacteria/extrapulmonary-tuberculosis-tb[2019, August 2].