ลมชักในผู้หญิง (Epilepsy in women)

สารบัญ

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทนำ

โรคลมชัก (Epilepsy) เป็นโรคที่พบได้ในทุกเพศทุกวัยรวมทั้งหญิงวัยเจริญพันธุ์ การดู แลผู้หญิงที่มีอาการโรคลมชักนั้นต้องมีประเด็นที่ต้องพิจารณาเฉพาะเพิ่มเติมจากผู้ชายที่มีอา การโรคลมชัก เพราะต้องคำนึงถึง

  • ผลของโรคลมชักต่อการตั้งครรภ์
  • ผลของการรักษาด้วยยากันชักต่อทารกในครรภ์
  • และผลของการตั้งครรภ์ต่ออาการชัก

        นอกจากนี้ในปัจจุบันยากันชักยังสามารถนำมาใช้รักษาอาการปวดจากระบบประสาทและอาการทางสุขภาพจิตได้ด้วย บทความนี้จะสรุปเป็นประเด็นคำถามต่างๆที่พบบ่อยและยังมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องในโรคลมชักในผู้หญิงดังนี้

ผู้ป่วยหญิงโรคลมชักมีโอกาสตั้งครรภ์ต่างจากผู้หญิงที่ไม่ได้เป็นโรคลมชักหรือไม่?

ลมชักในผู้หญิง

คำถามนี้เป็นคำถามที่พบบ่อยที่สุดคือ ผู้หญิงที่มีอาการชักหรือที่ทานยากันชักนั้นสามารถ ตั้งครรภ์ได้หรือไม่ เพราะคนส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจว่า ผู้ป่วยโรคลมชักไม่สามารถแต่งงาน หรือไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เพราะจะกระตุ้นให้เกิดอาการชักได้ง่ายขึ้น หรือไม่สามารถตั้ง ครรภ์ได้เพราะทารกอาจมีความพิการแต่กำเนิดได้

จากหลายการศึกษาพบว่า โอกาสที่ผู้ป่วยหญิงโรคลมชักตั้งครรภ์จะต่ำกว่าผู้หญิงทั่วไป อาจเนื่องจากโอกาสแต่งงานต่ำเพราะคนส่วนใหญ่ยังมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้ป่วยโรคลมชัก โดยครอบครัวมักไม่อนุญาตให้สมาชิกในครอบครัวแต่งงานกับผู้ป่วยโรคลมชัก โรคลมชักที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ การรับประทานยากันชักก็ส่งผลต่อโอกาสการตั้งครรภ์ นอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์อาจใช้ยากันชักเพื่อรักษาโรคอื่นๆเช่น รักษาอาการปวดจากระบบประสาทหรือปวดศีรษะไมเกรน ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์ที่ใช้ยากันชักต้องมีข้อระวังเป็นพิเศษเพราะผลของยากันชักต่อทารกในครรภ์ก่อให้ เกิดความพิการแต่กำเนิดได้สูงประมาณ 2 เท่าเมื่อเทียบกับทารกที่เกิดจากแม่ที่ไม่ได้รับประทานยากันชักกล่าวคือ การคลอดปกติทั่วไปทารกที่เกิดมีโอกาสพบความพิการแต่กำเนิดประมาณ 2 - 3% ในกรณีที่ทารกเกิดจากแม่ที่ทานยากันชักพบความพิการแต่กำเนิดประมาณ 4 - 6% และยิ่งมีโอกาสสูงมากขึ้นกรณีที่ใช้ยากันชักหลายชนิดร่วมกัน

ผู้ป่วยโรคลมชักไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชายสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เหมือนคนปกติ เพียงแต่ในกรณีผู้หญิงที่ทานยากันชักนั้นต้องมีการวางแผนครอบครัวที่ดีว่าต้องการตั้งครรภ์หรือไม่ ถ้าต้อง การมีบุตร/ตั้งครรภ์ต้องแจ้งให้แพทย์ผู้รักษาโรคลมชักทราบเพื่อจะได้แนะนำเกี่ยวกับผลกระทบระหว่างโรค ยาที่บริโภค และการตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์ส่งผลกระทบต่อการควบคุมอาการชักหรือไม่? อย่างไร?

เมื่อผู้ป่วยโรคลมชักตั้งครรภ์จะพบว่าอาการชักส่วนใหญ่ไม่เปลี่ยนแปลง โดยจากการศึก ษาผู้ป่วยหญิงตั้งครรภ์ 1,736 รายพบว่า 60% ควบคุมการชักได้เป็นอย่างดี และจากการศึกษาอื่นๆ 15 - 30% ที่พบว่าการชักควบคุมได้ไม่ดี ทั้งนี้สาเหตุที่มีการชักบ่อยขึ้นในระหว่างการตั้ง ครรภ์เนื่องมาจาก

  1. ความสม่ำเสมอในการทานยากันชักลดลงเนื่องมาจากความกังวลใจของผู้ป่วยว่า ยาที่รับประทานอาจส่งผลให้ทารกในครรภ์มีความผิดปกติได้ ประกอบกับมีอาการแพ้ท้อง อา เจียน
  2. การเปลี่ยนแปลงของการเผาผลาญยา กำจัดยาออกจากร่างกาย และรวมทั้งปริ มาณการไหลเวียนเลือดในหญิงตั้งครรภ์
  3. การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์
  4. การพักผ่อนไม่เพียงพอจากการตั้งครรภ์เนื่องจากมีความเครียดทั้งทางกายและจิต ใจ ช่วงเวลาขณะคลอดก็มีโอกาสชักสูงขึ้น 2 - 5%
  5. น้ำหนักตัวที่มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างการตั้งครรภ์นั้นส่งผลต่อการควบคุมอาการชักบ้างแต่ไม่มากกล่าวคือ เมื่อมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลต่อการกระจายตัวของยาและ ปริมาณยาต่อน้ำหนักตัวบ้าง โดยแพทย์จะติดตามระดับยากันชักเป็นระยะๆเพื่อให้ทราบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในภาพรวมอย่างไร แต่ถ้าไม่มีอาการชักเกิดขึ้นหรือระดับยาไม่ทำให้เกิดผลข้าง เคียงจากยาแพทย์ก็จะไม่มีการปรับเปลี่ยนขนาดยากันชัก

ดังนั้นถ้าผู้ป่วยมีความเข้าใจถูกต้องและตั้งใจอย่างดีในการรับประทานยากันชัก พักผ่อนให้เพียงพอ ก็สามารถตั้งครรภ์ได้อย่างปกติ

โรคลมชักมีผลอย่างไรต่อการตั้งครรภ์?

ผลของโรคลมชักต่อการตั้งครรภ์ต้องมองให้ครบทั้งผลต่อทารกในครรภ์และผลต่อการคลอด โดยทั่วไปแล้วผลกระทบของโรคลมชักต่อการตั้งครรภ์นั้นมีไม่มากเช่น การคลอดก่อนกำหนด  ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์หรือรกลอก และการชักขณะคลอด

การพิจารณาวิธีการคลอดนั้นทำเช่นเดียวกับการคลอดปกติทั่วไป การคลอดด้วยวิธีพิเศษ เช่น ผ่าตัดคลอด มีข้อบ่งชี้เช่นเดียวกับหญิงตั้งครรภ์ทั่วไป ยกเว้นถ้าเกิดการชักขณะกำลังคลอดนั้นต้องพิจารณาช่วยคลอดให้เร็วขึ้น ที่สำคัญต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่าการเป็นโรคลมชักไม่ใช่ข้อบ่งชี้ของการผ่าตัดคลอด

ผลของโรคลมชักต่อทารกในครรภ์นั้นก็มีผลน้อยมาก โดยบางการศึกษาพบว่าทารกจะมีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่าทารกที่คลอดจากแม่ที่ไม่เป็นโรคลมชัก

ยากันชักมีผลต่อทารกในครรภ์อย่างไร?

ยากันชักมีผลต่อทารก 2 ด้านได้แก่

  1. ด้านความจำและความสามารถด้านการเรียนรู้ และ
  2. ความพิการแต่กำเนิดโดยพบว่าโอกาสการเกิดพิการแต่กำเนิดประมาณ 2 - 3 เท่าของ ทารกที่คลอดจากแม่ที่ไม่ได้รับประทานยากันชัก ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดการพิการแต่กำเนิดได้ แก่ ชนิดของยากันชัก จำนวนยากันชักว่าใช้กี่ชนิด และขนาดของยากันชัก รูปแบบของพิการแต่กำเนิดขึ้นกับชนิดของยา เช่น
  • ความพิการแต่กำเนิดของไขสันหลังและสมองพบในยากันชักคาร์บามาซีปีน (Carbamazepine) และวาวโปอิค (Valproic acid)
  • ส่วนภาวะปากแหว่งเพดานโหว่พบในยากันชักลาโมทริจีน (Lamotrigine)

จากการรวบรวมข้อมูลของการศึกษาถึงผลของยากันชักต่อการเกิดความพิการแต่กำเนิดดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 แสดงผลการเกิดความพิการแต่กำเนิดจากยากันชัก
ยากันชัก จำนวนการตั้งครรภ์ จำนวนพิการแต่กำเนิด
ราย %

วาวโปรอิค (Valproic acid)

1,395

114

8.17

คาร์บามาซีปีน (Carbamazepine)

3,281

  91

2.77

ลาโมทริจีน (Lamotrigine)

2,660

  59

2.22

ฟีโนบาร์บิทอล (Phenobarbital)

    77

   5

6.50

อย่างไรก็ตามถ้าขนาดยากันชักไม่สูงโอกาสการเกิดความพิการแต่กำเนิดก็ไม่ต่างกันระ หว่างยากันชักชนิดต่างๆเช่น วาวโปอิคขนาด 800 - 100 มก./วัน พบว่าไม่มีผลต่อทารกในครรภ์ มากกว่ายากันชักชนิดอื่นๆ

ส่วนผลต่อความจำและความสามารถด้านการเรียนรู้นั้น ข้อมูลที่มีรายงานในขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด ดังนั้นการใช้ยากันชักในผู้ป่วยหญิงโรคลมชัก แพทย์จึงใช้ขนาดต่ำที่สุดที่สา มารถควบคุมอาการได้ และมักเป็นการใช้ยากันชักเพียงชนิดเดียว ร่วมกับควรแนะนำในการวาง แผนครอบครัวต่อผู้ป่วยหญิงเพื่อการวางแผนในการรักษาให้ดีที่สุด

ผู้ป่วยหญิงโรคลมชักควรปรึกษาแพทย์ในประเด็นใดบ้าง?

ประเด็นต่างๆที่ผู้ป่วยและครอบครัวควรพูดคุยปรึกษากับแพทย์ผู้รักษาประกอบด้วย

  1. การวางแผนครอบครัว วิธีการคุมกำเนิดวิธีต่างๆ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ฮอร์โมนคุม กำเนิดเพราะยากันชักจะมีปฏิกิริยากับฮอร์โมนคุมกำเนิด ส่งผลให้ยากันชักและฮอร์โมนคุมกำ เนิดมีระดับลดลงทั้งคู่ทำให้มีโอกาสชักได้ง่ายขึ้นและการคุมกำเนิดไม่ได้ผล การคุมกำเนิดที่เหมาะสมที่สุดคือ การใช้ถุงยางอนามัยในผู้ชาย และถ้าจะตั้งครรภ์ควรต้องควบคุมการชักให้ได้ดีก่อนนานอย่างน้อย 1 ปี ดีที่สุดคือคุมอาการชักได้นานอย่างน้อย 2 ปีและค่อยๆหยุดยากันชักได้หรือใช้ยากันชักในขนาดต่ำที่สุด ควรปรึกษาแพทย์ผู้ให้การรักษาก่อนการตั้งครรภ์เสมอเพื่อการดูแลตนเองและทารกในครรภ์ที่ถูกต้อง ทั้งนี้โอกาสที่บุตรจะเป็นโรคลมชักมีโอกาสต่ำมากๆ
  2. การควบคุมอาการชัก ส่วนใหญ่แล้วการตั้งครรภ์ไม่มีผลต่อการควบคุมอาการชัก
  3. การตั้งครรภ์และการคลอด ซึ่งเหมือนปกติกับหญิงตั้งครรภ์ทั่วๆไป ไม่มีความจำ เป็นต้องผ่าตัดคลอด แต่ต้องฝากครรภ์อย่างใกล้ชิดมากกว่าการตั้งครรภ์ทั่วไป
  4. ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ถ้าเกิดการชักขณะตั้งครรภ์ ผู้ป่วยหญิงโรคลมชักอาจรับ ประทานยาไม่สม่ำเสมอเนื่องจากกลัวผลกระทบของยากันชักต่อทารกในครรภ์ ต้องอธิบายให้หญิงตั้งครรภ์ทราบถึงความจำเป็นของการทานยากันชักอย่างสม่ำเสมอและข้อเสียของการชัก เช่น อาจก่อให้ทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน หรือมารดาล้มลงทำให้เกิดอุบัติเหตุและแท้งบุตร หรือคลอดก่อนกำหนดได้
  5. ผลของยากันชักต่อทารกในครรภ์ ดังที่กล่าวแล้วในหัวข้อ ผลของยากันชักต่อทา รกในครรภ์
  6. การตรวจหาความผิดปกติของทารกในครรภ์ก่อนคลอด ด้วยการตรวจอัลตราซาวด์ หรือตรวจหาระดับสารอัลฟ่าฟีโตรโปรตีน (Alpha-fetroprotein) เพื่อตรวจหาความผิดปกติของทารกในครรภ์ ซึ่งก็มีข้อจำกัดถึงความแม่นยำและไม่สามารถตรวจได้ทุกโรงพยาบาล
  7. การทานยากันชัก ซึ่งต้องมีความสม่ำเสมอ ใช้ยากันชักน้อยชนิด ขนาดต่ำสุด และอาจต้องตรวจวัดระดับยากันชักเป็นระยะๆ
  8. การวางแผนก่อนการตั้งครรภ์ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเพราะจะลดโอกาสการเสี่ยงทั้งมารดาและทารกในครรภ์ได้ เพื่อแพทย์จะได้วางแผนการรักษาได้ถูกต้อง รวมทั้งการให้รับประ ทานกรดโฟลิก (Folic acid) 5 มก./วันก่อนการตั้งครรภ์เพื่อป้องกันความพิการทางสมองและไขสันหลังของทารกในครรภ์
  9. จำนวนครั้งการตั้งครรภ์และระยะห่างของแต่ละครรภ์ ในผู้ป่วยที่ทานยากันชักนั้น สามารถตั้งครรภ์ได้ตามที่ต้องการ ถ้าไม่มีความผิดปกติใดๆเกิดขึ้นกับผู้ป่วยและบุตร ขึ้นอยู่กับความต้องการและความเหมาะสมของแต่ละครอบครัว
  10. การดูแลตนเองระหว่างการตั้งครรภ์ เป็นเรื่องที่สำคัญคือ ต้องฝากครรภ์อย่างสม่ำ เสมอและพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด ทานยาให้ครบถ้วน และถ้ามีความผิดปกติเกิดขึ้นก็ควรรีบมาพบแพทย์ก่อนนัดเสมอ
  11. การดูแลตนเองหลังคลอดเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แตกต่างกับระหว่างตั้งครรภ์ เพราะต้องเลี้ยงลูกและให้นมบุตรซึ่งแม่จะเหนื่อยมากและอาจชักได้ ดังนั้นต้องพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานยาให้ครบถ้วน และต้องระวังขณะให้นมลูกไม่นอนหลับทับลูกหรือชักขณะให้นมลูก

การตั้งครรภ์ส่งผลต่อระดับยากันชักหรือไม่?

ขณะตั้งครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของหญิงตั้งครรภ์ส่งผลต่อระดับยากันชัก ดังนี้

  1. เพิ่มการขจัดออกของยาเช่น ทางไต ประสิทธิภาพของยาจึงลดลง
  2. การดูดซึมยาลดลงและทานยาได้ปริมาณยาลดลงเนื่องจากมีอาเจียนบ่อยๆ
  3. การเพิ่มขึ้นของปริมาณเลือด/น้ำเลือด
  4. การจับของยากับโปรตีนในเลือดลดลงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงปริมาณของยากันชักส่วนที่เป็นตัวออกฤทธิ์ ประสิทธิภาพยาจึงอาจลดลง

จากปัจจัยดังกล่าวข้างต้นจึงมีความจำเป็นต้องเฝ้าติดตามอาการของหญิงตั้งครรภ์อย่าง ต่อเนื่องและใกล้ชิด เพราะอาจเกิดชักได้ง่ายขึ้นถ้าระดับยากันชักลดลงหรือเกิดภาวะยาเป็นพิษ/ผลข้างเคียงจากยาได้ ซึ่งถ้าสามารถตรวจวัดระดับยากันชักได้โดยเฉพาะปริมาณของยากันชัก ก็จะช่วยควบคุมการใช้ยากันชักได้ดีขึ้น

การคลอดและการให้นมบุตรทำได้เป็นปกติหรือไม่?

หญิงโรคลมชักตั้งครรภ์ได้ตามปกติและสามารถคลอดได้ด้วยวิธีการคลอดทางช่องคลอด /วิธีปกติ ไม่มีความจำเป็นต้องใช้วิธีช่วยคลอดพิเศษใดๆรวมทั้งการผ่าคลอด ยกเว้นเมื่อมีอาการชักขณะคลอด และสามารถให้นมบุตรได้ตามปกติเพราะยากันชักผ่านออกมาทางน้ำนมเป็นปริ มาณต่ำมาก อย่างไรก็ตามขณะให้นมบุตรต้องระวังไม่ให้บุตรหล่นจากมือหรือนอนทับบุตรตน เองได้เนื่องจากการเหนื่อยล้าหรืออ่อนเพลียมากจะเป็นตัวกระตุ้นให้ชักได้ จึงแนะนำว่าห้ามให้นมในท่านอนเพราะถ้ามีอาการชักหรือเหนื่อยเผลอหลับไปอาจนอนทับลูกได้ การให้นมท่าที่เหมาะสมคือการให้ในท่านั่งและมีโต๊ะรอง ร่วมกับมีคนอื่นอยู่เป็นเพื่อนด้วยเพราะถ้ามีอาการชักจะได้ช่วยได้ทันและลูกก็ปลอดภัย ระยะเวลาการให้นมบุตรสามารถให้ได้เหมือนแม่ทั่วไปเช่น 6 เดือน เป็นต้น ไม่มีข้อจำกัดด้านระยะเวลาใดๆ

หญิงตั้งครรภ์โรคลมชักควรดูแลตนเองอย่างไร?

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ

  • ต้องทานยากันชักต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ ห้ามหยุดยากันชักโดยเด็ดขาด
  • ปฏิบัติตามแพทย์พยาบาลทั้งที่รักษาโรคลมชักและสูติแพทย์ให้ถูกต้อง
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะกระตุ้นให้เกิดการชักขณะตั้งครรภ์
  • นัดตรวจฝากครรภ์กับสูติ-นรีแพทย์ อายุรแพทย์ และ/หรือทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ดูแลรักษาเรื่องโรคลมชักอย่างใกล้ชิดทุก 1 เดือน
  • ไม่ควรฝากครรภ์ที่คลินิกแพทย์ส่วนตัว ควรเข้ามาฝากครรภ์ในโรงพยาบาลที่มีความพร้อมจะดี กว่า
  • ควรปรึกษาแพทย์ในเรื่องการวินิจฉัยความผิดปกติของทารกในครรภ์ก่อนคลอด
  • ปฏิบัติตามเมื่อแพทย์แนะนำการตรวจวัดระดับยาและปรับขนาดยากันชักถ้ายังควบคุม

อาการชักไม่ได้หรือระดับยากันชักสูงเกินระดับที่เหมาะสม ทั้งนี้ให้มั่นใจว่าสามารถตั้งครรภ์และสามารถคลอดบุตรได้ตามปกติ ซึ่งประมาณ 95% ของบุตรที่คลอดจะปกติดี

  • การปฏิบัติตัวด้านอื่นๆก็เหมือนกับแม่ที่ตั้งครรภ์ทั่วไป
    • แต่ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ
    • ไม่ควรอดนอน
    • ห้ามขาดยากันชัก
  • กรณีที่มีอาการผิดปกติทั้งแม่ที่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ควรต้องรีบมาพบแพทย์ก่อนนัด ไม่ต้องรอให้ถึงวันนัด เช่น
    • แม่มีอาการชักบ่อยครั้ง
    • หรือการชักแต่ละครั้งชักนานมากกว่าเดิม
    • ล้มลงกับพื้นขณะชัก
    • และ/หรือได้รับอุบัติเหตุจากการชัก
    • หรือทารกในครรภ์ไม่ดิ้นหรือดิ้นลดลงมากๆ

ข้อบ่งชี้ของการคลอดก่อนกำหนดและการทำแท้งของการตั้งครรภ์ในโรคลมชักแตก ต่างจากการตั้งครรภ์ทั่วไปหรือไม่?

การต้องคลอดก่อนกำหนด หรือการต้องทำแท้งของผู้ป่วยโรคลมชักโดยทั่วไปแล้วไม่มีความแตกต่างกับการตั้งครรภ์ทั่วไปหรือในผู้ป่วยโรคอื่นๆคือ ต้องพิจารณาถึงสุขภาพของแม่และ ความสมบูรณ์ของทารกในครรภ์ ดังนั้นการประเมินอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอและถูกต้องโดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญนั้นมีความสำคัญมาก กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการชักแบบต่อเนื่อง(Status epilepticus) แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดคลอดก่อนกำหนดถ้าอายุครรภ์นั้นเหมาะสมคือ ทารกในครรภ์มีความสม บูรณ์และมีน้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 1,500 กรัม

การดำรงชีวิตของผู้หญิงที่เป็นโรคลมชักแตกต่างกับหญิงทั่วไปอย่างไร?

การดำรงชีวิตโดยทั่วไปของผู้หญิงที่เป็นโรคลมชักไม่แตกต่างกับคนทั่วไปคือ สามารถทานอาหารได้อย่างปกติ ไม่มีอาหารต้องห้าม ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประ กอบ การเล่นกีฬาก็สามารถเล่นได้ตามปกติ มีข้อควรระวังในบางชนิดกีฬาเท่านั้นเช่น การว่ายน้ำ ควรมีผู้ดูแลที่ทราบว่าเราเป็นโรคลมชัก จะได้ดูแลเป็นพิเศษถ้ามีอาการชักเกิดขึ้นจะได้ช่วย เหลือได้ทัน การเล่นกีฬาที่มีการปะทะหรือกีฬาผาดโผนก็ควรระมัดระวังเช่นกัน

สรุป

  • ผู้ป่วยหญิงโรคลมชัก สามารถ แต่งงาน มีเพศสัมพันธ์ ตั้งครรภ์ได้เช่นเดียวกับหญิงทั่ว ไป
  • เพียงแต่ต้องได้รับการวางแผนการรักษาและได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด
    • รวมทั้งต้องได้รับการอธิบายจนเข้าใจอย่างดี ถึง
    • ประเด็นต่างๆที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมการชัก
    • ผลของการชักต่อการตั้งครรภ์
    • ผลของยากันชัก
  • และผลของการชักต่อทารกในครรภ์
  • ผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์อย่างใกล้ชิดตลอดระยะเวลาที่รักษาโรคลมชักทั้ง ก่อนตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอด
  • ไม่ควรหยุดยากันชักเองโดยเด็ดขาด
  • ควรพบแพทย์ตามนัด
  • และถ้ามีอาการผิดปกติเกิดขึ้นควรต้องรีบพบแพทย์/มาโรงพยาบาลก่อนนัดเสมอ

บรรณานุกรม

  1. Brodtkorb E, Reimers A. Seizure control and pharmacokinetics of antiepileptic drugs in pregnancy women with epilepsy. Seizure 2008;17:160-5.
  2. Kaplan PW, Norwitz ER, Ben-Menachem E, et al. Obstetric risks for women with epilepsy during pregnancy. Epilepsy & Behavior 2007;11:283-91.
  3. Tomson T, Battino D. Teratogenic effects of antiepileptic drugs. Seizure 2008;17:160-71.
  4. Tomson T, Hiilesmaa V. Epilepsy in pregnancy. BMJ 2007;335:769-73.