ลมชักเหตุสมองกลีบขมับ: ลมชักเฉพาะที่แบบขาดสติเหตุสมองกลีบขมับ (Temporal lobe epilepsy)
- โดย ศ.นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า
- 17 ตุลาคม 2564
- Tweet
- บทนำ
- ลมชักเหตุสมองกลีบขมับคืออะไร? มีอาการอย่างไร?
- ลมชักเหตุสมองกลีบขมับพบบ่อยหรือไม่?
- ใครมีปัจจัยเสี่ยงเกิดลมชักเหตุสมองกลีบขมับ?
- ควรพบแพทย์เมื่อใด?
- แพทย์วินิจฉัยลมชักเหตุสมองกลีบขมับได้อย่างไร?
- จำเป็นต้องตรวจสมองทางรังสีวินิจฉัยหรือไม่?
- รักษาลมชักเหตุสมองกลีบขมับอย่างไร?
- ลมชักเหตุสมองกลีบขมับมีอันตรายหรือไม่?
- การตอบสนองต่อการรักษาดีหรือไม่?
- มีข้อบ่งชี้ในการรักษาด้วยการผ่าตัดอย่างไร?
- ดูแลตนเองอย่างไร?
- ควรพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อใด?
- ห้ามผู้ป่วยทำกิจกรรมใด?
- ผู้ป่วยสามารถแต่งงาน มีบุตรได้หรือไม่?
- ป้องกันลมชักเหตุสมองกลีบขมับอย่างไร?
- สรุป
-
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ลมชัก (Epilepsy)
- ชักสะดุ้ง
- ชักเกร็งกระตุก (Generalised tonic-clonic seizures)
- ชักเฉพาะที่แบบมีสติ (Simple partial seizure)
- ลมชักชนิดเหม่อ
- ชักกระตุก (Clonic seizure)
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง การตรวจอีอีจี (Electroencephalography; EEG)
- ชักตัวอ่อน (Atonic seizure)
- ชักเกร็ง (Tonic seizure)
- ผู้มีประวัติไข้ชักในวัยเด็ก พบได้บ่อยกว่าคนที่ไม่มีประวัติดังกล่าว
- กลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อไข้สมองอักเสบ
- มีหลอดเลือดสมองผิดปกติตั้งแต่กำเนิด
- มีความผิดปกติทางระบบประสาทตั้งแต่กำเนิด
- มีอุบัติเหตุต่อสมอง
- การพิจารณาข้อมูลอาการที่ญาติเล่าให้ฟัง และถ้ามีคลิปให้ดูด้วย ก็จะทำให้การวินิจฉัยทำได้ดียิ่งขึ้น
- การตรวจร่างกาย
- การตรวจร่างกายทางระบบประสาท
- และยืนยันการวินิจฉัยด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง
- ถ้ามีเนื้องอก/มะเร็งสมอง ต้องผ่าตัดเอาเนื้องอกออก
- หรือพบการฝ่อของสมองส่วนกลีบขมับก็ต้องพิจารณาให้การรักษาด้วยการผ่าตัด
- และร่วมกับการให้ยากันชัก เป็นการรักษาหลักซึ่งต้องรักษานานประมาณ 3 ปี
- ประมาณร้อยละ 60(60%) ของผู้ป่วยจะตอบสนองดีต่อการรักษาด้วยยากันชักชนิดเดียว
- ผู้ป่วยที่เหลืออาจต้องรักษาด้วยยากันชักฯหลายชนิด
- และพบผู้ป่วยบางส่วนที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยากันชัก อาจต้องให้การรักษาด้วยการผ่าตัดสมองส่วนเกิดโรคร่วมด้วย ซึ่งผู้ป่วยจะตอบสนองต่อการผ่าตัดฯประมาณ 70% ของผู้ป่วยที่ผ่าตัด
- ผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยากันชัก 3 ชนิดที่รักษาด้วยขนาดยาที่เหมาะสม เป็นระยะเวลานานพอสมควรตามดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษา
- ผู้ป่วยมีสาเหตุจากรอยโรคบริเวณสมองส่วนกลีบขมับ
- ผู้ป่วยมีเนื้องอก/มะเร็งสมอง
- ผู้ป่วยมีหลอดเลือดสมองผิดปกติแต่กำเนิด
- ปฏิบัติตาม แพทย์ พยาบาล แนะนำ อย่างเคร่งครัด
- กินยากันชักที่แพทย์สั่งให้ครบถ้วน ถูกต้อง ไม่ขาดยา ไม่ปรับขนาดยาเอง ไม่หยุดยาเอง
- ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะมีผลต่อการทำงานของสมอง
- ไม่ทำงาน หรือทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุรุนแรง เช่น ขับรถ ทำงานกับเครื่องจักร เป็นต้น (อ่านเพิ่มเติมในหัวข้อ ห้ามทำกิจกรรมใด)
- พบแพทย์ตามนัดเสมอ
- ผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติข้างต้น ดังกล่าวในหัวข้อ อาการ บ่อยขึ้นกว่าเดิม
- มีอาการชักที่รุนแรงจากการชักเฉพาะที่แบบขาดสติที่เป็นแบบการชักเกร็ง หรือชักกระตุก ทั้งตัว หรือทั้งชักเกร็งและชักกระตุกทั้งตัว
- มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจากการชัก
- สงสัยแพ้ยากันชัก เช่น ขึ้นผื่น คลื่นไส้มาก ปวดศีรษะมาก หลังกินยาฯ
- กังวลในอาการ
- ผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติข้างต้น ดังกล่าวในหัวข้อ อาการ บ่อยขึ้นกว่าเดิม
- มีอาการชักที่รุนแรงจากการชักเฉพาะที่แบบขาดสติที่เป็นแบบการชักเกร็ง หรือชักกระตุก ทั้งตัว หรือทั้งชักเกร็งและชักกระตุกทั้งตัว
- มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจากการชัก
- สงสัยแพ้ยากันชัก เช่น ขึ้นผื่น คลื่นไส้มาก ปวดศีรษะมาก หลังกินยาฯ
- กังวลในอาการ
- ในผู้ป่วยสตรียังไม่ควรมีบุตร หรือ ตั้งครรภ์ เพราะยากันชักฯที่ทานมีโอกาสก่อให้เกิดความพิการแต่กำเนิดต่อทารกในครรภ์ได้
- แต่จะสามารถตั้งครรภ์ได้ เมื่อหยุดยากันชักฯ หรือลดขนาดยาลงมาเหลือขนาดต่ำๆ
- ป้องกันอุบัติเหตุต่อสมอง ด้วยการใช้เข็มขัดนิรภัยขณะขับรถยนต์ หรือการสวมหมวกนิรภัยในการใช้จักรยาน จักรยานยนต์ หรือทำงาน เล่นกีฬาที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุที่สมอง
- ป้องกันการติดเชื้อที่สมอง(สมองอักเสบ) ด้วยการรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ลดโอกาสติดเชื้อต่างๆที่อาจลุกลามกลายเป็นการติดเชื้อที่สมองได้ เช่น เชื้อแบคทีเรีย(เช่น ฝีสมอง, วัณโรคสมอง), โรคติดเชื้อไวรัส (เช่น ไวรัสสมองอักเสบ), โรคเชื้อรา, โรคติดเชื้อปรสิต
- ป้องกันการเกิดภาวะไข้ชัก แนะนำอ่านรายละเอียด ในบทความในเว็บ haamor.com 3 บทความ ได้แก่ เรื่อง ไข้ชัก, วิธีเช็ดตัวเด็กลดไข้, และเรื่องการเช็ดตัวลดไข้
บทนำ
การชัก/ลมชักเฉพาะที่แบบขาดสติ (Complex partial seizure) นั้นมีจุดกำเนิดของ กระแสไฟฟ้าผิดปกติในสมองได้หลายตำแหน่งเช่น สมองส่วนกลีบขมับ (Temporal lobe) สมองกลีบหน้า (Frontal lobe) และสมองกลีบหลัง (Occipital lobe) การชักเฉพาะที่แบบขาดสติที่มีจุดกำเนิดของกระแสไฟฟ้าผิดปกติแตกต่างกัน ก็มีอาการผิดปกติที่แตกต่างกัน ซึ่งจุดกำเนิดของกระแสไฟฟ้าผิดปกติที่พบบ่อยของการชักแบบนี้คือ จากสมองส่วนกลีบขมับที่เรียกว่า “การชัก/ลมชักเฉพาะที่แบบขาดสติเหตุสมองกลีบขมับ (Temporal lobe epilepsy)” ซึ่งในบท ความนี้ ขอเรียกว่า “ลมชักเหตุสมองกลีบขมับ” มีลักษณะผิดปกติอย่างไร รักษาหายหรือไม่ มีอันตรายหรือไม่ ต้องติดตามบทความนี้ดูครับ
ลมชักเหตุสมองกลีบขมับคืออะไร? มีอาการอย่างไร?
ลมชักเหตุสมองกลีบขมับ เป็นส่วนหนึ่งของการชัก/ลมชักเฉพาะที่แบบขาดสติ อาการผิด ปกติที่พบจะเกี่ยวข้องกับหน้าที่ของสมองส่วนกลีบขมับได้แก่ อารมณ์ พฤติกรรม และความจำ เป็นหลักเช่น ความรู้สึกกลัว ความรู้สึกคุ้นเคยกับสถานที่ (เหมือนเคยไปมาก่อน) แต่กลับไม่เคยไปมาก่อน (Deja vu) ความรู้สึกมีความสุขมาก ซึ่งถ้าเป็นไม่รุนแรงก็ยังรู้ตัวแต่ควบคุมอาการไม่ ได้ แต่ถ้าเป็นแรงขึ้นก็จะไม่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัว ทำกิจกรรมต่างๆโดยไม่มีจุดมุ่ง หมายเช่น อาจมีการถูมือไปมา หรือเคี้ยวปากโดยไม่รู้สึกตัว และในบางครั้งจะมีอาการนำมาก่อน(Aura) เกี่ยวกับการได้รับกลิ่นแปลกๆ ความรู้สึกปั่นป่วนในท้อง
อาการต่างๆดังกล่าวเหล่านี้ถ้าไม่สังเกตดีๆจะไม่รู้เลยว่าผู้ป่วยมีอาการ เพราะดูเหมือนจะเดินไปมาได้ ลืมตาด้วย แต่จะไม่สามารถโต้ตอบหรือตอบสนองต่อสิ่งต่างๆรอบตัวได้ บางรายลืมตานิ่ง บางรายกลืนน้ำลายซ้ำแล้วซ้ำอีก พอหลังจากอาการชักหยุด ผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็จะทำกิจกรรมต่อโดยที่ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับตนเอง บางรายอ่อนเพลียนอนหลับไป บางรายจะงงๆ จำอะไรไม่ได้ บางรายที่รุนแรงมากอาการก็จะเป็นตั้งแต่เล็กน้อยจนกระทั้งลามเป็นการชักเกร็งกระตุกทั้งตัวได้
ลมชักเหตุสมองกลีบขมับพบบ่อยหรือไม่?
ลมชักเหตุกลีบขมับพบได้ทั้งหญิงและชาย และพบในทุกวัย เป็นลมชัก/การชักชนิดที่พบ ได้บ่อยมากเมื่อเทียบกับการชัก/ลมชักชนิดอื่นๆ และมักจะมาพบแพทย์ช้าเพราะไม่มีใครรู้ว่าเป็นอาการของลมชัก บางครั้งก็พาไปรักษากับจิตแพทย์หรือรักษาทางไสยศาสตร์ก็มี เพราะเข้าใจว่าถูกผีเข้า เพราะมีอาการแปลกๆและรักษากับแพทย์แล้วก็ไม่หาย
ใครมีปัจจัยเสี่ยงเกิดลมชักเหตุสมองกลีบขมับ?
ผู้มีปัจจัยเสี่ยงเกิดลมชักเหตุสมองกลีบขมับได้แก่
ควรพบแพทย์เมื่อใด?
ถ้าสงสัยจากมีอาการดังกล่าวใน ‘หัวข้อ อาการฯ’ ควรพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลให้เร็ว เพื่อ ให้แพทย์ให้การวินิจฉัยให้ได้ เพราะการปล่อยให้มีอาการชักแบบนี้ไว้นานๆ อาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ซึ่งถ้าถ่ายคลิปขณะมีอาการไว้ด้วยจะดีมาก และนำมาให้แพทย์ดูเมื่อมาพบแพทย์ จะช่วยการวินิจฉัยของแพทย์ให้แม่นยำขึ้น
แพทย์วินิจฉัยลมชักเหตุสมองกลีบขมับได้อย่างไร?
แพทย์วินิจฉัยลมชักเหตุสมองกลีบขมับได้โดย
จำเป็นต้องตรวจสมองทางรังสีวินิจฉัยหรือไม่?
การตรวจสมองทางรังสีวินิจฉัย เช่น เอกซเรย์คอมพิวเตอร์(ซีทีสแกน) และ/หรือ เอมอาร์ไอ มีความจำเป็นในผู้ป่วยลมชักเหตุสมองกลีบขมับทุกรายเพื่อหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร เช่น การฝ่อลีบของสมองส่วนกลีบขมับ, หรือมีความผิดปกติของหลอดเลือดสมองแต่กำเนิดหรือไม่ที่รวมทั้งเนื้องอก/มะเร็งสมองบริเวณดังกล่าว, ซึ่งการตรวจทางรังสีฯนิยมใช้การตรวจเอมอาร์ไอมากกว่าเอกซเรย์คอมพิวเตอร์/ซีทีสแกนสมอง
รักษาลมชักเหตุสมองกลีบขมับอย่างไร?
การรักษาลมชักเหตุสมองกลีบขมับประกอบด้วยการรักษาสาเหตุ เช่น
ลมชักเหตุสมองกลีบขมับมีอันตรายหรือไม่?
การชักแบบลมชักเหตุสมองกลีบขมับนี้มีอันตราย เพราะผู้ป่วยจะขาดสติจึงก่อให้เกิดอุบัติ เหตุได้ถ้าเกิดอาการขณะมีกิจกรรม นอกจากนี้การชักบ่อยๆก็ส่งผลต่อเซลล์สมองถูกทำลายด้วย
การตอบสนองต่อการรักษาดีหรือไม่?
การตอบสนองต่อการรักษา หรือการพยากรณ์โรค ในลมชักเหตุสมองกลีบขมับ คือ
มีข้อบ่งชี้ในการรักษาด้วยการผ่าตัดอย่างไร?
ข้อบ่งชี้สำหรับการผ่าตัดสมองในผู้ป่วยลมชักเหตุสมองกลีบขมับ คือ
ดูแลตนเองอย่างไร?
ผู้ป่วยลมชักเหตุสมองกลีบขมับ ควรดูแลตนเอง ดังนี้ เช่น
ควรพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อใด?
ผู้ป่วยลมชักเหตุสมองกลีบขมับ ควรพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลก่อนนัดเมื่อ
ห้ามผู้ป่วยทำกิจกรรมใด?
ผู้ป่วยลมชักเหตุสมองกลีบขมับ ควรพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลก่อนนัดเมื่อ
ผู้ป่วยสามารถแต่งงาน มีบุตรได้หรือไม่?
ผู้ป่วยลมชักเหตุสมองกลีบขมับ สามารถแต่งงานได้ มีเพศสัมพันธ์ได้ แต่ต้องวางแผนครอบครัว(อ่านเพิ่มเติมในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง การวางแผนครอบครัว)
ถ้าทานยากันชักขนาดสูง หรือหลายชนิด:
* ดังนั้นทั้งผู้ป่วย หญิงและชาย โดยเฉพาะผู้ป่วยหญิง ควรต้องปรึกษาแพทย์ผู้รักษาในเรื่องการมีบุตรก่อนที่จะตั้งครรภ์เสมอ
ป้องกันลมชักเหตุสมองกลีบขมับอย่างไร?
การป้องกันลมชักเหตุสมองกลีบขมับ สามารถทำได้ด้วยการหลีกเลี่ยงสาเหตุ(ดังกล่าวใน’หัวข้อ สาเหตุฯ’)ที่หลีกเลี่ยงได้ เช่น
สรุป
การชักเฉพาะที่แบบขาดสติเหตุสมองส่วนกลีบขมับ/ลมชักเหตุสมองกลีบขมับนั้นเป็นการชักรูปแบบหนึ่งที่พบบ่อย แต่คนส่วนใหญ่ไม่รู้จัก ผมหวังว่าตอนนี้ท่านคงเข้าใจการชักแบบนี้ดีขึ้น
ผมฝากให้สังเกตคนใกล้ชิดว่า มีอาการผิดปกติแบบนี้หรือไม่ ถ้าสงสัยแนะนำให้รีบพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลด้วยครับ