
รักษ์สุขภาพ - ตอนที่ 21 โภชนศาสตร์สมัยใหม่ (12)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 11 มิถุนายน 2568
- Tweet
5. แร่ธาตุ ในบริบทของโภชนาการ (Nutrition) หมายถึง ธาตุเคมี (Chemical) ชนิดหนึ่ง ซึ่งบางชนิดจำเป็น (Essential) ต่อการดำรงชีวิต แต่ส่วนมากไม่จำเป็น แร่ธาตุในส่วนที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับ เพื่อนำมาใช้ควบคุม (Control) การทำงาน (Function) ของเซลล์ทั้งหมดในร่างกาย ตัวอย่างเช่น ใช้ในการสร้างกระดูก (Bone), ในการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulant) และใช้เป็นส่วนประกอบ (Component) ของเนื้อเยื่อ (Tissue) ของร่างกาย แร่ธาตุเป็นสารอาหาร (Nutrient) ที่ใช้เร็วและขับทิ้งเร็ว ยกเว้นเหล็ก (Iron) ซึ่งร่างกายเก็บ (Store) และหมุนเวียนใหม่ (Recycle) ได้ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท (Category) กล่าวคือ
- แร่ธาตุหลัก (Major element) คือแร่ธาตุที่ร่างกายจำเป็น (Necessary) ต้องใช้ในปริมาณมาก เช่น แคลเซียม (Calcium), ฟอสฟอรัส (Phosphorous), โพแทสเซียม (Potassium), โซเดียม (Sodium), แมกนีเซียม (Magnesium), และ คลอรีน (Chlorine) เป็นต้น ร่างกายใช้แคลเซียมในการสร้างกระดูก และใช้โซเดียมและโพแทสเซียม ในการลำเลียงของเหลว (Liquid) ไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย แต่หากโซเดียมมีมากเกิน ก็ทำให้เป็นความดันเลือดสูง (Hypertension)
- แร่ธาตุรอง หรือ แร่ธาตุเสริม (Trace element) คือแร่ธาตุที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้ในปริมาณน้อยมาก แต่ก็ขาดไม่ได้ เช่น เหล็ก, ไอโอดีน (Iodine), แมงกานีส (Manganese), สังกะสี (Zinc), ฟลูออรีน (Fluorine), ทองแดง (Copper), โคบอลต์ (Cobalt) เป็นต้น ร่างกายได้เหล็ก จากอาหารพืช (Plant-based) และสัตว์ (Animal-based) แล้วนำมาสร้างเป็นโมเลกุล (Molecule) ที่นำพาออกซิเจน (Oxygen) ในเม็ดเลือดแดง (Red blood) ร่างกายได้ไอโอดีน จากอาหารทะเล (Sea food) แล้วนำมาสร้างฮอร์โมน (Hormone) ของต่อมไทรอยด์ (Thyroid) ซึ่งควบคุมปฏิกิริยา (Interaction) และการเผาผลาญ (Metabolism) ของเซลล์ในร่างกาย
ตามปรกติ พืช (Plant) ได้รับแร่ธาตุจากดิน ส่วนสัตว์ (Animal) ได้รับแร่ธาตุโดยการกินพืช จึงเป็นการเคลื่อนย้ายแร่ธาตุไปตามห่วงโซ่อาหาร (Food chain) สิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่อาจกินดิน (Geophagia) หรือใช้ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural resources) เช่น แหล่งเกลือ (Salt) เพื่อเสริมแร่ธาตุ
แม้ว่าแร่ธาตุกับธาตุเคมีจะดูเหมือนมีความหมายใกล้เคียงกัน แต่แร่ธาตุจะให้ประโยชน์ทางชีวภาพ (Biology) ได้ก็ต่อเมื่อสามารถถูกดูดซึม (Absorption) ได้ โดยแร่ธาตุต้องละลายน้ำได้หรือสามารถถูกดูดซึมจากสิ่งมีชีวิตที่บริโภคเข้าไป
แร่ธาตุ โดยเฉพาะแร่ธาตุรอง มีอยู่ในอาหารพืชที่หลากหลาย ตัวบอกความหลากหลาย (Variety) ของแต่ละสารอาหาร ก็คือ
- สี (Color) ของอาหาร
- รส (Taste) และ กลิ่น (Odor)
- ฤดูกาล (Season) ที่พืชชนิดนั้นเกิดขึ้น
ตามปรกติ คนเราควรกินอาหารพืชให้หลากหลาย เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดธาตุอาหารที่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แร่ธาตุรองหรือแร่ธาตุเสริม
แหล่งข้อมูล –
- สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. (2560). สุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง: Good Health by Yourself (eBook). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.
- สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. และ พญ. ดร. พิจิกา วัชราภิชาต (2566). Healthy Life Bible คัมภีร์สุขภาพดี: สุขภาพดีได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท ฟรีมาย์ พับลิชชิ่ง จำกัด.