ยาไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone)

สารบัญ บทความที่เกี่ยวข้อง

บทนำ

ยาไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone) เป็นรูปแบบของยาซึ่งถูกผลิตขึ้นมาใช้รักษาโรค โดยโครงสร้างทางเคมีจะลอกเลียนแบบฮอร์โมนคอร์ติโซล (Cortisol) ซึ่งเป็นสเตียรอยด์ฮอร์โมนที่ ผลิตจากต่อมหมวกไต (Adrenal cortex) โดยมีหน้าที่หลักคือ เพิ่มระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ควบคุมการเผาผลาญแป้ง ไขมันและโปรตีน และกดภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายจึงมีฤทธิ์ ต้านการอักเสบ วงการเภสัชกรรมได้ใช้คุณสมบัติดังกล่าวมาผลิตเป็นยารักษาโรคทั้งชนิดฉีด ชนิดรับประทาน และยาทาภายนอก

องค์การอนามัยโลกได้จัดให้ยาไฮโดรคอร์ติโซนเป็นยาจำเป็นขั้นพื้นฐานของระบบงานสาธารณสุขของแต่ละประเทศ ประเทศไทยโดยกระทรวงสาธารณสุขได้บรรจุยานี้ลงในบัญชียา หลักแห่งชาติ ทั้งในรูปแบบยารับประทานชนิดยาควบคุมพิเศษ และยาใช้ภายนอกชนิดยาอัน ตรายสำหรับยาใช้ภายนอก ยังมีกลุ่มยาปฏิชีวนะ ยาต้านเชื้อรา มาผสมร่วมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการรักษาอีกด้วย

ในหมวดของยาไฮโดรคอร์ติโซนได้แบ่งแยกย่อยเป็นยาต่างๆลงไปอีก เช่น Hydrocorti sone acetate, Cortisone acetate, Tixocortol pivalate, Prednisolone, และ Methylpredni solone ประโยชน์ที่ได้รับจากยากลุ่มไฮโดรคอร์ติโซนมีมากมาย แต่ก็มีผลข้างเคียงอื่นๆที่ต้องระ วังมากมายเช่นเดียวกัน ด้วยไฮโดรคอร์ติโซนมีฤทธิ์

  • กดการสร้างกระดูก เพราะลดการดูดซึมแคลเซียมจากระบบทางเดินอาหาร
  • ยับยั้งการสร้างคอลลาเจน ซึ่งเป็นสารชีวโมเลกุล (Biomolecule: สารที่สร้างจากสิ่งมีชี วิต) ที่คอยสร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งเป็นโครงสร้างสำคัญของกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ อีกทั้งยังยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนในร่างกาย
  • เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดและมีฤทธิ์ต่อต้านฮอร์โมนอินซูลิน จึงต้อง ระมัดระวังการใช้ยานี้ โดยเฉพาะชนิดรับประทานกับผู้ป่วยเบาหวาน

ปัจจุบัน เป็นข้อบังคับทางกฎหมายว่า การจะซื้อยาชนิดรับประทานของไฮโดรคอร์ติโซน ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์ เพื่อป้องกันมิให้ผู้ป่วยแอบซื้อยามารับประทานเอง ไฮโดรคอร์ติโซนเป็นยาประเภทฮอร์โมนมีฤทธิ์แรง การใช้ยาที่ปลอดภัยถูกต้องและส่งผลดีต่อผู้ป่วยควรต้องอยู่ภายใต้คำสั่งแพทย์เท่านั้น

ยาไฮโดรคอร์ติโซนมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?

ยาไฮโดรคอร์ติโซน

ยาไฮโดรคอร์ติโซนมีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้ เช่น

  • ใช้รักษาในผู้ป่วยที่มีร่างกายพร่องสเตียรอยด์ฮอร์โมน (Adrenal insufficiency)
  • ใช้เสริมการรักษาการผ่าตัดระหว่างวางยาสลบ
  • ต้านการอักเสบของเนื้อเยื่ออ่อน (Soft tissue)
  • ต้านการอักเสบในข้อต่อต่างๆของร่างกาย
  • ใช้รักษาการอักเสบของผิวหนังในรูปแบบยาทาภายนอก/ยาใช้ภายนอก

ยาไฮโดรคอร์ติโซนมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

ไฮโดรคอร์ติโซนมีกลไกการออกฤทธิ์ โดยตัวยาจะออกฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบ โดยกดการทำงานของภูมิคุ้มกันต้านทานโรค และลดการรวมตัวของเม็ดเลือดขาวในบริเวณอวัยวะที่เกิดการอักเสบ จากกลไกที่กล่าวมาจึงทำให้ยานี้มีฤทธิ์ของการรักษาตามสรรพคุณ

ยาไฮโดรคอร์ติโซนมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?

ยาไฮโดรคอร์ติโซนมีรูปแบบการจัดจำหน่าย เช่น

  • จัดจำหน่ายในรูปแบบชนิดยาเม็ด ขนาดความแรง 5,10 มิลลิกรัม/เม็ด
  • จัดจำหน่ายในรูปแบบชนิดยาแคปซูล ขนาดความแรง 5 มิลลิกรัม/แคปซูล
  • จัดจำหน่ายในรูปแบบยาเหน็บทวาร ชนิดยาผสม
  • จัดจำหน่ายในรูปแบบชนิดยาฉีด ขนาดความแรง 100 มิลลิกรัม

ยาไฮโดรคอร์ติโซนมีขนาดรับประทานอย่างไร?

ยาไฮโดรคอร์ติโซนมีขนาดรับประทาน เช่น

ก. สำหรับผู้ที่ร่างกายพร่องสเตียอรยด์ฮอร์โมน:

  • ผู้ใหญ่: รับประทาน 20 - 30 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง โดยแบ่งรับประทาน
  • เด็ก: รับประทาน 400 - 800 ไมโครกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน โดยแบ่งรับประทาน 2 - 3 ครั้ง

อนึ่ง ควรรับประทานยานี้ พร้อมอาหารเพื่อลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร

ข. สำหรับต้านการอักเสบของเนื้อเยื่ออ่อน:

  • ผู้ใหญ่: ใช้เป็นยาฉีดเฉพาะที่มีขนาดความแรง 100 - 200 มิลลิกรัม

ค. สำหรับต้านการอักเสบข้อต่อต่างๆ:

  • ผู้ใหญ่: ฉีดยาเข้าข้อ 5 - 50 มิลลิกรัม

ง. สำหรับยาทาผิวหนัง:

  • ผู้ใหญ่: ทา 0.1 - 2.5% ในบริเวณผิวหนังที่มีการอักเสบ

*****หมายเหตุ:

  • การใช้ยาไฮโดรคอร์ติโซนในเด็กไม่ว่ายาจะอยู่ในรูปแบบใดก็ตาม ต้องอยู่ในการกำกับดูแลใกล้ชิดจากแพทย์เท่านั้น
  • ขนาดยา และระยะเวลาในการใช้ยานี้ ที่ระบุในบทความนี้ เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ผู้รักษาได้ การใช้ยาที่เหมาะสม ควรต้องปรึกษา แพทย์ หรือเภสัชกร ก่อนเสมอ

เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?

เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาไฮโดรคอร์ติโซน ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกร ดังนี้ เช่น

  • ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยา/ใช้ยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือ แน่นหายใจติดขัด/หายใจลำ บาก
  • มีโรคประจำตัวต่างๆ เช่น โรคไต โรคตับ รวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยาอะไรอยู่ เพราะยาไฮโดรคอร์ติโซนอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อน
  • หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรก และเข้าสู่ทารกจนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้

หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?

หากลืมรับประทานยาไฮโดรคอร์ติโซน สามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียง กับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า

ยาไฮโดรคอร์ติโซนมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?

ยาไฮโดรคอร์ติโซนสามารถก่อให้เกิดผล/ อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) เช่น

  • ก่อให้เกิดอาการบวมน้ำในร่างกาย
  • มีการคั่งของเกลือโซเดียมในร่างกาย และสูญเสียโพแทสเซียม และแคลเซียม
  • อ่อนเพลีย
  • กระดูกพรุน
  • มีเลือดออกในทางเดินอาหาร
  • หิวอาหารบ่อย
  • ทำให้บาดแผลประสานตัว/หายช้าลง
  • ก่อให้เกิดสิว
  • ซึมเศร้า
  • น้ำตาลในเลือดสูง
  • ประจำเดือนผิดปกติ
  • เพิ่มความดันในกะโหลกศีรษะ/ความดันในกะโหลกศีรษะสูง
  • มีภาวะใบหน้ากลม (Moon face)
  • และหากมีการใช้ยาเป็นเวลานานในเด็กสามารถทำให้เด็กโตช้า
  • การใช้ไฮโดรคอร์ติโซนชนิดสูดพ่น สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อรา เช่น เชื้อราแคนดิดาในช่องปากและลำคอ (อ่านเพิ่มเติมในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง แคนดิไดอะซิส และเรื่อง เชื้อราในช่องปาก)
  • การใช้ไฮโดรคอร์ติโซนในรูปแบบยาทา หากนำไปป้ายตา สามารถก่อให้กระจกตาเป็นแผล ได้
  • การทาผิวด้วยยาชนิดนี้ยังก่อให้เกิดจุดด่างขาวบนผิวได้เช่นเดียวกัน
  • การฉีดยานี้เข้าข้อกระดูก สามารถส่งผลเสียทำให้ข้อเสื่อมได้

มีข้อควรระวังการใช้ยาไฮโดรคอร์ติโซนอย่างไร?

มีข้อควรระวังการใช้ยาไฮโดรคอร์ติโซน เช่น

  • ห้ามใช้กับผู้แพ้ยานี้
  • ห้ามใช้ยานี้ในภาวะที่ร่างกายมีการติดเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เชื้อวัณโรค และเชื้อไวรัส
  • ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจล้มเหลว โรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ ป่วยโรคลมชัก
  • ระวังการใช้ยากับหญิงตั้งครรภ์และหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
  • ห้ามใช้ยาหมดอายุ
  • ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
  • ห้ามใช้ยาหมดอายุ

***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุ บันทุกชนิด (รวมยาไฮโดรคอร์ติโซนด้วย) ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้ง ควรต้องปฏิบัติตาม ข้อปฏิบัติพื้น ฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้น ฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน

ยาไฮโดรคอร์ติโซนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?

ยาไฮโดรคอร์ติโซนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น เช่น

  • การใช้ยาไฮโดรคอร์ติโซนร่วมกับยากลุ่มไทอะไซด์ (Thiazide) สามารถก่อให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง พร้อมกับมีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ หากไม่จำเป็นควรเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
  • การใช้ยาไฮโดรคอร์ติโซนร่วมกับยาแก้ปวดกลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) สามารถก่อให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร หรือมีเลือดออกในทางเดินอาหารได้ง่าย ควรเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
  • การใช้ยาไฮโดรคอร์ติโซนร่วมกับ ยารักษาเบาหวาน และ ยาลดความดัน ยาลดความดันเลือดสูง แพทย์จะปรับขนาดยารักษาเบาหวานและยาลดความดันเลือดสูงตามความเหมาะสม เพราะยาไฮโดรคอร์ติโซนทำให้ฤทธิ์ของยาทั้ง 2 ชนิดด้อยประสิทธิภาพลง

ควรเก็บรักษายาไฮโดรคอร์ติโซนอย่างไร?

ควรเก็บยาไฮโดรคอร์ติโซน เช่น

  • เก็บยาที่อุณหภูมิระหว่าง 15 - 30 องศาเซลเซียส (Celsius)
  • บรรจุยานี้ในภาชนะที่ปิดมิดชิด เก็บในที่ที่พ้นแสง/แสงแดด หลีกเลี่ยงความร้อนและความชื้น
  • เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
  • และไม่ควรเก็บยาในห้องน้ำ

ยาไฮโดรคอร์ติโซนมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?

ยาไฮโดรคอร์ติโซน มียาชื่อการค้าอื่น และบริษัทผู้ผลิต เช่น

ชื่อการค้า บริษัทผู้ผลิต
Antergan (แอนเทอร์เกน) Thai Nakorn Patana
Candacort (แคนดาคอร์ด) HOE Pharmaceuticals
Clinipred (คลีนิเพรด) Bangkok Lab & Cosmetic
Cortef (คอร์เทฟ) Pfizer
Daktacort (ดากทาคอร์ด) Janssen-Cilag
Dermasol (เดอร์มาซอล) Olan-Kemed
Di-Adreson F (ดิ-แอดรีซัน เอฟ) MSD
Doproct (โดพร็อก) Continental-Pharm
Farakil (ฟาราคิล) Chew Brothers
Fortisone (ฟอร์ทิโซน) The Forty-Two
Fucidin H (ฟูซิดิน เฮช) LEO Pharma
HC 1% (เฮชซี 1%) Chinta
H-Cort (เฮช-คอร์ท) HOE Pharmaceuticals
Hytisone (ไฮทิโซน) Atlantic Lab
LactiCare-HC (แลคติแคร์-เฮชซี) Stiefel
Ladocort (ลาโดคอร์ท) L.B.S.
Mysolone-N (มายโซโลน-เอ็น) Greater Pharma
Neosolone-C (นีโอโซโลน-ซี) Chew Brothers
Neosolone-G (นีโอโซโลน-จี) Chew Brothers
Neosolone-Y (นีโอโซโลน-วาย) Chew Brothers
Neozolone (นีโอโซโลน) British Dispensary (L.P.)
Opredsone (โอเพรดโซน) Greater Pharma
Polypred (โพลีเพรด) Pharmasant Lab
Predcap (เพรดแคพ) Bangkok Lab & Cosmetic
Predex (พรีเดกซ์) Takeda
Predi K.B. (เพรดิ เค.บี.) K.B. Pharma
Predisole (เพรดิโซล) P P Lab
Predman (เพรดแมน) Predman
Prednersone (เพรดเนอร์โซน) General Drugs House
Prednisolone A.N.H. (เพรดนิโซโลน เอ.เอ็น.เฮช.) A N H Products
Prednisolone Asian Pharm (เพรดนิโซโลน เอเซียน ฟาร์ม) Asian Pharm
Prednisolone Atlantic (เพรดนิโซโลน แอทแลนติก) Atlantic Lab
Prednisolone BJ Benjaosoth (เพรดนิโซโลน บีเจ เบญจโอสถ) BJ Benjaosoth
Prednisolone Charoen Bhaesaj (เพรดนิโซโลน เจริญเภสัช) Charoen Bhaesaj Lab
Prednisolone Chew Brothers (เพรดนิโซโลน ชิว บาร์เทอร์) Chew Brothers
Prednisolone GPO (เพรดนิโซโลน จีพีโอ) GPO
Prednisolone Greater Pharma (เพรดนิโซโลน เกรทเตอร์ ฟาร์มา) Greater Pharma
Prednisolone Medicine Products (เพรดนิโซโลน เมดิซีน โพรดักซ์) Medicine Products
Prednisolone Medicpharma (เพรดนิโซโลน เมดิกฟาร์มา) Medicpharma
Prednisolone Osoth (เพรดนิโซโลน โอสถ) Osoth Interlab
Prednisolone Patar (เพรดนิโซโลน พาตาร์) Patar Lab
Prednisolone Pharma Square (เพรดนิโซโลน ฟาร์มา สแควร์) Chinta
Prednisolone Pharmasant (เพรดนิโซโลน ฟาร์มาซัน) Pharmasant Lab
Prednisolone Pond’s Chemical (เพรดนิโซโลน พอนด์ เคมีคอล) Pond’s Chemical
Prednisolone Suphong Bhaesaj (เพรดนิโซโลน สุพงษ์ เภสัช) Suphong Bhaesaj
Prednisolone T.P. (เพรดนิโซโลน ที.พี.) T P Drug
Prednisolone Vesco Pharma (เพรดนิโซโลน เวสโก ฟาร์มา) Vesco Pharma
Prenisolone-N GPO (เพรดนิโซโลน-เอ็น จีพีโอ) GPO
Predsomed (เพรดโซเมด) Medicpharma
Presoga (พรีโซกา) Utopian
Proctosedyl (พร็อกโตซีดิล) sanofi-aventis
Solu-Cortef (โซลู-คอร์เทฟ) Pfizer
Unipred (ยูนิเพรด) Osoth Interlab

บรรณานุกรม

  1. https://en.wikipedia.org/wiki/Cortisol [2019,Dec14]
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Corticosteroid [2019,Dec14]
  3. https://www.drugs.com/pro/hydrocortisone.html [2019,Dec14]
  4. http://www.mims.com/Thailand/drug/info/Hytisone/?type=brief [2019,Dec14]
  5. http://www.mims.com/Thailand/drug/info/Cortef/ [2019,Dec14]
  6. https://www.mims.co.uk/drugs/endocrine/inflammatory-disorders/hydrocortisone [2019,Dec14]
  7. https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a682206.html#if-i-forget [2019,Dec14]