ยาไกลเบนคลาไมด์ (Glibenclamide)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 25 มิถุนายน 2560
- Tweet
- บทนำ
- ยาไกลเบนคลาไมด์มีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
- ยาไกลเบนคลาไมด์มีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- ยาไกลเบนคลาไมด์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- ยาไกลเบนคลาไมด์มีขนาดรับประทานอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
- ยาไกลเบนคลาไมด์มีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้ยาไกลเบนคลาไมด์อย่างไร?
- ยาไกลเบนคลาไมด์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษายาไกลเบนคลาไมด์อย่างไร?
- ยาไกลเบนคลาไมด์มีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- เบาหวาน (Diabetes mellitus)
- รู้ทันโรคเบาหวาน (Diabetes mellitus)
- เบาหวานขึ้นตา เบาหวานกินตา (Diabetic retinopathy)
- การดูแลเท้าในโรคเบาหวาน (Diabetic foot care)
- เบาหวานกับการตั้งครรภ์ (Diabetes mellitus and pregnancy)
- เบาหวานในเด็กและวัยรุ่น (Juvenile diabetes mellitus)
- ยาเบาหวาน หรือ ยารักษาโรคเบาหวาน (Antidiabetic agents)
- ยาลดน้ำตาลในเลือด (Antihyperglycemic agent)
บทนำ
ยาไกลเบนคลาไมด์ (Glibenclamide) เป็นยารักษาโรคเบาหวาน มีสูตรโครงสร้างใกล้ เคียงกับยากลุ่มซัลฟา (Sulfa drugs) ถูกพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1966 (พ.ศ. 2509) องค์การอนามัยโลกลงมติให้เป็นยาจำเป็นสำหรับระบบสาธารณสุขขั้นพื้นฐานของประเทศต่างๆ ประเทศไทยโดยข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุขก็จัดไกลเบนคลาไมด์ชนิดเม็ด ขนาด 2.5 และ 5 มิลลิกรัมอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติเช่นเดียวกัน
การศึกษาเรื่องการกระจายตัวของยาเมื่อเข้าสู่ร่างกายพบว่า ไกลเบนคลาไมด์สามารถจับตัวกับโปรตีนในเลือดได้เป็นจำนวนมาก ยาจะถูกเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมีโดยอวัยวะตับ และมีระยะเวลาในการออกฤทธิ์นานถึงประมาณ 24 ชั่วโมง ร่างกายต้องใช้เวลาประมาณ 10 ชั่วโมงเพื่อกำจัดยา 50% ออกจากกระแสเลือด โดยผ่านไปกับน้ำปัสสาวะและอุจจาระในปริมาณที่พอๆ กัน
ยาไกลเบนคลาไมด์จัดอยู่ในหมวดยาอันตราย มีผลข้างเคียง ข้อห้ามใช้ และข้อควรระวังในการใช้หลายประการ การใช้ยากับผู้ป่วยเบาหวานแต่ละรายจึงต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์ผู้ทำการรักษาเท่านั้น
ยาไกลเบนคลาไมด์มีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
ยาไกลเบนคลาไมด์มีสรรพคุณคือ ใช้บำบัดรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 diabetes)
ยาไกลเบนคลาไมด์มีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
ยาไกลเบนคลาไมด์มีกลไกการออกฤทธิ์ โดยตัวยาจะกระตุ้น เบต้า - เซลล์ (Beta cell) ในตับอ่อนให้เพิ่มการหลั่งสารอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้ร่างกายใช้น้ำตาลในกระแสเลือดได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ร่างกายดูดน้ำตาลกลูโคส (Glucose) จากกระแสเลือดเข้าไปเก็บที่ตับ และทำให้กล้ามเนื้อลายใช้น้ำตาลได้มากยิ่งขึ้น จากกระบวนการที่กล่าวมาทั้งหมด ทำให้ยานี้มีฤทธิ์ในการรักษาโรคเบาหวานตามสรรพคุณ
ยาไกลเบนคลาไมด์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยาไกลเบนคลาไมด์จัดจำหน่ายในรูปแบบยาเม็ด ขนาด 2.5 และ 5 มิลลิกรัม/เม็ด
ยาไกลเบนคลาไมด์มีขนาดรับประทานอย่างไร?
ยาไกลเบนคลาไมด์ มีขนาดรับประทาน ดังนี้ คือ ขนาดยาเมื่อเริ่มต้นให้รับประทานวันละครั้งๆละ 2.5 มิลลิกรัม จากนั้นให้เพิ่มปริมาณอีก 2.5 มิลลิกรัมในวันถัดมาอีก 3 - 5 วัน
สามารถปรับขนาดการรับประทานเฉลี่ยเป็น 15 มิลลิกรัม/วัน ขนาดรับประทานสูงสุดต่อครั้งต้องไม่เกิน 10 มิลลิกรัม ผู้ป่วยสามารถรับประทานยาพร้อมกับอาหารเช้า และกระจายขนาดรับประทานที่เหลือไปที่ก่อนอาหารเย็น ทั้งนี้ขนาดรับประทานทั้งหมดต่อวันรวมถึงวิธีแบ่งรับประ ทาน แพทย์ที่ดูแลรักษาผู้ป่วยจะเป็นผู้แนะนำ
*****หมายเหตุ:
แพทย์จะเป็นผู้แนะนำขนาดยานี้ในการรับประทานแต่ละครั้งและในแต่ละวัน โดยประเมินขนาดยาที่เหมาะสมจากอาการของผู้ป่วยและจากการตรวจค่าระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้น ผู้ป่วยจึงไม่ควรปรับขนาดการรับประทานยาด้วยตนเอง
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาไกลเบนคลาไมด์ ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรดังนี้
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก
- มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยาหรืออาหารเสริมอะไรอยู่ เพราะยาไกลเบนคลาไมด์อาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆ และ/หรือกับอาหารเสริมที่กินอยู่ก่อน
- หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประ เภทสามารถผ่านทางน้ำนม หรือรก และเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทานยาไกลเบนคลาไมด์สามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้ เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า
ยาไกลเบนคลาไมด์มีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
ยาไกลเบนคลาไมด์สามารถก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์จากยา (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) ดังนี้ คือ อาจพบ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติ, ระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร, กดการทำงานของไขกระ ดูก, และหากพบอาการแพ้ยาอย่างรุนแรง เช่น เป็นผื่นขึ้นทั้งตัว หรือมีอาการบวมที่ใบหน้า ลำคอ ลิ้น วิงเวียน และหายใจลำบาก ต้องรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยทันที
มีข้อควรระวังการใช้ยาไกลเบนคลาไมด์อย่างไร?
มีข้อควรระวังการใช้ยาไกลเบนคลาไมด์ดังนี้
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 (Type I DM) หรือผู้ที่อยู่ในภาวะโคม่าด้วยโรคเบาหวาน
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคไตระยะรุนแรงและผู้ป่วยโรคตับ
- ระวังการใช้ยานี้กับหญิงตั้งครรภ์และหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ที่มีประวัติแพ้ยาปฏิชีวนะ กลุ่ม Sulfonamides
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยาไกลเบนคลาไมด์ด้วย) ยาแผนโบราณทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
ยาไกลเบนคลาไมด์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ยาไกลเบนคลาไมด์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น ดังนี้
- การใช้ยาไกลเบนคลาไมด์ร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์สามารถส่งผลให้เกิดภาวะน้ำ ตาลในเลือดต่ำได้มากขึ้น จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยานี้ร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- การใช้ยาไกลเบนคลาไมด์ร่วมกับยาบางตัว เช่น Beta-blockers, Bezafibrate, Biguanides, Chloramphenical, Clofibrate, Coumadin, Monoamine oxidase inhibitors (MAOIs), Salicylates, Tetracyclines, สามารถส่งผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หากต้องใช้ยาร่วมกัน ควร ต้องปรับขนาดการรับประทานให้เหมาะสม
- การใช้ยาไกลเบนคลาไมด์ ร่วมกับยาบางตัว เช่น กลุ่มยาแก้ท้องผูก , Corticosteriods, Nicotinic acid, Estrogen, Phenothiazine, Saluretics, และไทรอยด์ฮอร์โมน สามารถลดประ สิทธิภาพในการรักษาของไกลเบนคลาไมด์ และทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น หากมีความจำเป็นต้องใช้ร่วมกันควรต้องปรับขนาดรับประทานให้เหมาะสม
ควรเก็บรักษายาไกลเบนคลาไมด์อย่างไร?
ควรเก็บยาไกลเบนคลาไมด์ภายใต้อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส(Celsius) เก็บยาให้พ้นแสงแดด และความชื้น ไม่ควรเก็บยาในห้องน้ำ และเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
ยาไกลเบนคลาไมด์มีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ยาไกลเบนคลาไมด์ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย มียาชื่อการค้าอื่นและบริษัทผู้ผลิต/ผู้จำหน่าย เช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Daonil (ดาวนิล) | sanofi-aventis |
Daono (ดาวโน) | Milano |
Debtan (เด็บแทน) | Yung Shin |
Diabenol (ไดเอเบนอล) | Greater Pharma |
Dibesin (ไดเบสซิน) | SSP Laboratories |
Glamide (กลาไมด์) | Community Pharm PCL |
Glibenclamide Asian Pharm (ไกลเบนคลาไมด์ เอเซียน ฟาร์ม) | Asian Pharm |
Glibenclamide GPO (ไกเบนคลาไมด์ จีพีโอ) | GPO |
Glibetic (ไกลเบติค) | The Forty-Two |
Glibic (ไกลบิค) | Medicine Products |
Gliclamin (ไกลคลามิน) | Inpac Pharma |
Glicon (ไกลคอน) | Suphong Bhaesaj |
Glimide (ไกลไมด์) | Pharmahof |
Gluconil (กลูโคนิล) | Utopian |
Gluzo (กลูโซ) | Pharmasant Lab |
Locose (โลคอส) | T. Man Pharma |
Manoglucon (แมโนกลูคอน) | March Pharma |
Semi Diabenol (เซมิ ไดเอเบนอล) | Greater Pharma |
Sugril (ซูกริล) | Siam Bheasach |
T.O. Nil (ที.โอ. นิล) | T. O. Chemicals |
Xeltic (เซลติค) | Unison |
อนึ่ง ยาชื่อการค้าอื่นของยานี้ เช่น Micronase, Diabeta, Glynase Prestab, Glyburide, Diolin, Euglucon, Glco, Glibet, Glinil, Gluconil, Glucosafe, Glunil, Glyboral, Glubovin, G-Nil
บรรณานุกรม
- https://en.wikipedia.org/wiki/Glibenclamide[2017,June3]
- http://drug.fda.moph.go.th:81/nlem.in.th/medicine/essential/list/105#item-8702[2017,June3]
- https://mims.com/THAILAND/Home/GatewaySubscription/?generic=glibenclamide[2017,June3]
- https://mims.com/THAILAND/drug/info/Daonil/[2017,June3]
- http://drugs.webmd.boots.com/drugs/drug-222-Glibenclamide.aspx[2017,June3]
- http://www.drugs.com/drug-interactions/glyburide-index.html?filter=2&generic_only=#C[2017,June3]
Updated 2017, June3