ยาแก้ไอ (Tips cough)
- โดย ภก. กรชัย ฉันทจิรธรรม
- 26 เมษายน 2557
- Tweet
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- คาร์โบซิสเทอีน (Carbocysteine)
- โคเดอีน (Codeine)
- ไกวเฟนิซิน (Guaifenesin)
- ยาเดกซ์โทรเมทอร์แฟน (Dextromethorphan)
- บรอมเฮกซีน (Bromhexine)
- อะเซทิลซิสเทอีน (Acetylcysteine)
- อะเซทิลซิสเทอีน (Acetylcysteine)
ทำไมคนเราจึงไอ?
การที่คนเราเกิดมีอาการไอ ก็เนื่องจาก
- มีสิ่งระคายเคือง เช่น เสมหะ ไอเสีย ควันไฟ ควันบุหรี่ ฝุ่นละออง ฯลฯ ทำความระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ซึ่งทำให้มีอาการไอแห้งๆ หรือ ไอมีเสมหะขาวใสเพียงเล็กน้อย พบในพวกที่สูบบุหรี่ คนที่เป็นโรคหวัด แพ้อากาศ คันคอ เจ็บคอ วัณโรคปอด หลอดลมอักเสบในระยะเริ่มแรก หรือ มะเร็งปอดในระยะเริ่มแรก
- ร่างกายต้องการขับเสลด หนอง หรือก้อนเลือด ในหลอดลมและในถุงลมออกมา เป็นการช่วยลดอันตรายต่างๆที่จะเกิดกับร่างกาย ซึ่งอาการไอแบบนี้นับว่าเป็นประโยชน์ต่อคนเราอย่างมาก มักพบว่าไอแบบนี้จะมีลักษณะมีเสมหะหรือเสลดเหนียวข้น เป็นสีเขียวหรือสีเหลืองปนเขียว บางทีเป็นหนองหรือมีเลือดปนออกมา พบในพวกที่เป็นโรคปอดบวม (ชื้น ปอดอักเสบ) หลอดลมอักเสบในระ ยะหลัง หรือพวกที่เป็นโรคปอดและหลอดลม เช่น หลอดลมอักเสบเรื้อรัง วัณโรคปอด ถุงลมโป่งพอง หลอดลมพอง มะเร็งปอดระยะรุนแรง ฯลฯ
แต่ในบางครั้งโรคหรือยาบางอย่าง มีผลทำให้เกิดอาการไอมากเกินกว่าปกติ ซึ่งอาจเพียงทำให้เกิดความรำคาญ หากไอไม่รุนแรงและหายได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าไออย่างรุนแรงและยาวนานอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บของระบบทางเดินหายใจ และอาจส่งผลถึงกล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกายที่ต้องใช้ในการไอด้วย เช่น เจ็บซี่โครง เจ็บหน้าอก เป็นต้น
วิธีการรักษาอาการไอที่ดีที่สุดคือ การกำจัดที่สาเหตุของอาการไอ เช่น การเลิกสูบบุหรี่ การหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการภูมืแพ้ เป็นต้น
หากกล่าวถึง ‘ยาที่ทำให้เกิดอาการไอ’ ยา 2 กลุ่มสำคัญที่ควรรู้จัก ได้แก่
- ยาลดความดันโลหิต กลุ่มเอซีอีอินฮิบิเตอร์ (ACE inhibitors: Angiotensin-Converting Enzyme inhibtors) ซึ่งใช้เป็นยารักษา โรคความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจวาย, และใช้ป้องกันความเสื่อมของไตในผู้ป่วยเบาหวานอีกด้วย
ยากลุ่มนี้มักทำให้เกิดอาการไอแห้งๆในผู้ป่วย 20% ของผู้บริโภคยา ซึ่งโดยทั่วไปไม่จำเป็น ต้องดูแลรักษา หากไอไม่มากและผู้ป่วยทนได้ แต่หากไอมากจนทนไม่ได้ อาจจำเป็นต้องเปลี่ยน ไปใช้ยากลุ่มอื่นทดแทน
ผู้ป่วยที่ใช้ยาแล้วมีอาการไอ ไม่ควรหยุดยาเอง เนื่องจากยามีความสำคัญต่อการควบคุมความรุนแรงของโรคที่ทำการรักษาอยู่ ควรแจ้งแพทย์เพื่อทำการปรับเปลี่ยนยาที่เหมาะสมต่อไป
- ยารักษาโรคกระดูกพรุน กลุ่มบิสฟอสโฟเนต (Bisphosphonates) ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้ว ยากลุ่มนี้ไม่ได้มีผลทำให้เกิดอาการไอถ้าใช้ยาอย่างถูกต้อง โดยรับประทานก่อนอาหารมื้อเช้าครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง (ขึ้นกับชนิดของตัวยา) หลังรับประทานยาห้ามเอนตัวลงนอนหรือทำกิจกรรมใดๆ ที่อาจจะทำให้เกิดการไหลย้อนของยาเข้าสู่หลอดอาหาร
เนื่องจากยากลุ่มนี้มีผลระคายเคืองหลอดอาหารโดยตรง หากไม่ปฏิบัติตามวิธีข้างต้นอาจทำให้หลอดอาหารโดนทำลาย เกิดอาการแสบหน้าอก ไออย่างรุนแรง และไอเป็นเลือดได้
สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่เราจำเป็นต้องเข้าใจและจดจำให้แม่นคือ ‘การไอไม่ใช่โรค’ แต่เป็นอาการที่มีสาเหตุจากโรคได้หลายชนิดดังกล่าวมาแล้ว
- ยาลดความดันโลหิต กลุ่มเอซีอีอินฮิบิเตอร์ (ACE inhibitors: Angiotensin-Converting Enzyme inhibtors) ซึ่งใช้เป็นยารักษา โรคความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจวาย, และใช้ป้องกันความเสื่อมของไตในผู้ป่วยเบาหวานอีกด้วย
จะเห็นว่า การรักษาอาการไอที่เกิดจากตัวอย่างยาทั้ง 2 กลุ่มนี้ ทำได้โดยหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการไอ ด้วยการหยุดยาหรือปฏิบัติตัวให้ถูกต้องเมื่อจะต้องใช้ยา ที่แตกต่างจากอาการไอที่เกิดจากอาการแพ้ หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งอาจจำเป็นต้องได้รับยาแก้แพ้ หรือยาฆ่าเชื้อ (ยาปฏิชีวนะ) ร่วมด้วย เพื่อช่วยให้หายจากอาการไอได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น แต่บางครั้งก็อาจมีความจำเป็นต้องใช้ยาแก้ไอด้วยเช่นกัน
จุดนี้เป็นจุดที่สำคัญมากทีเดียวในการบำบัดบรรเทาอาการไอ เพราะไม่เพียงรักษาอาการไอโดยการกินยาแก้ไอเพียงอย่างเดียว แต่ต้องรักษาต้นเหตุที่ทำให้ไอด้วย จึงจะสามารถทำให้หายจากอาการไอได้ เช่น มีอาการไอเพราะเป็นโรคหวัด ต้องรักษาโรคหวัดด้วย อาการไอจึงจะหายได้ แต่ถ้ากินแต่ยาแก้ไอเพียงอย่างเดียว ไม่รักษาตัว ปล่อยให้โรคหวัดลุกลาม มีโรคแทรกซ้อน (เช่น ปอดอักเสบ) อาการไอก็กลับจะหนักขึ้น จะหายก็ต่อเมื่อได้รักษาโรคแทรกให้หายแล้วเท่านั้น
จุดประสงค์ของการใช้ยาแก้ไอ
จุดประสงค์การใช้ยาแก้ไอ คือ
- ในกรณีที่ไอแบบมีเสมหะ หรือ เสลดเหนียว การใช้ยาแก้ไอก็เพื่อละลายเสมหะที่ข้นเหนียวจับกันเป็นก้อน อุดขวางทางเดินหายใจให้ใสขึ้น เพื่อที่ร่างกายจะได้ขจัดออกได้ง่ายขึ้น ทำให้คน ไข้สบายคอและหายใจได้สะดวกขึ้น
- แต่ถ้ามีอาการไอแบบแห้งๆ หรือไม่มีเสลด การใช้ยาแก้ไอ ก็มีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างออกไป คือ ต้องการให้ยาไประงับอาการไอนั้นเสีย เพื่อที่คนไข้จะได้ไม่ต้องทรมานกับการไอ และพักผ่อนได้เต็มที่ ตลอดจนลดอาการเหนื่อยอ่อนที่เกิดจากการออกแรงในการไอมากไป คนไข้ก็จะสามารถฟื้นไข้ได้เร็วขึ้น
- นอกจากนี้ ยาแก้ไอยังมีผลทำให้คนไข้รู้สึกชุ่มคอ ยาแก้ไอบางชนิดก็ช่วยลดน้ำมูกและอา การแพ้ต่างๆได้ด้วย เพราะผู้ผลิตมักนิยมใส่ตัวยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก ร่วมด้วย
ยาแก้ไอที่เราพบได้ในท้องตลาดจะมีทั้งชนิดน้ำ ชนิดเม็ด มีทั้งที่เป็นยาแผนปัจจุบัน และยาแผนโบราณที่ปรุงขึ้นจากตัวยาสมุนไพร มีทั้งที่เป็นยาสามัญประจำบ้าน และยาอันตราย นอกจากนี้ยังมีพวกยาลูกอมแก้ไอ ช่วยให้ชุ่มคอโล่งคอ
หลักการใช้ยาแก้ไอ
หลักการใช้ยาแก้ไอ คือ
- ต้องใช้ยาแก้ไอให้ถูกกับลักษณะการไอ เช่น ไอมีเสมหะเหนียวข้น ก็ควรใช้ยาละลายเสมหะ ยาขับเสมหะ (เช่น ยามิสต์สกิลแอมม่อน (Mist Scill Ammon) ยาแก้ไอชวนป๋วยปี่แป่โหล่ว ฯลฯ) ไม่ ใช่ใช้ยาระงับการไอ หรือยาแก้ไอที่เข้าข่ายยาแก้แพ้ ซึ่งจะทำให้เสมหะเหนียวยิ่งขึ้น ติดพันอยู่ในลำคอ ขากออกยาก อาการไอก็จะยิ่งกำเริบหนักขึ้น
- การใช้ยาชนิดน้ำ ต้องใช้ช้อนตวง ห้ามกรอกใส่ปากโดยกะปริมาณเอาเองเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายจากการกินยาเกินขนาดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นยาแก้ไอที่มีตัวยาอื่นๆผสมอยู่หลายตัว ช้อนตวงในที่นี้ควรใช้ช้อนที่ติดมากับขวดยา จะได้ขนาดที่แน่นอนกว่าช้อนชาหรือช้อนโต๊ะที่ใช้ตามบ้าน
ศัพท์อีกคำหนึ่งที่เรามักจะพบสำหรับการกินยาแก้ไอ คือ คำว่าใช้ “จิบ” (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 หมายถึง ดื่มทีละนิด) เมื่อมีอาการไอ ควรใช้ยาแก้ไอที่ไม่เข้าข่ายยาอันตราย เช่น ยาแก้ไอน้ำดำ ยาแก้ไอน้ำเชื่อม ใช้จิบกินได้เมื่อรู้สึกคันคออยากไอ และควรใช้กับผู้ ใหญ่เท่านั้น ไม่ควรใช้กับเด็กเล็ก
- ถ้าพบว่ามีอาการต่างๆดังต่อไปนี้ ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ ‘ควรปรึกษาแพทย์เสมอ’ จะปลอดภัยกว่า ซึ่งได้แก่
- มีอาการไอเรื้อรังนานกว่า 1-2 สัปดาห์ และลองกินยาแก้ไอแล้ว แต่ไม่ได้ผลหรือกลับรุน แรงยิ่งขึ้น ยกเว้นในรายที่ไอหลังจากเป็นโรคหวัด ไอแห้งๆ หรือมีเสมหะขาวๆเล็กน้อย และอาการทั่วไปเป็นปกติดี คือ กินข้าวได้ ทำงานได้ ไม่ผอมลง ไม่เหนื่อยอ่อน ซึ่งนอกจากพบแพทย์แล้ว การดูแลตนเอง คือ หยุดกินยาแก้ไอทุกชนิด ให้กินน้ำอุ่นๆมากๆแทน ห้ามกินน้ำแข็งหรือน้ำเย็น อาการไอก็มักจะค่อยๆหายไปเอง
- มีอาการไอร่วมกับเป็นไข้/ตัวร้อนนานกว่า 1 สัปดาห์
- มีอาการหอบเหนื่อย เจ็บหน้าอก รุนแรง อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
- ไอมีเสมหะข้นเหนียวเป็นสีเขียว หรือเหลืองปนเขียว หรือมีเลือดปน
ชนิดยาแก้ไอ
ชนิดของยาแก้ไอชนิดน้ำ ที่แนะนำให้ซื้อใช้เองที่มีขายในท้องตลาด ได้แก่
1. ยาแก้ไอน้ำดำ (Brown mixture) ขององค์การเภสัชกรรม เป็นยาสามัญประจำบ้าน ใช้แก้ไอ ทำให้ชุ่มคอ เหมาะสำหรับการไอแบบแห้งๆ หรือไอระคายคอ เช่น ไอจากโรคหวัด การแพ้อา กาศ การเจ็บคอ คันคอ
ยาแก้ไอน้ำดำ ไม่เหมาะที่จะใช้กับการไอแบบมีเสมหะข้นเหนียว ขนาดที่ใช้
- ผู้ใหญ่กินครั้งละ 1-2 ช้อนชา
- เด็กกินครั้งละ 1/4 -1 ช้อนชา
- วันละ 3-4 ครั้งหรือจิบเมื่อมีอาการไอ
ยานี้ตั้งทิ้งไว้จะตกตะกอน ควรเขย่าขวดก่อนจะใช้ทุกครั้ง
2. ยาแก้ไอน้ำเชื่อม (Cough Syrup) ขององค์การเภสัชกรรม เป็นยาสามัญประจำบ้าน มีสรรพ คุณและการใช้เช่นเดียวกับยาแก้ไอน้ำดำทุกอย่าง ยกเว้นมีกลิ่นหวานกว่าเหมาะสำหรับเด็ก วิธีกินยาเช่นเดียวกับยาแก้ไอน้ำดำ
3. ยาแก้ไอแก้หวัดน้ำเชื่อม มียี่ห้อต่างๆ เช่น ยาแก้ไอแก้หวัดไพริตอน (Piriton expectorant) ยาแก้ไอแก้หวัดคลอรีเอต (Chloreate expectorant) ฯลฯ ใช้แก้ไอ ขับเสมหะ แก้หวัด เพราะมียาแก้แพ้ที่มีชื่อว่า คลอร์เฟนิรามีน ผสมอยู่ด้วย
ยาแก้ไอน้ำเชื่อม เหมาะที่จะใช้แก้ไอเนื่องจากโรคหวัด หรือแพ้อากาศ ไม่ควรใช้กับอาการไอแบบมีเสมหะเหนียว หรือไอจากโรคหืด เพราะจะทำให้เสมหะเหนียวเข้มข้นยิ่งขึ้น ไอออกยาก ทำให้ไอและหอบมากขึ้น ขนาดที่ใช้
- เด็กกินครั้งละ 1/2 -1 ช้อนชา
- ผู้ใหญ่กินครั้งละ 2 ช้อนชา
วันละ 3-4 ครั้ง ยานี้กินแล้ว อาจทำให้ง่วงนอนได้ ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำ งานเกี่ยวกับเครื่องจักรต่างๆ หรือขับขี่รถยนต์ หรือเรือ
4. มิสต์สกิลแอมม่อน (Mist Scill Ammon) ขององค์การเภสัชกรรม เป็นยาแก้ไอละลายเสมหะ เหมาะที่จะใช้กับอาการไอแบบมีเสลดเหนียว เช่น หลอดลมอักเสบ ปอดบวม โรคหืด ฯลฯ
ขนาดที่ใช้ของยามิสต์สกิลแอมม่อน คือ
- ผู้ใหญ่กินครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ
- เด็กโตกินครั้งละ 1-2 ช้อนชา
- เด็กเล็กกินครั้งละ 1 ช้อนชา
วันละ 3-4 ครั้ง ยานี้มีรสเฝื่อน อาจกินยากสักนิด ยานี้ตั้งทิ้งไว้จะตกตะกอน จึงควรเขย่าขวดก่อนกินทุกครั้ง
5. ยาแก้ไอชวนป๋วยปี่แป่โหล่ว ยาตัวนี้เป็นยาแผนโบราณ เป็นยาน้ำที่ทำจากสมุนไพรจีน มีรสหอมหวานอร่อย และช่วยให้ชุ่มคอ
ยาชวนป๋วยปี่แป่โหล่ว เหมาะที่จะใช้แก้ไอ ขับเสมหะ หรือใช้จิบให้ชุ่มคอใช้ได้ทั้งไอมีเสมหะและไอแห้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าดื่มน้ำอุ่นก่อนแล้วจิบยาแก้ไอนี้ตาม จะชุ่มคอมาก ขนาดที่ใช้
- ผู้ใหญ่กินครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ
- เด็กกินครั้งละ 1-2 ช้อนชา
วันละ 3-4 ครั้ง หรือจิบเวลามีอาการไอ
6. ยาแก้ไอที่นับว่าวิเศษมากอีกตัวหนึ่ง เป็นยาแก้ไอที่ราคาถูกที่สุดในโลก และหาได้ง่ายในที่ทุกแห่ง ซึ่งพวกเราหลายคนอาจนึกไม่ถึง ก็คือ ‘น้ำสะอาด’ ที่เราใช้ดื่มกันทุกวันนี้นี่เอง
น้ำอุ่นๆนี่แหละช่วยระงับการไอและช่วยละลายเสมหะที่ข้นเหนียวให้ใสขึ้น และถูกขับออกได้ง่ายขึ้น การดื่มน้ำอุ่นมากๆ บ่อยๆ เวลามีอาการไอ จะช่วยรักษาอาการไอได้มากทีเดียว
ข้อสังเกต
นอกจากการดื่มน้ำอุ่นแล้ว เวลาไอ ควรงดอาหารรสเผ็ดจัด น้ำแข็ง น้ำเย็นจัด ของทอด เหล้า บุหรี่ เพราะจะระคายคอ ทำให้ยิ่งไอหนักเข้า
ในการใช้ยาบรรเทาอาการไอนั้น บางครั้งอาจได้รับยาสูตรที่มีตัวยาแก้ไอหลายชนิดผสมกัน หรือบางครั้งอาจได้รับยาแก้ไอเดี่ยวๆมากกว่าหนึ่งชนิดพร้อมกัน หากเป็นไปได้ควรเลือกชนิดของยาที่สอดคล้องกับลักษณะของอาการไอ (ดังได้กล่าวแล้ว) ให้มากที่สุด เพื่อช่วยให้ใช้ยาได้ผลตรงตามประสิทธิภาพ
หากจะใช้ยามากกว่าหนึ่งกลุ่มร่วมกัน ‘ควรเลือกยาที่ออกฤทธิ์คนละกลไกกัน’ เช่น ใช้ยาขับเสมหะร่วมกับยาละลายเสมหะ หรือ ใช้ยากดอาการไอร่วมกับยาละลายเสมหะ ทั้งนี้ไม่ควรใช้ยา กลุ่มเดียวกันซ้ำซ้อนกัน เพราะไม่ทำให้ประสิทธิภาพในการรักษามากขึ้น แต่อาจเกิดผลข้างเคียงจากยามากขึ้น เช่น ใช้ยาขับเสมหะหลายๆยี่ห้อร่วมกัน เป็นต้น
บรรณานุกรม
- http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=169 [2014,April8].
- http://www.doctor.or.th/article/detail/5109 [2014,April8].