ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดส (Serratiopeptidase)

สารบัญ บทความที่เกี่ยวข้อง

บทนำ: คือยาอะไร?

ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดส (Serratiopeptidase) เป็นเอ็นไซน์ชนิดหนึ่งที่ใช้ย่อยโปรตีน ผลิตจากแบคทีเรียกลุ่ม Enterobacterium Serratia sp. ทางวงการแพทย์นำเซอร์ราทิโอเปป ทิเดสมาใช้เป็นยารักษาอาการอักเสบและอาการปวด และมักจะใช้ควบคู่ร่วมกับยาปฏิชีวนะ

ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดสมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?

ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดส

ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดส มีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้ เช่น

  • รักษาอาการอักเสบ เช่น ภาวะช้ำเลือดบริเวณผิวหนังเมื่อได้รับบาดเจ็บ, ภาวะเลือด ออกบริเวณเนื้อเยื่อหลังผ่าตัด เป็นต้น
  • ช่วยย่อยเสมหะที่ตกค้างในบริเวณหลอดลม
  • เป็นยาที่ใช้ช่วยร่วมในการรักษาโรคหืด
  • ช่วยเสริมการทำงานของยาปฏิชีวนะให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดสมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดส มีคุณสมบัติ/กลไกการออกฤทธิ์ในการย่อยโปรตีน ยานี้จึงสามารถทำลายโครงสร้างของเลือดที่เกิดขึ้น ขณะมีบาดแผลและตกค้างอยู่ในเนื้อเยื่อเหล่านี้ ยานี้จึงช่วยให้แผลหายอักเสบเร็วขึ้น เพราะเลือดค้างเหล่านี้จะเป็นตัวกีดกันและทำให้ยาปฏิ ชีวนะออกฤทธิ์ได้ไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งเป็นสาเหตุให้อาการอักเสบจากการบาดเจ็บหรือจากบาด แผลหายช้า

ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดสมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?

ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดส ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย มีรูปแบบการจัดจำหน่าย เช่น

  • ยารับประทานที่เป็นยาเม็ดชนิดเคลือบน้ำตาลขนาด 5 มิลลิกรัม

ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดสมีขนาดรับประทานอย่างไร?

ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดส มีขนาดรับประทาน เช่น

  • ผู้ใหญ่: สามารถรับประทานได้สูงสุดถึง 6 เม็ดต่อวัน โดยแบ่งรับประทาน ครั้งละ 1-2 เม็ด ยานี้เหมาะกับการรับประทานหลังอาหารโดยไม่ต้องเคี้ยว
  • เด็ก: ยังไม่มีรายงานทางคลินิกที่แน่ชัดใน ประสิทธิผล ขนาดยา และผลข้างเคียงของยานี้ในเด็ก

*****หมายเหตุ: ขนาดยา และระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้ เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ผู้รักษาได้ การใช้ยาที่เหมาะสม ควรต้องปรึกษา แพทย์ หรือเภสัชกร ก่อนเสมอ

เมื่อมีการสั่งยา ควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกรอย่างไร?

เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมทั้ง ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดส ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกร เช่น

  • ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยา/ใช้ยาแล้ว คลื่นไส้มาก, แน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก ,และ/หรือขึ้นผื่น
  • มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยาอะไรอยู่ เพราะยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดสอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อน
  • หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์/มีครรภ์ หรือ กำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนม หรือทางรก และเข้าสู่ทารกจนอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อทา รกได้

หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?

หากลืมรับประทานยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดส สามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็นสองเท่า

ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดสมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?

ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดสมี ผลไม่พึงประสงค์จากยา /ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง เช่น

  • สามารถพบภาวะผื่นคันตามผิวหนัง
  • รู้สึกไม่สบายในระบบทางเดินอาหาร
  • ในผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะท้องเสีย

มีข้อควรระวังการใช้ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดสอย่างไร?

ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดส มีข้อควรระวังในการใช้ดังนี้ เช่น

  • ห้ามใช้กับผู้แพ้ยานี้
  • ระวังการใช้ยาในผู้ที่มีภาวะ ตับ ไต ผิดปกติ
  • ห้ามใช้กับผู้ป่วยที่มีภาวะเกล็ดเลือดทำงานผิดปกติ
  • ห้ามใช้กับหญิงตั้งครรภ์ และหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
  • ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
  • ห้ามใช้ยาหมดอายุ
  • ห้ามเก็บยาหมดอายุ
  • ปฏิบัติตาม ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด รวมทั้ง เมื่อจะซื้อยาใช้เอง ควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนเสมอ

ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดสมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?

ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดสมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น เช่น

  • ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดส จะเสริมฤทธิ์กับยาที่มีฤทธิ์ต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด/ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulants) ซึ่งแพทย์ผู้สั่งยาเหล่านี้จะเป็นผู้ปรับขนาดการรับประทานเมื่อต้องใช้ยาร่วมกัน

ควรเก็บรักษายาเซอร์ราทิโอเปปทิเดสอย่างไร?

ควรเก็บรักษายาเซอร์ราทิโอเปปทิเดส เช่น

  • เก็บยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดสในอุณหภูมิห้อง
  • เก็บยาให้พ้นจากความชื้น พ้นจากแสงแดด
  • และเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดสมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?

ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดส มียาชื่อการค้า และผลิตจากบริษัทต่างๆ เช่น

ชื่อการค้าบริษัทผู้ผลิต
Dailat (ไดแลท)Pharmasant Lab
Danzen (แดนเซน)Takeda
Danzinin (แดนซินิน)Inpac Pharma
Danzyme (แดนไซม์)Medicine Supply
Denzo (เดนโซ)T.O. Chemicals
Fazen (ฟาเซน)Pharmahof
Medizyme (เมดิไซม์)Utopian
Rodase (โรเดส)Pond’s Chemical
Serdas (เซอร์ดาส)Inpac Pharma
Serradase (เซอร์ราเดส)Siam Bheasach
Serrano (เซอร์ราโน)M & H Manufacturing
Serrao (เซอร์ราว)Masa Lab
Serrapep (เซอร์ราเปป)Asian Pharm
Serrason (เซอร์ราซัน)Unison
Serrin (เซอร์ริน)MacroPhar
Serti-O (เซอร์ทิ-โอ)Patar Lab
Sumidin (ซูมิดิน)Pharmaland
Tanza (แทนซา)T. Man Pharma
Unizen/Unizen-F (ยูนิเซน/ยูนิเซน-เอฟ)Unison

บรรณานุกรม

  1. https://en.wikipedia.org/wiki/Serratiopeptidase [2019,June15]
  2. http://www.mims.com/Thailand/drug/info/Danzen/?q=serratiopeptidase [2019,June15]
  3. http://www.mims.com/Thailand/drug/info/Denzo/?q=denso&type=brief [2019,June15]