ยาลอราทาดีน (Loratadine)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 10 มกราคม 2563
- Tweet
- บทนำ
- ยาลอราทาดีนมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
- ยาลอราทาดีนมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- ยาลอราทาดีนมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- ยาลอราทาดีนมีขนาดรับประทานอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
- ยาลอราทาดีนมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้ยาลอราทาดีนอย่างไร?
- ยาลอราทาดีนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษายาลอราทาดีนอย่างไร?
- ยาลอราทาดีนมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- โรคภูมิแพ้หูคอจมูก (ENT and Allergy)
- โรคภูมิแพ้ (Allergy)
- ลมพิษ (Urticaria)
- ยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก ยาแอนติฮิสตามีน (Antihistamine drug)
- ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics)
- ยาต้านเศร้า(Antidepressants)
- ยาต้านเชื้อรา (Antifungal drugs)
- ยาโรคเกาต์ หรือ ยารักษาโรคเกาต์ (Gout Medication)
- ยาแก้ท้องเสีย (Antidiarrhea drugs)
บทนำ
ยาลอราทาดีน (Loratadine) เป็นยาในกลุ่มต่อต้านฮิสตามีน (2nd generation hista mine antagonist) วัตถุประสงค์ของการพัฒนายานี้ เพื่อค้นหายาแก้แพ้ที่มีผลข้างเคียง เช่น อาการง่วงนอนที่น้อยลง มนุษย์ได้นำมาใช้ในวงการแพทย์เป็นเวลามากกว่า 20 ปีแล้ว
ตลาดยาบ้านเราจะพบเห็นยาลอราทาดีน ในรูปแบบการจัดจำหน่ายของยาเม็ดและยาน้ำสำหรับเด็ก
หลังรับประทานยาลอราทาดีน ยาจะถูกดูดซึมภายในระบบทางเดินอาหาร ภายในระยะ เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง และถูกส่งไปเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมีที่อวัยวะตับ ระดับยาในกระแสเลือดจะถูกกำจัดออกจากร่างกาย 50% (Half Life) ภายในเวลา 8.4 ชั่วโมง โดยผ่านมาทางปัสสาวะและอุจจาระ แต่สำหรับลอราทาดีนที่ถูกเปลี่ยนโครงสร้างที่ตับ จะได้สารเคมีชื่อ เดสลอราทาดีน (Desloratadine) ต้องใช้เวลาถึง 28 ชั่วโมง จึงจะกำจัดยาออกจากกระแสเลือดได้ 50%
ลอราทาดีนจัดอยู่ในยากลุ่มยาอันตราย มีข้อห้ามใช้ ข้อควรระวัง และผลข้างเคียงมาก มาย การใช้ยาจึงต้องอยู่ภายใต้คำสั่งแพทย์ผู้ทำการรักษา
ยาลอราทาดีนมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
ยาลอราทาดีนมีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้ เช่น รักษาอาการแพ้ต่างๆ เช่น
- แพ้เกสรดอกไม้
- ลมพิษ
- ผื่นคัน
- ระคายเคืองที่ตา
- คันจมูก
- อาการจาม เป็นต้น
ยาลอราทาดีนมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
กลไกการออกฤทธ์ของลอราทาดีน คือจะเข้าไปจับกับตัวรับ (Receptors) ในเซลล์ของ ร่างกายที่เรียกว่า Peripheral Histamine H1 Receptors ทำให้การทำงานของสารฮิสตามีนถูก ยับยั้ง และส่งผลให้ระงับอาการแพ้ต่างๆ
ยาลอราทาดีนมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ประเทศไทยจัดจำหน่ายยาลอราทาดีนในรูปแบบ ดังนี้
ยาลอราทาดีนมีขนาดรับประทานอย่างไร?
ขนาดรับประทานของยาลอราทาดีน เช่น
- ผู้ใหญ่ และ เด็กอายุตั้งแต่ 12 ขึ้นไป: รับประทานครั้งละ 1 เม็ดหรือครั้งละ 2 ช้อนชา วันละครั้ง
- เด็กอายุ 2 - 12 ปี และมีน้ำหนักตัวมากกว่า 30 กิโลกรัม: รับประทานครั้งละ 2 ช้อนชา วันละครั้ง
- หากมีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 30 กิโลกรัมรับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา วันละครั้ง
- เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี อยู่ในดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษา
อนึ่ง:
- สามารถรับประทานยาลอราทาดีน ก่อน หรือ หลังอาหาร ก็ได้
- ขนาดและระยะเวลาของการรับประทานต้องเป็นไปตามคำสั่งแพทย์
- *การรับประทานยานี้เกินขนาดซึ่งมักพบเหตุการณ์นี้ขณะป้อนยาให้กับเด็กเล็ก โดยตวงยาชนิดน้ำผิดพลาด ซึ่งสังเกตอาการได้ดังนี้ เช่น ง่วงนอนอย่างมาก หัวใจเต้นเร็ว ปวดศีรษะ ซึ่งการแก้ไขเบื้องต้น คือ
- ถ้าผู้ป่วยยังมีสติ ต้องทำให้อาเจียนเพื่อขจัดยาออกจากกระเพาะอาหาร
- จากนั้นให้รับประทานยา Activated Charcoal เพื่อดูดซับ ยาที่ยังคั่งค้างอยู่ในกระเพาะอาหาร
- หากไม่ได้ผล ต้องรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที/ฉุกเฉิน เพื่อแพทย์ทำการล้างท้อง
*****หมายเหตุ: ขนาดยา และระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้ เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ผู้รักษาได้ การใช้ยาที่เหมาะสม ควรต้องปรึกษา แพทย์ หรือเภสัชกร ก่อนเสมอ
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาลอราทาดีน ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกร เช่น
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยา/ใช้ยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือ แน่นหายใจติดขัด/หาย ใจลำบาก
- มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยาอะไรอยู่ เพราะยาลอราทาดีนอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อน
- หากเป็นสุภาพสตรี ควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์ /มีครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรก และเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทานยาลอราทาดีน สามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า
ยาลอราทาดีนมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
ผล/อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ผลข้างเคียง /อาการข้างเคียง) ของยาลอราทาดีน คือ สามารถก่อให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น
- มีอาการง่วงนอนเล็กน้อย
- การมองเห็นภาพไม่ชัดเจน
- รู้สึกไม่สบายในทางเดินอาหาร
- ปวดศีรษะ
- ปัสสาวะขัด
- ปากแห้ง เป็นต้น
มีข้อควรระวังการใช้ยาลอราทาดีนอย่างไร?
ข้อควรระวังในการใช้ ยาลอราทาดีน เช่น
- ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยาลอราทาดีน
- ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคตับระยะรุนแรง
- ห้ามใช้กับผู้ที่มีการทำงานของไตบกพร่อง
- ระวังการใช้ยากับหญิงตั้งครรภ์ และหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
- ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามเก็บยาหมดอายุ
***** อนึ่ง: ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึง ยาแผนปัจจุบันทุกชนิด(รวมยาลอราทาดีนด้วย) ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกชนิด ควรต้องปฏิบัติตาม ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด เสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
ยาลอราทาดีนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ปฏิกิริยาระหว่างยาของยาลอราทาดีน กับยาตัวอื่น เช่น
ก. มียาหลายกลุ่ม เมื่อใช้ร่วมกับยาลอราทาดีน จะส่งผลให้ระดับยาลอราทาดีนในกระ แสเลือดสูงขึ้น ทำให้ผู้ที่ใช้ยาเหล่านั้นได้รับผลข้างเคียงของลอราทาดีนมากยิ่งขึ้น ยากลุ่มดังกล่าว เช่น
- ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย /ยาปฏิชีวนะ เช่นยา Azithromycin, Erythromycin
- ยาต้านเศร้า เช่น Fluoxetine
- ยารักษาแผลในกระเพาะอาหาร เช่นยา Cimetidine
- ยาต้านเชื้อรา เช่นยา Ketoconazole
- ยาแก้ท้องเสีย เช่นยา Loperamide
- ยาโรคเกาต์ เช่นยา Colchicine
ข. ยาทาผิวหนังเพื่อบรรเทาอาการแพ้บางตัว สามารถส่งผลให้ลดระดับยาลอราทาดีนในกระแสเลือดได้ ทำให้ประสิทธิผลของยาลอราทาดีนด้อยลงไปได้เช่นกัน ยาทาผิวหนังดังกล่าว เช่นยา Hydrocortisone cream
ค. ยาลอราทาดีนสามารถทำให้ระดับความเข้มข้นและผลข้างเคียงของยาสเตียรอยด์ เพิ่มมากขึ้น หากมีการใช้ร่วมกันยาสเตียรอยด์ดังกล่าว เช่นยา Prednisolone, Sodium phos phate oral
ควรเก็บรักษายาลอราทาดีนอย่างไร
สามารถเก็บยาลอราทาดีน เช่น
- เก็บยาที่อุณหภูมิห้อง
- เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสง/แสงแดด และ ความชื้น
- ไม่เก็บยาในห้องน้ำ
- เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
ยาลอราทาดีนมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ยาลอราทาดีน มียาชื่อการค้า และบริษัทผู้ผลิต เช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
Alertyne (อเลอร์ไทน์) | P P Lab |
Allerdine (อัลเลอร์ดีน) | L. B. S. |
Allersil (อัลเลอร์ซิล) | Silom Medical |
Aller-Tab (อัลเลอร์-แทบ) | Silom Medical |
Aridine (เอริดีน) | V S Pharma |
Botidine (โบทิดีน) | Patar Lab |
Carinose (คาริโนส) | Community Pharm PCL |
Clalodine (คลาโลดีน) | Pharmasant Lab |
Clarid (คลาริด) | Biolab |
Claridine (คลาริดีน) | Suphong Bhaesaj |
Clarigy (คลาริจี) | New York Chemical |
Claritex (คลาริเท็ก) | The United Drug (1996) |
Claritino (คลาริทิโน) | Milano |
Clarityne (คลาริไทน์) | MSD |
Halodin (ฮาโลดิน) | T.O. Chemicals |
Hisracon (ฮีสราคอน) | Condrugs |
Histadine (ฮีสตาดีน) | Burapha |
Kalidin (คาลิดิน) | T. Man Pharma |
Klaryne (คลาไรน์) | B L Hua |
Lindine (ลินดีน) | Pharmaland |
Logadine (ลอกาดีน) | General Drugs House |
Lolergy (ลอเลอร์จี) | GPO |
Loracine (ลอราซีน) | Medicine Products |
Loradine (ลอราดีน) | Greater Pharma |
Loragis (ลอราจีส) | Thai Nakorn Patana |
Loranox (ลอราน็อก) | Charoen Bhaesaj Lab |
Lorapac (ลอราแพค) | Inpac Pharma |
Lordin (ลอร์ดิน) | Masa Lab |
Loridin MD (ลอริดิน เอ็มดี) | Zydus Cadila |
Lorita (ลอริต้า) | Farmaline |
Lorsedin (ลอร์เซดิน) | Siam Bheasach |
Lortadine (ลอร์ทาดีน) | Olan-Kemed |
Lotidyne (ลอทิดายน์) | Utopian |
Rityne (ริไทน์) | Osoth Interlab |
Roletra (โรเลทรา) | Ranbaxy Unichem |
Sanotyne (ซาโนไทน์) | Pharmahof |
Tiradine (ทีราดีน) | British Dispensary |
Tirlor (ทิเลอร์) | Sandoz |
บรรณานุกรม
1. http://en.wikipedia.org/wiki/Loratadine [2019,Dec28]
2. http://www.mims.com/thailand/drug/info/loratadine?mtype=generic [2019,Dec28]
3. https://www.drugs.com/claritin.html [2019,Dec28]
4. https://www.mims.com/thailand/drug/search?q=loratadine [2019,Dec28]
5. https://www.drugs.com/drug-interactions/loratadine.html [2019,Dec28]