มารู้จักน้ำมันและไขมันในการปรุงอาหาร ตอน 6 การเลือกบริโภคน้ำมันไข

มารู้จักน้ำมันและไขมันในการปรุงอาหาร-6

      

เมนูอร่อย สไตล์สุขภาพ

      

มารู้จักน้ำมันและไขมันในการปรุงอาหาร

      

ตอน 6 การเลือกบริโภคน้ำมันไข

            

น้ำมันไขที่ใช้ทอดอาหารไม่ควรใช้ซ้ำเพราะการทอดใช้ความร้อนสูง เสื่อมสภาพได้เร็ว เกิดสารพิษต่อร่างกายและผู้ที่สูดไอระเหยของน้ำมันเข้าไปสู่ปอดเป็นประจำจะมีความเสี่ยงต่อมะเร็งปอด ดังนั้นการเลือกน้ำมันไขเพื่อบริโภคมีหลักเกณฑ์ดังนี้

1. ปรุงอาหารทั่วไป เช่น ผัด ควรเลือกน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวต่ำ ละกรดไขมันไม่อิ่มตัวหนึ่งตำแหน่ง (กรดโอลีอิก) อยู่ในระดับปานกลางหรือสูง และมีกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกายพอควร เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันถั่วเหลือง และบริโภคเสริมด้วยน้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา น้ำมันเมล็ดอัลมอนด์ น้ำมันข้าวโพด น้ำมันเมล็ดฝ้าย น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันทานตะวัน

2. เลือกวัตถุดิบที่มีส่วนของกรดไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ต่ำ ในการปรุงอาหาร

3. น้ำมันสำหรับทอดอาหารควรเลือกน้ำมันที่มีสภาพดีหรือมีการเสื่อมสภาพน้อยที่สุดมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งในปริมาณต่ำ รวมทั้งไม่มีไขมันทรานส์ น้ำมันปาล์มโอลีอิน เป็นน้ำมันที่เหมาะสำหรับการทอดอาหาร

4. ควรหลีกเลี่ยงกรดไขมันอิ่มตัวในรูปน้ำมันไขและสารพิษในน้ำมันไขที่เสื่อมสภาพ หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารทอด ไม่ทอดอาหารที่อุณหภูมิสูงเกิน และไม่ใช้น้ำมันทอดซ้ำรวมทั้งไม่บริโภคอาหารที่ใช้น้ำมันไขทอดซ้ำ

5. ใช้น้ำมันไขที่มีโคเลสเตอรอลน้อย

6. ใช้น้ำมันไขที่ผ่านการสกัดโดยไม่ใช้ความร้อนสัดส่วนปริมาณของกรดไขมันอิ่มตัว (SFA) กรดไขมันไม่อิ่มตัวหนึ่งตำแหน่ง (MUFA) กรดไขมันไม่ตัวหลายตำแหน่ง (PUFA) และไขมันทรานส์ (TF) ในแต่ละประเภทของน้ำมัน

            

อ้างอิง:

  1. ทิพยเนตร อริยปิติพันธ์. การเลือกใช้น้ำมันพืชปรุงอาหารเพื่อสุขภาพ. ว.โภชนาการ. 2551;43(1):41.
  2. สุนันท์ วิทิตสิริ. รู้จักกับน้ำมันและไขมันปรุงอาหาร. กรุงเทพ: โอเดียนสโตร์; 2559.