ภาวะเครียดจากการเมือง (Political Stress Syndrome : PSS)
- โดย นพ.ทรงภูมิ เบญญากร
- 27 กรกฎาคม 2562
- Tweet
- บทนำ
- ใครมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเครียดจากการเมือง?
- การเมืองทำให้เราเครียดได้อย่างไร?
- เราจะทราบได้อย่างไรว่ามีความเครียดด้านนี้มากเกินไป?
- จะทำอย่างไรดีเมื่อมีความเครียดเกี่ยวกับเรื่องการเมือง? ควรพบจิตแพทย์เมื่อไร?
- อาการเครียดทางการเมืองเป็นซ้ำได้ไหม? และก่อให้เกิดผลในระยะยาวอย่างไร?
- แนะนำเด็กเกี่ยวกับการเมืองอย่างไร?
- สรุป
- ความเครียด ภาวะซึมเศร้า และโรคซึมเศร้า (Stress, Depression and Depressive disorder)
- โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder)
- โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder หรือ MDD)
- ปวดศีรษะจากเครียด (Tension typed headache)
- ปวดหัว ปวดศีรษะ (Headache)
- นอนไม่หลับ (Insomnia)
บทนำ
Political Stress Syndrome (PSS, พีเอสเอส) หรือ สภาวะ/ภาวะเครียดจากการเมือง หรือกลุ่มอาการเครียดจากการเมือง ไม่ใช่โรคทางจิตเวชแต่อย่างใด แต่เป็นความไม่สมดุลทางจิต ใจที่เกิดจากปัจจัยทางการเมือง ซึ่งในระยะสิบปีหลังน่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนไทยเกิดความทุกข์/ความเครียด จนไม่กล้าเปิดประเด็นเรื่องนี้ในการสนทนา เพราะไม่รู้ว่าใครอยู่สีไหนกันแน่ ซึ่งจากการสำรวจพบว่า อุบัติการณ์ 1 ใน 4 ของประชากรไทย กำลังประสบภาวะเครียดจากการ เมือง
ใครมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความเครียดจากการเมือง?
ทุกคนที่อยู่ท่ามกลางปัญหาการเมือง มีความเสี่ยงที่จะเกิดสภาวะเครียดทางการเมืองเพราะเกิดความกังวลล่วงหน้า (Anticipatory Anxiety) ไม่รู้ว่าวันนี้ เหลืองหรือแดงจะมาล้อมหน้าบ้าน ไม่รู้ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินอย่างไร แต่กลุ่มที่มีความเสี่ยงมากที่สุด 5 กลุ่ม ได้แก่
- กลุ่มนักการเมือง
- กลุ่มสนับสนุนขั้วการเมือง
- กลุ่มผู้ติดตามการเคลื่อนไหวทางการเมือง
- กลุ่มผู้สนใจข่าวการเมือง และ
- กลุ่มผู้มีปัญหาสุขภาพจิต
การเมืองทำให้เราเครียดได้อย่างไร?
ตั้งแต่ก่อนสมัยคริสตกาล อริสโตเติล (Aristotle, ปราชญ์ชาวกรีก ช่วง 322-384 ปีก่อน คริสตศักราช) ได้กล่าวไว้ว่า “มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่หมกมุ่นแต่เรื่องการเมือง” ซึ่งคำกล่าวนี้ยังเป็นจริงเสมอ เพราะว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่จำเป็นต้องมีสังคมเสมอ เมื่อมีสังคม ก็จำต้องมีผู้นำที่สามารถมาได้จากหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะแต่งตั้ง หรือเลือกตั้ง และแน่นอนว่าไม่มีทางเลือกใดสามารถให้ความพอใจได้ทั้งสองฝ่ายเลย ทำให้เกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวกขึ้นมา ประชาชนซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการเมือง แต่มีสิทธิในการตัดสินใจน้อยที่สุด เลยอยู่ในสภาวะ ”สิ้นหวัง (Helplessness)” และเกิดเป็นความเครียด
เราจะทราบได้อย่างไรว่ามีความเครียดด้านนี้มากเกินไป?
อาการเครียดจากการเมือง จะแสดงออกเป็นกลุ่มอาการหลัก 3 อย่างซึ่งสามารถพบอา การเหล่านี้ได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยเด็กจะพบอาการทางกายมากกว่า ได้แก่
- อาการทางกาย เช่น ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ ชาตามร่างกาย หายใจไม่อิ่ม
- อาการทางใจ เช่น วิตกกังวลง่าย หงุดหงิด ซึมเศร้า สมาธิไม่ดี
- อาการทางพฤติกรรมและสัมพันธภาพ เช่น มีการโต้เถียงอย่างรุนแรงในเรื่องการเมือง มีความต้องการเอาชนะทางความคิดในเรื่องการเมือง ทำให้เกิดปัญหาทางความสัม พันธ์กับผู้อื่น
จากทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่า อาการเครียดไม่สามารถแสดงออกมาเป็นอาการใด อาการหนึ่งที่ชัดเจน ดังนั้นปัจจุบัน กรมสุขภาพจิตได้พัฒนาแบบประเมินสภาวะเครียดทางการเมือง เพื่อดูว่าท่านมีความเครียดฯมากเกินไปหรือไม่ สามารถเข้าไปประเมินตนเองได้โดยดาวน์โหลดจาก
จะทำอย่างไรดีเมื่อมีความเครียดเกี่ยวกับเรื่องการเมือง? ควรพบจิตแพทย์เมื่อไร?
ผู้ที่สงสัยว่า จะมีอาการเครียดจากการเมือง ไม่จำเป็นต้องไปพบจิตแพทย์ทุกราย เพราะ ว่าอาจเป็นแค่การปรับตัวอย่างหนึ่ง แต่ควรต้องสังเกตสภาวะสุขภาพจิตตัวเองอย่างสม่ำเสมอว่า ตัวเองมีปัญหาทางสัมพันธภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในชีวิตประจำวันได้ ถ้ามีอาการดัง กล่าวควรไปพบจิตแพทย์เพื่อขอรับคำปรึกษา
โดยปกติแล้ว เมื่อปัญหาทางการเมืองคลี่คลายลง อาการเหล่านี้ก็จะหายไปเอง แต่ในบางครั้งที่มีปัญหาเรื้อรัง จึงจำเป็นต้องเข้ารับการรักษา
การรักษาสภาวะเครียดทางการเมือง ไม่ได้แตกต่างจากการรักษาสภาวะเครียดจากปัจจัยอื่นแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การพักผ่อนและออกกำลังกายให้เพียงพอ หาคนปรึกษาระบายความเครียด และ/หรือแพทย์อาจพิจารณาให้ยาตามอาการ เช่น ยาคลายกังวล/ยาคลายเครียด ยานอนหลับ
อย่างไรก็ตาม การป้องกันดูจะเป็นเรื่องที่ผู้คนมักจะละเลยกันไป บางคนคิดว่าต้องหาข้อ มูลให้ได้มากที่สุด เพื่อวางแผนได้ว่าจะทำอย่างไร บางคนคิดตัดสินถูกผิด โดยเชื่อในข่าวด้านหนึ่งมากเกินไป ทั้งหมดนี้ทำให้เสพติดข่าวการเมือง จนเกิดสภาวะเครียดจากการเมือง
จิตแพทย์ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการรับข่าวสารว่า “รู้เขา รู้เรา” คือรู้ว่าผู้ให้ข้อมูลต้อง การอะไร และรู้ว่าข้อมูลมีประโยชน์และโทษกับเราอย่างไร จะทำให้เรารับรู้ข่าวสารแต่พอเพียง ทั้งนี้การรับข้อมูลที่ผ่านจากบุคคลหลายคน ย่อมมีการบิดเบือน และอาจมีทัศนคติทั้งดีและไม่ดีปนเข้ามาได้ ดังนั้นประชาชนควรต้องมีวิจารณญาณโดยรอบคอบต่อข้อมูลทุกเรื่อง
อาการเครียดทางการเมืองเป็นซ้ำได้ไหม? และก่อให้เกิดผลในระยะยาวอย่างไร?
นับเป็นความโชคดี ที่อาการเหล่านี้สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็สามารถเป็นซ้ำได้เช่นกัน ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น โรคทางจิตเวชเดิม สภาพแวดล้อมที่อยู่ท่ามกลางความกดดันทางการเมือง หรือการปรับตัวต่อความเครียดที่ไม่ดีมาก่อน ทั้งหมดนี้ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเครียดทางการเมืองเรื้อรัง จนก่อให้เกิดผลในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นโรคซึมเศร้า หรือโรควิตกกังวลตามมา
แนะนำเด็กเกี่ยวกับการเมืองอย่างไร?
พ่อแม่หลายคน ไม่อยากให้ลูกเครียดเกี่ยวกับเรื่องการเมืองมาก แต่ก็อดพูดถึงการเมืองไม่ได้ โดยไม่ได้สังเกตว่าเด็กฟังอยู่หรือไม่ ทั้งนี้พ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการพูดเรื่องการ เมืองอย่างเป็นกลาง และไม่ใช้อารมณ์ พ่อแม่อาจยกตัวอย่างที่เด็กเข้าใจง่ายๆผ่านการ์ตูน เช่น เหล่าสัตว์เลือกสิงโตเป็นเจ้าป่า เพื่อช่วยปกป้องดูแลอันตรายจากนายพราน และเสริมให้เด็กเห็นข้อดีของความสามัคคี
ในกรณีที่เด็กเห็นภาพความรุนแรงจากสื่อ ควรต้องให้คำแนะนำในทันที อย่าเงียบหรือเปลี่ยนประเด็น เพราะจะทำให้เด็กเข้าใจว่าเป็นเรื่องที่คุยไม่ได้ ทำให้เด็กพยายามหาข้อมูลด้วยตนเอง ที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดด้านการเมือง
สรุป
ถึงแม้การเมือง จะเป็นเรื่องที่เราจำเป็นต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง แต่การ “รู้เขา รู้เรา” คือรู้ว่าผู้ให้ข้อมูลต้องการอะไร และรู้ว่าข้อมูลมีประโยชน์และโทษกับเราอย่างไร จะทำให้เรารับรู้ข่าว สารแต่พอเพียง ทั้งนี้การรับข้อมูลที่ผ่านจากบุคคลหลายคน ย่อมมีการบิดเบือน และอาจมีทัศน คติทั้งดีและไม่ดีปนเข้ามาได้ ดังนั้นเราควรต้องมีวิจารณญาณโดยรอบคอบต่อข้อมูลทุกเรื่อง เพื่อป้องกันตัวเรา ครอบครัวเรา และสังคมจาก “ภาวะเครียดจากการเมือง”