ภาวะขาดโคลีน (Choline deficiency)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 12 เมษายน 2563
- Tweet
- บทนำ: โคลีนคืออะไร? และแหล่งอาหารโคลีน
- ร่างกายต้องการโคลีนวันละเท่าไร?
- โคลีนมีประโยชน์และโทษอย่างไร?
- ภาวะขาดโคลีนมีสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงจากอะไร?
- ภาวะขาดโคลีนมีอาการอย่างไร?
- ควรพบแพทย์เมื่อไร?
- แพทย์วินิจฉัยภาวะขาดโคลีนได้อย่างไร?
- รักษาภาวะขาดโคลีนอย่างไร?
- ภาวะขาดโคลีนมีการพยากรณ์โรคอย่างไร? มีผลข้างเคียงไหม?
- ดูแลตนเองอย่างไร?ควรพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อไร?
- ป้องกันภาวะขาดโคลีนอย่างไร?
- บรรณานุกรม
- อาหารมีประโยชน์ห้าหมู่ (Healthy diet)
- วิตามิน (Vitamin)
- วิตามินรวม มัลติวิตามิน เอ็มทีวี (Multivitamin: MTV)
- วิตามินบีรวม (B-complex vitamins)
- โรคทางเดินอาหาร โรคระบบทางเดินอาหาร (Digestive disease)
- วัยหมดประจำเดือน (Menopause)
- ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน (Diarrhea)
- ไขมันพอกตับ (Fatty liver)
บทนำ: โคลีนคืออะไร? และแหล่งอาหารโคลีน
โคลีน(Choline) เป็นสารอาหารจำเป็นต่อร่างกายชนิดหนึ่ง ที่ร่างกายใช้ช่วยในกระบวนการสันดาป/ เมตาโบลิซึม/การใช้พลังงาน(Metabolism)ของเซลล์ต่างๆ แต่ในแต่ละวัน ร่างกายต้องการโคลีนในปริมาณไม่มากนัก
ทั่วไป นักวิทยาศาสตร์จัดให้โคลีนเป็นวิตามินละลายในน้ำชนิดหนึ่งในกลุ่มวิตามินบี เดิมให้ชื่อว่าวิตามิน-บี4 (Vitamin B 4) และเป็นสารที่ร่างกายสามารถสร้างขึ้นมาใช้งานเองได้จากตับ แต่ร่างกายก็ยังต้องการโคลีนเสริมเพิ่มเติมจากอาหารที่เราบริโภค
แหล่งอาหาร: โคลีนมีในอาหารมีประโยชน์ห้าหมู่ แต่พบมากใน เนื้อแดง(อ่านเพิ่มเติมจากเว็บ haamor.com เรื่อง เนื้อแดง-เนื้อขาว-เนื้อดำ) เนื้อไก่ เนื้อปลา ตับ ไข่ นม นมแม่ เนยแข็งสด/Cottage Cheese ถั่วเหลือง ถั่วต่างๆ เห็ด มันฝรั่ง ธัญญพืช เมล็ดทานตะวัน ยอดผัก บรอคโคลิ ผักกะหล่ำ แครอด ข้าว ส้มเขียวหวาน แอปเปิล ผลกีวี
ร่างกายต้องการโคลีนวันละเท่าไร?
ตามคำแนะนำสำหรับคนทั่วไปต่อปริมาณโคลีนที่ควรบริโภค/ความต้องการต่อวัน(AI, Adequate intake )ของสถาบันการแพทย์แห่งชาติ แห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Food and Nutrition Board, Institute of Medicine, National Academies)ในปีค.ศ. 2011 คือ
อายุ | |
. | |
ทั้งเพศชายและหญิง | |
0-6 เดือน | |
7-12 เดือน | |
1-3 ปี | |
4-8 ปี | |
ผู้ชาย | |
9-13 ปี | |
14-มากกว่า 70 ปี | |
ผู้หญิง | |
9-13 ปี | |
14-18 ปี | |
19-มากกว่า 70 ปี | |
หญิงตั้งครรภ์ | |
14-50 ปี | |
หญิงให้นมบุตร | |
14-50 ปี |
โคลีนมีประโยชน์และโทษอย่างไร?
ประโยชน์และโทษของโคลีน ได้แก่
ก. ประโยชน์ของโคลีน:
- ช่วยในกระบวนการ สันดาป/ เมตาโบลิซึม /Metabolism/การใช้พลังงานของเซลล์ต่างๆ
- เป็นสาระสำคัญในการสร้างเยื่อหุ้มเซลล์(อ่านเพิ่มเติมจากเว็บ haamor.com เรื่อง เซลล์-เนื้อเยื่อ-อวัยวะ)
- เป็นสารสำคัญช่วยในกระบวนการเจริญเติบโตและการทำงานของระบบประสาท เช่น สมอง ความจำ อารมณ์ กระบวนการสร้างสารสื่อประสาทที่ชื่อ Acetylchorine และของระบบกล้ามเนื้อ
ข. โทษของโคลีน: เนื่องจากโคลีนละลายในน้ำ ร่างกายจึงมักกำจัดส่วนเกินได้ดี โดยผ่านไปทางไต/ทางปัสสาวะ ดังนั้นจึงมักไม่พบโทษ/ผลข้างเคียงของโคลีนที่สูงเกินปกติในเลือดเมื่อบริโภคโคลีนจากอาหารธรรมชาติ แต่กรณีบริโภคโคลีนจากอาหารเสริมหรือจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ร่างกายอาจมีโคลีนในเลือดสูงจนก่ออาการผิดปกติ/ผลข้างเคียงได้
ผลข้างเคียงจากโคลีนสูงเกินปกติในร่างกาย เช่น
- ความดันโลหิตต่ำ
- เหงื่อออกมาก
- น้ำลายออกมาก
- คลื่นไส้-อาเจียน
- ท้องเสีย
- ตับอักเสบ
- มีกลิ่นตัวผิดปกติคือ มีกลิ่นคล้ายคาวปลา โดยเป็นกลิ่นของสารTrimethylamine (TMA)ในโคลีนที่จะปนออกมากับ ลมหายใจ เหงื่อ และปัสสาวะ
ภาวะขาดโคลีนมีสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงจากอะไร?
ภาวะขาดโคลีน เป็นภาวะพบได้น้อยมากจากที่ได้กล่าวในบทนำ คือ ร่างกายสร้างโคลีนได้เองและรวมถึงเป็นสารมีอุดมสมบูรณ์ในอาหารทั้งเนื้อสัตว์ ไข่ นม ผัก ผลไม้ แต่อย่างไรก็ตาม สามารถพบภาวะขาดโคลีนได้
ก. สาเหตุที่ทำให้ร่างกายขาดโคลีน ได้แก่
- กินอาหารที่ขาดโคลีน เพราะดังกล่าวแล้วในบทนำว่า ถึงแม้ร่างกายจะสร้างโคลีนได้ แต่ก็ในปริมาณเล็กน้อย ร่างกายต้องการโคลีนมาช่วยเสริมจาการทำงานของร่างกายจากอาหารมีประโยชน์5หมู่ ผู้ที่ขาดโคลีนจึงมักเป็นผู้ที่ขาดอาหาร คือ มีภาวะทุพโภชนาเรื้อรัง เช่น จากฐานะทางเศรษฐกิจ ผู้สูงอายุที่ขาดคนดูแล ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยที่ได้อาหารทางสายให้อาหารต่อเนื่อง
- ร่างกายต้องการโคลีนมากขึ้น เช่น นักกีฬาอาชีพโดยเฉพาะกีฬาที่หักโหม เช่น วิงมาราธอน หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร
- มีโรคทางเดินอาหารเรื้อรัง ที่มีผลต่อระบบการดูดซึมอาหารของร่างกายที่รวมถึง โคลีน
ข. ผู้มีปัจจัยเสี่ยงเกิดภาวะขาดโคลีน ได้แก่
- นักกีฬาประเภทหักโหม เพราะร่างกายใช้พลังงานสูง ร่างกายจึงต้องการโคลีนสูงกว่าปกติ
- ดื่มสุราเรื้อรัง เพราะคนกลุ่มนี้มักขาดอาหาร และกินอาหารไม่มีประโยชน์
- หญิงตั้งครรภ์ เพราะทารกในครรภ์ ต้องการโคลีนด้วย
- หญิงให้นมบุตร เพราะต้องเสียโคลีนไปกับน้ำนมแม่
- หญิงวัยหมดประจำเดือน เพราะเอสโตรเจน/ฮอร์โมนเพศหญิงหมดไป ฮอร์โมนนี้เป็นฮอร์โมนช่วยตับสร้างโคลีน
- มีโรคประจำตัวเรื้อรัง ที่มักทำให้เกิดภาวะทุพโภชนา เช่น โรคทางเดินอาหารเรื้อรัง, ผู้ป่วยที่ต้องได้อาหารทางสายให้อาหารต่อเนื่องตลอดเวลา เช่น ผู้ป่วยติดเตียง
ภาวะขาดโคลีนมีอาการอย่างไร?
ไม่มีอาการเฉพาะของภาวะขาดโคลีน แต่จะเป็นอาการคล้ายกับการขาดสารอาหารต่างๆ และมักเป็นการขาดที่เกิดร่วมกับการขาดสารอาหารต่างๆ ที่รวมถึงร่างกายต้องมีการขาดสารอาหารที่รวมถึงโคลีนอย่างเรื้อรังต่อเนื่อง เป็นเวลานาน และด้วยการทำงานของโคลีนคือ ช่วยในกระบวนการ สันดาป/ เมตาโบลิซึมของเซลล์ต่างๆโดยเฉพาะ อวัยวะที่สำคัญของร่างกาย อาการที่พบได้จึงมักเป็นการทำงานที่ผิดปกติของอวัยวะสำคัญเหล่านั้น เช่น
- โรคหัวใจ: โรคหลอดเลือดหัวใจ
- สมองเสื่อม
- ไขมันพอกตับ ชนิด Non alcoholic fatty liver
- อาการทั่วไปจากภาวะทุพโภชนา เช่น อ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิ นอนไม่หลับ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไขมันในเลือดสูง
ควรพบแพทย์เมื่อไร?
เมื่อมีอาการดังกล่าวในหัวข้อ”อาการฯ” และอาการไม่ดีขึ้น หรืออาการเลวลงหลังดูแลตนเองประมาณ 1-2 สัปดาห์ ควรพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลเสมอเพื่อให้แพทย์ตรวจหาสาเหตุ
แพทย์วินิจฉัยภาวะขาดโคลีนได้อย่างไร?
แพทย์วินิจฉัยภาวะขาดโคลีนได้จาก
- ประวัติอาการผู้ป่วย ประวัติโรคประจำตัว ประวัติการกินอาหาร
- การตรวจร่างกาย
- ทั่วไปยังไม่มีการศึกษาแน่ชัดถึงระดับปกติของโคลีนในเลือด และไม่นิยมนำค่านี้มาใช้ทางคลินิก จะใช้ส่วนใหญ่ในการศึกษาวิจัย แต่จะเป็นการวินิจฉัยในภาพรวมว่า ร่างกายมีภาวะทุพโภชนาและมีการขาดวิตามินและเกลือแร่/แร่ธาตุ ต่างๆ เพราะดังกล่าวแล้วว่า เมื่อมีการขาดโคลีน มักเกิดร่วมกับการขาดวิตามิน-แร่ธาตุอื่นๆร่วมด้วยเสมอ
รักษาภาวะขาดโคลีนอย่างไร?
การรักษาภาวะขาดโคลีน คือ การรักษาภาวะทุพโภชนา คือ ให้ผู้ป่วยบริโภคอาหารที่มีโคลีนสูงในทุกมื้ออาหาร และการให้โคลีนในลักษณะอาหารเสริมตามดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษา
อนึ่ง ในกรณีผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงเกิดภาวะขาดโคลีน ไม่ควรซื้ออาหารเสริมโคลีนมาบริโภคเอง ควรปรึกษาแพทย์ก่อน และควรใช้โคลีนเสริมอาหารตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น เพราะในทางคลินิก ยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนถึงโทษของการได้รับโคลีนสูงเกินไปต่อเนื่อง
ภาวะขาดโคลีนมีการพยากรณ์โรคอย่างไร? มีผลข้างเคียงไหม?
ทั่วไป ภาวะขาดโคลีน เป็นภาวะที่มีการพยากรณ์โรคที่ดี ไม่ทำให้ผู้ป่วยตาย แพทย์สามารถให้การรักษาควบคุมโรคได้ดี
อนึ่ง ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถ รักษา ควบคุม สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะขาดโคลีนได้ ผู้ป่วยก็สามารถกลับมามีภาวะขาดโคลีนซ้ำได้อีกเสมอ
ส่วนผลข้างเคียงจากการขาดโคลีน ก็คือ การเกิดภาวะทุพโภชนาการนั้นเอง
ดูแลตนเองอย่างไร?ควรพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อไร?
เมื่อมีภาวะขาดโคลีน การดูแลตนเอง เช่น
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของ แพทย์ พยาบาล
- กินยา/ใช้ยาต่างๆที่แพทย์สั่งให้ครบถ้วน ไม่ขาดยา ไม่หยุดยาเอง
- กินอาหารมีประโยชน์ห้าหมู่ให้ครบถ้วนในทุกมื้ออาหาร
- กินอาหารที่มีโคลีนสูงในทกมื้ออาหาร
- รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงที่รวมถึงการออกกกำลังกายให้เหมาะสมกับสุขสภาพสม่ำเสมอทุกวัน เพราภาวะทุพโภชนาที่เกิดร่วมกับการขาดสารอาหารที่รวมถึงโคลีน จะส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ ร่างกายจึงติดเชื้อต่างๆได้ง่าย
- ดูแล รักษา ควบคุม โรค/ภาวะที่เป็นปัจจัยเสี่ยงฯ ดังกล่าวในหัวข้อ”ปัจจัยเสี่ยงฯ”ให้ไดดี
- พบแพทย์/มาโรงพยาบาลตามแพทย์นัดเสมอ
- ควรพบแพทย์/มาโรงพยาบาลก่อนนัดเมื่อ
- อาการต่างๆเลวลงทั้งที่ปฏิบัติตนและกินยาตามแพทย์สั่ง
- มีอาการผิดปกติที่ไม่เคยมีมาก่อน เช่น ชาตามปลายมือ ปลายเท้า บวมเท้า หรือเนื้อตัวบวม
- มีผลข้างเคียงจากยาที่แพทย์สั่งจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น วิงเวียนมาก ท้องผูกมาก นอนไม่หลับต่อเนื่อง
- เมื่อกังวลในอาการ
ป้องกันภาวะขาดโคลีนอย่างไร?
ป้องกันภาวะขาดโคลีนได้ดังนี้ คือ
ก. กรณีคนทั่วไป: การป้องกันคือ
- กินอาหารมีประโยชน์ห้าหมู่ในปริมาณที่เหมาะสมที่ไม่ก่อให้เกิด โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน ในทุกๆวัน ถ้าเป็นไปได้ ควรเป็นทุกมื้ออาหาร
ข. กรณีมีโรคประจำตัว หรือมีปัจจัยเสี่ยงที่จะขาดโคลีน: การป้องกัน ได้แก่
- กินอาหารมีประโยชน์ห้าหมู่ให้ครบถ้วนในทุกวัน ถ้าเป็นไปได้ควรทุกมื้ออาหาร
- ดูแล รักษา ควบคุม ภาวะ/โรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงฯ ดังกล่าวในหัวข้อ”ปัจจัยเสี่ยงฯ”ให้ได้ดี
บรรณานุกรม
- Sanders, LM and Zeisel, SH. Nutr Today. 2007;42(4):181-186
- https://en.wikipedia.org/wiki/Choline [2020,April4]
- https://ods.od.nih.gov/factsheets/Choline-HealthProfessional/ [2020,April4]
- https://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?contenttypeid=19&contentid=choline[2020,April4]
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK56068/table/summarytables.t2/?report=objectonly [2020,April4]