ฟู้ดโคม่า (ตอนที่ 2 และตอนจบ)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 21 สิงหาคม 2564
- Tweet
ส่วนอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง ได้แก่
- พาสต้า
- ข้าว
- ขนมปังขาวและแครกเคอร์
- นม
- น้ำตาลและลูกกวาด
นอกจากนี้อาการฟู้ดโคม่ายังอาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยอื่น เช่น
- นอนไม่หลับตอนกลางคืน
- ดื่มแอลกอฮอล์พร้อมอาหารโดยเฉพาะตอนกลางวัน
- เป็นโรคเบาหวาน หรือมีแนวโน้มที่จะเป็นเบาหวาน หรือมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง
สำหรับการป้องกันสามารถทำได้ด้วยการ
- กินทีละน้อยแต่บ่อยมากกว่าการกินมื้อใหญ่ทีเดียว ทั้งนี้เพื่อรักษาระดับของพลังงาน
- นอนหลับอย่างมีคุณภาพตอนกลางคืน
- เดินย่อยอาหารหลังการกิน
- งีบหลับช่วงเวลาสั้นๆ
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ในมื้ออาหาร
- ลดดื่มและกินอาหารที่มีน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ (Refined sugar) และอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตซึ่งหลังกินจะถูกดูดซึมข้าสู่ระบบการย่อยและดูดซึมของร่างกายแล้ว สามารถเพิ่มระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดได้มาก (High-glycemic food)
- กินไฟเบอร์ให้มากขึ้นเพื่อป้องกันน้ำตาลในเลือด
- อาจการรักษาด้วยแสงสว่าง (Bright-light Therapy) ซึ่งเป็นการรักษาโดยการให้ผู้ป่วยออกไปทำกิจกรรมการแจ้งในเวลาเช้า เพื่อให้ร่างกายได้รับแสงแดด ซึ่งจะส่งผลดีต่อนาฬิกาชีวิต แต่วิธีการรักษาจะต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ เนื่องจากหากอยู่กลางแจ้งนานเกินไปอาจจะทำให้อ่อนเพลียได้
แหล่งข้อมูล:
- Why do people feel tired after eating? https://www.medicalnewstoday.com/articles/323379#why-do-people-feel-tired-after-eating [2021, Aug 20].
- Overcome the Food Coma - Without Caffeine. https://news.umiamihealth.org/en/overcome-food-coma/?print=print [2021, Aug 20].