ฟอสฟอรัสในเลือดต่ำ (Hypophosphatemia)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 2 กุมภาพันธ์ 2561
- Tweet
- โรคกระดูก (Bone disease)
- โรคต่อมไร้ท่อ โรคระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine disease)
- โรคพิษสุรา (Alcoholism หรือ Alcohol use disorder)
- กายวิภาคและสรีรวิทยาระบบต่อมไร้ท่อ (Anatomy and physiology of endocrine system)
- Electrolyte
- ความเป็นกรดด่าง ภาวะความเป็นกรดด่าง หรือ พีเอช (pH: Potential of hydrogen)
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
ฟอสฟอรัส(Phosphorus) สัญญลักษณ์ว่า “P” เป็นเกลือแร่สำคัญของสิ่งมีชีวิตที่รวมถึงมนุษย์ ที่ใช้ในกระบวนการสร้างสารพันธุกรรม DNA RNA การสร้างกระดูก การใช้พลังงานของทุกเซลล์ รวมไปถึงการรักษาสมดุลของกรด-ด่างของร่างกาย/ของเลือด และเมื่ออยู่ในร่างกายในรูปแบบของเกลือ จะเรียกว่า “ฟอสเฟต(Phosphate)” ดังนั้นทั่วไปจึงมักเรียกแทนกันสลับกันไปมาระหว่าง ‘ฟอสฟอรัส’ และ ‘ฟอสเฟต’ ซึ่งเราสามารถตรวจหาค่าของฟอสฟอรัสได้จากการตรวจเลือด โดยทั่วไปค่าปกติของ ฟอสฟอรัสจะประมาณ 2.5 - 4.5 mg/dL(มิลลิกรัม/เดซิลิตร) หรือ 0.81 mmol/L - 1.45 mmol/L (มิลลิโมล/ลิตร)
ฟอสฟอรัสในเลือดต่ำ หรือ ฟอสเฟตในเลือดต่ำ (Hypophosphatemia)คือภาวะที่ตรวจพบมีปริมาณฟอสฟอรัสในเลือดต่ำกว่าค่าปกติ ซึ่งทั่วไปมักมีสาเหตุได้หลากหลาย เช่น ภาวะขาดอาหาร/ทุโภชนาการ(เช่น จากโรคระบบทางเดินอาหารที่มีผลให้การดูดซึมอาหารผิดปกติ) โรคพิษสุราเรื่อรัง โรคเนื้องอกของต่อมพาราไทรอยด์ โรคต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากเกินปกติ ภาวะตับวาย โรคกระดูก ภาวะเลือดเป็นด่างจากมีการหายใจเร็วผิดปกติ และโรคทางพันธุกรรมบางโรค
อาการที่พบบ่อยจากภาวะฟอสฟอรัสในเลือดต่ำจะขึ้นกับสาเหตุที่จะต่างกันในผู้ป่วยแต่ละรายตามแต่ละสาเหตุ นอกจากนั้นคือ อาการทั่วไปที่เหมือนกันในทุกผู้ป่วย เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง สับสน อาการเพ้อ ถ้ารุนแรงอาจถึงขั้นโคม่า
การรักษาคือ การให้ชดเชยฟอสฟอรัสทางสารน้ำทางหลอดเลือดดำ ส่วนการพยากรณ์โรคจะขึ้นกับแต่ละสาเหตุที่ทำให้เกิดฟอสฟอรัสในเลือดต่ำ
บรรณานุกรม
- https://en.wikipedia.org/wiki/Hypophosphatemia [2018,Jan13]
- https://www.healthline.com/health/serum-phosphorus [2018,Jan13]