พระก็ป่วยเป็นนะโยม (ตอนที่ 6)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 30 พฤศจิกายน 2562
- Tweet
ความดันโลหิตสูงทุติยภูมิ (ต่อ)
- ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive sleep apnea)
- ไตมีปัญหา (Kidney problems)
- เนื้องอกต่อมหมวกไต (Adrenal gland tumors)
- ไทรอยด์มีปัญหา (Thyroid problems)
- หลอดเลือดมีปัญหาแต่แรกเกิด
- ยาบางชนิด เช่น ยาคุม (Birth control pills) ยาแก้หวัด (Cold remedies) ยาลดน้ำมูก ยาลดอาการบวมของเนื้อเยื่ออ่อน ยาช่วยลดการบวมของเยื่อบุทางหายใจ ยาลดการคั่งของจมูก (Decongestants) ยาบรรเทาอาการปวด เป็นต้น
- ยาผิดกฏหมาย เช่น ยาโคเคน (Cocaine) ยาแอมเฟตามีน (Amphetamines)
โดยอาการของความดันโลหิตสูงที่ปรากฏจะมีลักษณะ เช่น
- ปวดศีรษะตอนเช้า
- เลือดกำเดาไหล
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ
- สายตาเปลี่ยน
- มีเสียงเหมือนผึ้งร้องหึ่งๆในหู (Buzzing)
ส่วนกรณีที่รุนแรงอาจมีอาการ เช่น
- อ่อนเพลีย
- คลื่นไส้อาเจียน
- งุนงง
- วิตกกังวล
- เจ็บหน้าอก
- กล้ามเนื้อสั่น (Muscle tremors)
สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงมีหลายอย่าง ได้แก่
- อายุ – ความดันโลหิตจะสูงตามอายุที่มากขึ้น โดยส่วนใหญ่ผู้ชายจะมีความดันโลหิตสูงที่อายุ 64 ปี และผู้หญิงหลังอายุ 65 ปี
- เพศ – เพศชายมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศหญิง
- เชื้อชาติ – ความดันโลหิตสูงมักเกิดในคนเชื้อชาติแอฟริกันมากกว่าคนผิวขาว โดยจะมีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจวาย โรคไตวาย
- ประวัติคนในครอบครัว – มักถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม
- มีน้ำหนักตัวมากหรืออ้วน – เพราะยิ่งน้ำหนักตัวมาก ยิ่งจำเป็นต้องการเลือดไปลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารให้กับเซลล์ต่างๆ ยิ่งเมื่อการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดเพิ่มขึ้น ก็ยิ่งทำให้มีแรงกดบนผนังหลอดเลือดมากขึ้น
แหล่งข้อมูล:
- High blood pressure (hypertension). https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/high-blood-pressure/symptoms-causes/syc-20373410 [2019, November 29].
- Hypertension. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/hypertension [2019, November 29].
- Everything you need to know about hypertension. https://www.medicalnewstoday.com/articles/150109.php#management-and-treatment [2019, November 29].