พระก็ป่วยเป็นนะโยม (ตอนที่ 4)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 26 พฤศจิกายน 2562
- Tweet
โดยแพทย์อาจจ่ายยาลดไขมัน 1 ตัวหรือมากกว่าสำหรับผู้ที่มีระดับคลอเรสเตอรอลโดยรวมอย่างต่ำ 200 มิลลิกรัมต่อเลือด 1 เดซิลิตร ซึ่งมักได้แก่ ยา Statin ที่จะช่วยลดการผลิตคลอเรสเตอรอลที่ตับ หากไม่ได้ผล แพทย์อาจจ่ายยาตัวอื่น เช่น
- Ezetimibe
- Niacin
- Fibrates
- Bile acid sequestrants
- Evolocumab และ Alirocumab
- Lomitapide และ Mipomersen
ทั้งนี้ ต้องระวังในการใช้ยาลดไขมันในหลอดเลือดให้ดีเพราะมีผลข้างเคียงในระยะยาวและควรปรึกษาแพทย์เพื่อกำหนดปริมาณการใช้ยาที่เหมาะสม
สำหรับการรักษาตัวตามธรรมชาติ รวมถึงผู้ที่ยังมีอาการน้อยและมักไม่แสดงอาการแต่อย่างใด สามารถช่วยได้ด้วยการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตซึ่ง ได้แก่
- การลดการกินไขมันเลว เช่น ไขมันที่พบในเนื้อแดง ผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันสูง (Refined carbohydrates) ช็อกโคแลต มันฝรั่งกรอบ (Chips) และของทอด
- ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ
- รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม
- ลดการดื่มแอลกอฮอล์
- เลิกบุหรี่และยาสูบทุกชนิด
- หลีกเลี่ยงการนั่งเป็นเวลานาน
- กินอาหารที่มีประโยชน์ (Polyunsaturated fats) เช่นที่พบใน ถั่ว ปลา ธัญพืชเต็มเมล็ดที่ไม่ผ่านการขัดสีหรือขัดสีน้อยที่สุด (Whole grains) และน้ำมันมะกอก
- กินน้ำมันโอเมก้า-3
- กินอาหารที่มีใยไฟเบอร์มาก เช่น ผัก ผลไม้ และ ธัญพืช
- นอนอย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง
- ดื่มน้ำให้มาก
อย่างไรก็ดี ผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
- เจ็บหรือแน่นหน้าอก
- เวียนศีรษะ
- ใจสั่น (Heart palpitations)
- อ่อนเพลีย
- ข้อเท้าและเท้าบวม
- หายใจลำบาก
- เหงื่อออก (Cold sweats)
- คลื่นไส้และเป็นกรดไหลย้อน
แหล่งข้อมูล:
- Dyslipidemia: Everything you need to know. https://www.medicalnewstoday.com/articles/321844.php#risk-factors [2019, November 24].
- Dyslipidemia: What You Need to Know. https://www.healthline.com/health/dyslipidemia#outlook [2019, November 24].