พระก็ป่วยเป็นนะโยม (ตอนที่ 3)

พระก็ป่วยเป็นนะโยม-3

      

      โรคไขมันในเลือดสูงแบบทุติยภูมิ (Secondary dyslipidemia) เกิดจากการใช้ชีวิตหรือมีสภาพทางการแพทย์ (Medical conditions) ที่ส่งผลต่อระดับไขมันในเลือด ซึ่งอาจเกิดจาก

  • โรคอ้วน (Obesity)
  • โรคเบาหวาน
  • ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (Hypothyroidism)
  • โรคพิษสุราเรื้อรัง (Alcoholism)
  • กลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ (Polycystic ovary syndrome – PCOS)
  • ภาวะอ้วนลงพุง หรือ ภาวะเมแทบอลิกซินโดรม (Metabolic syndrome)
  • การบริโภคไขมันเกินไป โดยเฉพาะไขมันชนิดอิ่มตัวและไขมันทรานส์
  • กลุ่มอาการคุชชิ่ง (Cushing's syndrome)
  • โรคลำไส้อักเสบ (Inflammatory bowel disease – IBD)
  • การติดเชื้อที่รุนแรง เช่น เชื้อเฮชไอวี
  • โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ส่วนท้องโป่งพอง (Abdominal aortic aneurysm – AAA)
  •       สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไขมันในเลือดสูง ได้แก่

  • โรคอ้วน
  • พฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary lifestyle)
  • ขาดการออกกำลังกายเป็นประจำ
  • ดื่มแอลกอฮอล์
  • สูบบุหรี่
  • ใช้ยาเสพติด
  • ติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted infections)
  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2
  • ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (Hypothyroidism)
  • โรคไตหรือตับเรื้อรัง
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหาร (Digestive conditions)
  • อายุมาก
  • กินอาหารที่มีไขมันชนิดอิ่มตัวและไขมันทรานส์
  • มีพ่อแม่หรือปู่ย่าตายายเป็นโรคไขมันในเลือดสูง
  • หลังวัยหมดประจำเดือน เพศหญิงมีแนวโน้มที่จะมีระดับ LDL ที่สูงขึ้น
  •       ส่วนการรักษาโรคไขมันในเลือดสูงมักให้กินยาเพื่อลดระดับไตรกลีเซอไรด์และระดับ LDL อย่างไรก็ดี การรักษาอาจแตกต่างกันปึ้นกับสาเหตุที่ทำให้เป็นและความรุนแรงของอาการ

          

    แหล่งข้อมูล:

    1. Dyslipidemia: Everything you need to know. https://www.medicalnewstoday.com/articles/321844.php#risk-factors [2019, November 24].
    2. Dyslipidemia: What You Need to Know. https://www.healthline.com/health/dyslipidemia#outlook [2019, November 24].