พระก็ป่วยเป็นนะโยม (ตอนที่ 2)

พระก็ป่วยเป็นนะโยม-2

      

      คนส่วนใหญ่มักไม่รู้ตัวว่าตัวเองมีปัญหาเรื่องไขมันในหลอดเลือด จนกว่าจะเกิดอาการรุนแรง อย่างไรก็ดีแพทย์มักจะตรวจพบระหว่างการทดสอบโรคอื่น ทั้งนี้ การตรวจวินิจฉัยระดับ LDL, HDL และไตรกลีเซอไรด์สามารถทำได้ด้วยการตรวจเลือด ซึ่งระดับเหล่านี้สามารถเปลี่ยนไปได้ทุกปี

      กรณีที่มีอาการรุนแรงหรือไม่ได้รับการรักษาสามารถทำให้เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease - CAD) และ โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ (Peripheral artery disease - PAD) ซึ่งทั้ง 2 โรคนี้ก็สามารถเป็นสาเหตุให้เกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงได้อย่างภาวะหัวใจวาย (Heart attacks) และ โรคหลอดเลือดสมอง (Strokes) โดยมีอาการทั่วไป ดังนี้

  • เจ็บขา โดยเฉพาะเวลาเดินหรือยืน
  • เจ็บหน้าอก
  • แน่นหน้าอกหรือหายใจลำบาก
  • ปวด แน่น บริเวณคอ กราม ไหล่ และหลัง
  • อาหารไม่ย่อยและเป็นกรดไหลย้อน
  • มีปัญหาเรื่องการนอนและอ่อนเพลียตอนกลางวัน
  • เวียนศีรษะ (Dizziness)
  • ใจสั่น (Heart palpitations)
  • เหงื่อออก
  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • ขา ข้อเท้า ท้อง และเส้นเลือดที่คอบวม
  • เป็นลม (Fainting)

      ซึ่งอาการเหล่านี้อาจจะแย่ลงเมื่อมีภาวะเครียดหรือทำงานหนักและจะรู้สึกดีขึ้นเมื่อได้พัก อย่างไรก็ดี ผู้ที่มีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง เวียนศีรษะ เป็นลม หรือหายใจลำบากควรไปพบแพทย์ทันที

      โรคไขมันในเลือดสูงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท โดยขึ้นอยู่กับสาเหตุ กล่าวคือ

      โรคไขมันในเลือดสูงแบบปฐมภูมิ (Primary dyslipidemia) ซึ่งเป็นปัจจัยทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดได้ โดยมีสาเหตุได้จากประเภทต่างๆ ดังนี้ คือ

  • Familial combined hyperlipidemia – เป็นตัวที่พบมากที่สุด มีทั้ง LDL และ ไตรกลีเซอไรด์ที่สูง มักเกิดในวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาวที่สามารถทำให้มีคลอเรสเตอรอลสูงและมีภาวะความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease) ที่เร็วกว่าคนอื่นซึ่งจะทำให้เกิดภาวะหัวใจวายได้
  • Familial hyperapobetalipoproteinemia – เป็นการกลายพันธุ์ของกลุ่ม LDL lipoproteins ที่เรียกว่า Apolipoproteins.
  • Familial hypertriglyceridemia – ทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์สูง

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Dyslipidemia: Everything you need to know. https://www.medicalnewstoday.com/articles/321844.php#risk-factors [2019, November 23].
  2. Dyslipidemia: What You Need to Know. https://www.healthline.com/health/dyslipidemia#outlook [2019, November 23].