พระก็ป่วยเป็นนะโยม (ตอนที่ 19)

พระก็ป่วยเป็นนะโยม-19

      

      การให้ยาเพื่อควบคุมอาการแทรกซ้อนของโรคไต (ต่อ)

  • ยารักษาโรคโลหิตจาง –เช่น ยาฮอร์โมนอีริโทโพอิติน (Hormone erythropoietin) เพื่อเพิ่มการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง ลดอาการอ่อนเพลีย
  • ยาลดบวม – เช่น ยาขับปัสสาวะ (Diuretics) เพื่อให้ของเหลวในร่างกายอยู่ในสภาวะสมดุล
  • ยาป้องกันกระดูก – เช่น แคลเซียมและวิตามินดี เพื่อป้องกันกระดูกอ่อนและหักง่าย นอกจากนี้อาจให้ยาลดการดูดซึมฟอสเฟต (Phosphate binder) เพื่อลดปริมาณของฟอสเฟตในเลือดและป้องกันไม่ให้หลอดเลือดถูกทำลายจากการเกาะตัวของหินปูน (Calcification)
  • กินอาหารที่มีโปรตีนน้อยลงเพื่อลดของเสียในเลือด – เพราะร่างกายสร้างโปรตีนจากอาหาร ทำให้เกิดของเสียซึ่งไตต้องกรองออกจากเลือด ดังนั้นเพื่อลดการทำงานของไต แพทย์อาจแนะนำให้กินโปรตีนให้น้อยลง แต่ยังคงต้องกินอาหารที่มีประโยชน์อยู่

      ส่วนการรักษาในช่วงที่ไตเสื่อมมากอาจทำได้ด้วยการ

  • ฟอกไต (Dialysis) เพื่อกรองของเสียและของเหลวจากเลือดของผู้ป่วย เนื่องจากไตไม่สามารถทำงานเองได้
  • การเปลี่ยนไต หรือ การปลูกถ่ายไต (Kidney transplant) ด้วยการรับบริจาคไตจากผู้บริจาคที่ยังมีชีวิตอยู่หรือผู้ที่เสียชีวิตแล้ว ซึ่งจะต้องมีการกินยากดภูมิไปตลอดชีวิตเพื่อไม่ให้ร่างกายปฏิเสธอวัยวะที่ปลูกถ่าย

      อย่างไรก็ดี ในอนาคตอาจมีแนวทางการรักษาวิธีใหม่ตามศาสตร์แห่งการฟื้นฟูสุขภาพ (Regenerative Medicine approaches) เช่น

  • ใช้เซลล์ เนื้อเยื่อ หรืออวัยวะของผู้บริจาคเพื่อมาทดแทนส่วนที่ถูกทำลายไป
  • นำเซลล์เฉพาะหรือผลิตภัณฑ์ของเซลล์เข้าไปในร่างกายเพื่อให้อวัยวะปรับตัวเอง

      สำหรับการป้องกันโรคไตเรื้อรังทำได้ด้วยการ

  • กินยาตามแพทย์สั่งหรือกรณีที่ซื้อยากินเองให้ปฏิบัติตามฉลากยาอย่างยาแก้ปวด เช่น ยา Aspirin ยา Ibuprofen และ ยา Acetaminophen เพราะการกินยาแก้ปวดมากจะมีผลต่อไต ทำให้ไตถูกทำลาย ดังนั้น จึงควรปรึกษาแพทย์ว่ายาชนิดไหนที่ปลอดภัย
  • รักษาน้ำหนักตัวให้พอเหมาะ ออกกำลังกายอย่างต่ำครั้งละ 30 นาที
  • ไม่สูบบุหรี่ เพราะบุหรี่สามารถทำลายไต
  • ดูแลรักษาสุขภาพ โดยเฉพาะการระวังโรคที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคไต
  • ไม่กินอาหารเค็ม
  • จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Chronic kidney disease. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chronic-kidney-disease/symptoms-causes/syc-20354521 [2019, December 15].
  2. Chronic kidney disease (CKD). https://www.kidneyfund.org/kidney-disease/chronic-kidney-disease-ckd/ [2019, December 15].