พยาธิหมาเข้าหัวใจ (ตอนที่ 2 และตอนจบ)

พยาธิหมาเข้าหัวใจ-2

      

อีกประมาณร้อยละ 22 จะเกิดที่ปอด ซึ่งจะทำให้เกิดอาการ

- เจ็บหน้าอก

- ไอเป็นมูกเลือด

- หายใจลำบาก

ส่วนที่เหลือจะเกิดตามอวัยวะอื่นๆ เช่น ผิวหนัว ม้าม ไต

พยาธิจะเข้าไปอาศัยอยู่ในลำไส้ของสัตว์ เช่น สุนัข แกะ หรือ แพะ และไข่ออกมาพร้อมมูลสัตว์ คนติดเชื้อได้โดยการกินอาหารหรือน้ำที่มีไข่ของพยาธิปะปนอยู่ หรือการอยู่ใกล้หรือสัมผัสกับสุนัขที่ติดเชื้อ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อจะมีระยะฟักตัวเป็นเดือนก่อนที่จะแสดงอาการ หรือพยาธิบางสายพันธุ์อาจมีระยะเวลาฟักตัวได้เป็นปีกว่าจะแสดงอาการ

ปัจจัยเสี่ยงในการติดพยาธิตืด Echinococcuss มีมากขึ้น กรณีที่ต้องทำงานหรือมีการสัมผัสกับมูลสัตว์ เช่น สุนัข แกะ หมู หรือ แพะ หรือมีการกินอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนไข่พยาธิ

ในการวินิจฉัยโรคอาจทำได้ด้วย

- การเอ็กซเรย์หน้าอก

- การเอ็มอาร์ไอหรือซีทีสแกนช่องท้อง

และเนื่องจากพยาธินี้ใช้ระยะเวลาในการฟักตัวนาน ดังนั้นจึงอาจพบโดยบังเอิญขณะตรวจร่างกายอื่นๆ

สำหรับการรักษาขึ้นอยู่กับอวัยวะและอาการที่เป็น ซึ่งอาจทำได้ด้วย

- การใช้ยา เช่น ยาถ่ายพยาธิ Mebendazole หรือ Albendazole ร่วมทั้งยาแก้อักเสบเพื่อรักษาอาการอักเสบของอวัยวะนั้นๆ

- การผ่าตัดเพื่อเอาถุงซีสติ์ออก

ในส่วนของการป้องกันพยาธิตัวตืดนี้สามารถทำได้โดยการ

- ถ่ายพยาธิให้สัตว์เลี้ยงเพื่อหยุดการแพร่กระจายเชื้ออย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง

- ทิ้งมูลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะ

- หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงไม่สุกหรืออาหารดิบ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อปลา

- ล้างผักผลไม้ให้สะอาดก่อนกิน

แหล่งข้อมูล:

  1. Echinococcus. https://www.healthline.com/health/echinococcus [2020, July 29].
  2. Echinococcosis fact sheet. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/echinococcosis [2020, July 29].