ฝีฝักบัว (Carbuncle)
- โดย พญ.ชลธิรศน์ ศรีเกษตรสรากุล
- 1 มิถุนายน 2564
- Tweet
- บทนำ: คือโรคอะไร?
- ฝีฝักบัวเกิดได้อย่างไร?
- ใครมีปัจจัยเสี่ยงเกิดฝีฝักบัว?
- ฝีฝักบัวติดต่ออย่างไร?
- ฝีฝักบัวมีอาการอย่างไร?
- แพทย์วินิจฉัยฝีฝักบัวได้อย่างไร?
- ควรพบแพทย์เมื่อไหร่?
- รักษาฝีฝักบัวอย่างไร?
- ฝีฝักบัวก่อผลข้างเคียงอย่างไร?
- ฝีฝักบัวมีการพยากรณ์โรคอย่างไร?
- ดูแลรักษาตนเองอย่างไร?
- เมื่อไหร่ต้องพบแพทย์ก่อนนัด?
- ป้องกันฝีฝักบัวอย่างไร?
- บรรณานุกรม
- โรคผิวหนัง (Skin disorder)
- โรคติดเชื้อ ภาวะติดเชื้อ (Infectious disease)
- แบคทีเรีย: โรคจากแบคทีเรีย (Bacterial infection)
- ไข้ อาการไข้ ตัวร้อน (Fever)
- ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (Sepsis) ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicemia)
- โรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease)
- โรคตับ (Liver disease)
- เบาหวาน (Diabetes mellitus)
- ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressants or Immunosuppressive agents)
- ขาดการรักษาสุขอนามัยตนเอง
- ผู้ป่วยเบาหวาน
- ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
- โรคตับเรื้อรัง
- มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำเช่น ติดเชื้อเอชไอวี, กินยากดภูมิคุ้มกันต้านทานโรค (เช่น ในผู้ปลูกถ่ายอวัยวะ)
- ผู้ที่ไม่รักษาความสะอาดในการ โกน ขน ผม หนวด เครา
- การบาดเจ็บที่ผิวหนังที่เกิดอยู่ก่อน และ
- เชื้อก่อโรค (เชื้อแบคทีเรีย) ที่อยู่ที่ผิวหนัง
- ผื่นแดง แข็ง เจ็บ ประกอบกับต่อมขุมขนที่อักเสบติดเชื้อหลายๆอันมารวมกันอยู่ในผิวหนังชั้นลึก
- ที่ผิวหนังด้านบนจะมองเห็นผิวแดงอักเสบ
- มีตุ่มหนองหลายตุ่มตามรูขุมขนมองดูคล้าย “ฝักบัว”
- ต่อมาตุ่มหนองจะแตกออกเป็นหนองไหลออกมา
- โรคจะหายอย่างช้าๆ และเกิดเป็นแผลเป็นตามมา
- ลักษณะอาการที่เกิดขึ้นกับผิวหนัง และอาการร่วมต่างๆ ดังกล่าวใน ‘หัวข้อ อาการฯ’
- การตรวจร่างกาย
- การตรวจรอยโรค ด้วยการดู/คลำตำแหน่งรอยโรค
- และแพทย์สามารถระบุชนิดของเชื้อก่อโรคได้จากการส่งหนองจากแผลเพื่อการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อ การตรวจเชื้อ และ การตรวจเพาะเชื้อ
- การรับประทานยาปฏิชีวนะนานอย่างน้อย 1 สัปดาห์ โดยชนิดของยาปฏิชีวนะ ขึ้นกับความรุนแรงของรอยโรค ดังนั้นจึงอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษา
- และหากแผลที่มีหนองคั่งค้าง หรือ มีเนื้อตาย อาจต้องทำการผ่าตัดเนื้อตายและระบายหนอง แต่ห้ามทำเองเด็ดขาด ต้องทำโดยแพทย์หรือพยาบาลที่ได้รับการฝึกฝน เนื่องจากจะทำให้เชื้อแพร่กระจายมากขึ้น
- นอกจากนั้นคือ การรักษาตามอาการ เช่น
- กินยาแก้ปวด ยาลดไข้
- และการรักษาความสะอาดบริเวณรอยโรค เช่น การทำความสะอาดด้วยสบู่อ่อนที่มี ยาฆ่าเชื้อ, ร่วมกับ ทายาฆ่าเชื้อชนิดครีมหลังทำความสะอาดแล้ว
- มีไข้
- อ่อนเพลีย
- การติดเชื้ออาจลุกลามเป็นการติดเชื้อในอวัยวะต่างๆที่อยู่ใกล้เคียง เช่น กระดูก เกิดกระดูกอักเสบ
- มีการติดเชื้อในกระแสโลหิต เกิดภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด)
- เชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด ก่อการติดเชื้อของเยื่อบุหัวใจ เกิดเป็นเยื้อบุหัวใจอักเสบ และ/หรือ
- เมื่อแผลหายจะกลายเป็นแผลเป็นได้
- ปฏิบัติตาม แพทย์ พยาบาล แนะนำ
- กินยา/ใช้ยาตามแพทย์สั่งให้ครบถ้วน ไม่หยุดยาเองแม้ฝีจะยุบหมดแล้ว
- รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคที่ปกติด้วยการรักษาสุขอนามัยพื้น ฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ)
- รักษาควบคุมโรคประจำตัวต่างๆให้ได้ดี
- รักษาสุขอนามัยของผิวหนังตามปกติ ใช้สบู่ทำความสะอาดเมื่ออาบน้ำ อาจใช้สบู่อ่อนที่มีส่วนผสมยาฆ่าเชื้อ
- ล้างมือบ่อยๆ รักษาความสะอาดมือเสมอ
- ไม่แกะเกาผิวหนังให้บาดเจ็บเป็นทางเข้าของเชื้อโรค ตัดเล็บให้สั้น
- ไม่บีบหรือเจาะหนองเอง
- ประคบอุ่น/ประคบร้อนที่รอยโรควันละ 3 - 4 ครั้งจะช่วยให้หนองแตกระบายได้ดี
- ทำแผลเมื่อหนองแตกวันละ 2 – 3 ครั้ง ใช้อุปกรณ์ทำแผลที่สะอาดปราศจากเชื้อโรค ควรปรึกษาเรื่องการดูแลแผลจากสถานีอนามัยหรือจากโรงพยาบาลใกล้บ้าน
- รักษาความสะอาดเครื่องใช้ส่วนตัวเช่น ผ้าเช็ดตัว กางเกงใน ไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น
- พบแพทย์/ไปโรงพยาบาลตามนัด กรณีได้พบแพทย์ในการรักษาแล้ว
- รอยโรค แดง ขยาย ลุกลามขึ้น
- มีไข้
- รอยโรคไม่ดีขึ้นใน 2 สัปดาห์
- กังวลในอาการ
- รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคที่ปกติด้วยการรักษาสุขอนามัยพื้น ฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ)
- รักษาความสะอาดผิวหนังเสมอ
- ล้างมือบ่อยๆ
- ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่นเช่น ผ้าเช็ดตัว กางเกงใน
- รักษาความสะอาดในการโกนผม ขน ฯลฯ
- รักษาควบคุม โรคเรื้อรัง, โรคประจำตัวให้ได้ดี
- ปรียากุลละวณิชย์,ประวิตร พิศาลยบุตร .Dermatology 2020:ชื่อบท.พิมพ์ครั้งที่1.กรุงเทพฯ:โฮลิสติก,2555อภิชาติ ศิวยาธร . โรคผิวหนังต้องรู้สำหรับเวชปฏิบัติทั่วไป . พิมพ์ครั้งที่ 5 .สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
- Lowell A. Goldsmith,Stephen I. Katz,Barbara A. Gilchrest,Amy S. Paller,David J.Leffell,Klaus Wolff.Fitzpatrick’s dermatology in general medicine :chapter.eight edition.McGraw-Hill.2012
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/boils-and-carbuncles/symptoms-causes/syc-20353770 [2021,May29]
- https://www.nhs.uk/conditions/boils/ [2021,May29]
บทนำ: คือโรคอะไร?
ฝีฝักบัว (Carbuncle) คือโรคจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิด สแตฟฟีโลคอกคัส(Staphylococcus) และ/หรือชนิด สเตรปโตคอกคัส(Streptococcus)ที่ต่อมไขมันและที่ขุมขนของผิวหนัง ที่ลุกลามจนรวมกันเป็นกลุ่มก้อน มีหนองสะสมจนมีลักษณะเป็นก้อนหนองเรียกว่าเป็น “ฝีฝักบัว”
ปัจจุบัน ยังไม่มีการศึกษาอัตราการเกิดอย่างชัดเจนของฝีฝักบัว แต่เป็นโรคที่เกิดได้ในทุกเพศและในทุกวัย
อนึ่ง จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 “ฝีฝักบัว” หมายถึง ฝีชนิดหนึ่ง มักขึ้นตามหลังและต้นคอ มีลักษณะเหมือนฝักบัว มีหัวหลายหัว ส่วนคำว่า “ฝี” หมายถึง โรคจำพวกหนึ่งเป็นต่อมบวมขึ้นกลัดหนองข้างใน
ฝีฝักบัวเกิดได้อย่างไร?
ฝีฝักบัวเริ่มต้นจากผิวหนังมีรอยถลอกบาดเจ็บเล็กน้อย เช่น จากการเกา การเสียดสี การ สัมผัสสิ่งสกปรกต่างๆจากมือสัมผัสรอยบาดเจ็บ จากนั้นรอยบาดเจ็บนั้นจะติดเชื้อแบคที่เรียชนิดที่ก่อโรคฝีฝักบัวดังกล่าวในบทนำ เชื้อแบคทีเรียนั้นๆจึงเข้าสู่ผิวหนัง ลุกลามรุนแรงเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังที่มีลักษณะเป็นก้อนหนองมีหลายหัวที่เรียกว่า ฝีฝักบัว
ใครมีปัจจัยเสี่ยงเกิดฝีฝักบัว?
ผู้มีปัจจัยเสี่ยงเกิดฝีฝักบัว ได้แก่
ฝีฝักบัวติดต่ออย่างไร?
ฝีฝักบัว ไม่ใช่โรคติดต่อ การเกิดโรคอาศัย 2 ปัจจัยคือ
อย่างไรก็ดี ทั้งผู้ป่วยและผู้ใกล้ชิดควรล้างมือบ่อยๆ เพื่อลดปริมาณเชื้อก่อโรคนี้
ฝีฝักบัวมีอาการอย่างไร?
ฝีฝักบัวมีอาการเป็น
ฝีฝักบัวนี้มักพบที่บริเวณ ต้นคอ, ต้น, ด้านหลัง, และในรายที่ติดเชื้อมากอาจมีอาการไข้และ อ่อนเพลียร่วมด้วย
แพทย์วินิจฉัยฝีฝักบัวได้อย่างไร?
แพทย์สามารถวินิจฉัยฝีฝักบัวได้จาก
ควรพบแพทย์เมื่อไหร่?
หากมี ตุ่ม ผื่น แดง เจ็บ มีหนองที่สงสัยเป็นฝีฝักบัว หรือผิวหนังเป็นแผลติดเชื้อ สามารถพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลได้ทันที เพื่อการตรวจร่างกาย การตรวจรอยโรค เพื่อวินิจฉัยและได้รับการรักษา
รักษาฝีฝักบัวอย่างไร?
ฝีฝักบัวรักษาด้วย
ฝีฝักบัวก่อผลข้างเคียงอย่างไร?
รายที่มีการติดเชื้อลุกลาม ฝีฝักบัวอาจก่อผลข้างเคียงจากทำให้เกิดการติดเชื้อที่ผิวหนังเป็นวงกว้างส่งผลให้
ฝีฝักบัวมีการพยากรณ์โรคอย่างไร?
โดยทั่วไป ฝีฝักบัว มีการพยากรณ์โรคที่ดี หลังได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะโรคมักหายดี แต่หลังโรคหายอาจเกิดเป็นรอยแผลเป็นได้
แต่ในคนที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ ฝีฝักบัวอาจลุกลามส่งผลข้างเคียงดังกล่าวใน ‘หัวข้อ ผลข้างเคียง’ ได้เช่น ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน, โรคไตเรื้อรัง, โรคตับเรื้อรัง
ดูแลรักษาตนเองอย่างไร?
เมื่อเป็นฝีฝักบัวการดูแลรักษาตนเองที่บ้านคือ
เมื่อไหร่ต้องพบแพทย์ก่อนนัด?
เมื่อเป็นฝีฝักบัวควรพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลก่อนนัดเมื่อ
ป้องกันเกิดฝีฝักบัวอย่างไร?
ป้องกันฝีฝักบัวได้โดย