ฝนตก น้ำท่วม ไฟดูด (ตอนที่ 4 และตอนจบ)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 29 กันยายน 2562
- Tweet
อนึ่ง แม้ว่าแผลภายนอกจะดูเล็กน้อย แต่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจว่า มีอาการบาดเจ็บภายในหรือไม่
ส่วนการรักษาผู้ถูกไฟดูดอาจทำได้ด้วยการ
- รักษาแผลไหม้โดยใช้ยาปฏิชีวนะ
- ยาแก้ปวด
- การให้สารน้ำทางหลอดเลือด
- ฉีดยากันบาดทะยัก (Tetanus shot)
โดยการฟื้นฟูผู้ถูกไฟดูดขึ้นกับความรุนแรงของการโดนดูด สัดส่วนของร่างกายที่ไหม้ หากผู้ถูกดูดไม่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Cardiac arrest) หรือผิวไหม้อย่างรุนแรง ผู้ถูกดูดมักมีโอกาสรอดชีวิต เพราะสาเหตุของการเสียชีวิตหลังการรักษาจากถูกไฟดูดมักเกิดจากการติดเชื้อ
และหากไฟดูดได้ทำลายสมอง อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการชักถาวร (Permanent seizure disorder) โรคซึมเศร้าหดหู่ (Depression) โรควิตกกังวล (Anxiety) หรือ บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไปได้
ทั้งนี้ กรณีที่พบเห็นผู้ที่ดูดไฟดูด ควรปฏิบัติตนเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นและดูแลความปลอดภัยของตนเองดังนี้
- อย่าสัมผัสผู้ที่ถูกไฟดูดหากเขายังสัมผัสกับแหล่งกระแสไฟอยู่
- อย่าเคลื่อนย้ายผู้ที่ถูกไฟดูด นอกจากจะอยู่ในอาการอันตรายหรืออาจถูกไฟดูดอีก
- สับสวิตซ์กระแสไฟลง หรือกันผู้ถูกไฟดูดให้อยู่ห่างจากกระแสไฟโดยใช้วัตถุที่ไม่เป็นสื่อและไม่เปียกน้ำ เช่น ไม้ ยาง
- หากเป็นสายไฟแรงสูง ให้อยู่ห่างอย่างน้อย 20 ฟุต
- แจ้งเหตุด่วยเหตุร้าย
- คลุมแผลที่ไหม้ด้วยผ้าก๊อซที่ฆ่าเชื้อแล้ว อย่าใช้พลาสเตอร์ปิดเพราะอาจติดผิวหนัง
แหล่งข้อมูล:
- First Aid 101: Electric Shocks. https://www.healthline.com/health/electric-shock [2019, September 23]. .
- Electric Shock Causes, Treatment, After Effects). https://www.emedicinehealth.com/electric_shock/article_em.htm#how_does_electric_shock_and_lightning_work [2019, September 23]. .